• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • ประเด็นร้อนโลกออนไลน์จีน “กินขนมไหว้พระจันทร์แบบ หั่น หรือ ไม่หั่น กันแน่?” . กล…

ประเด็นร้อนโลกออนไลน์จีน “กินขนมไหว้พระจันทร์แบบ หั่น หรือ ไม่หั่น กันแน่?” . กล…

ประเด็นร้อนโลกออนไลน์จีน “กินขนมไหว้พระจันทร์แบบ หั่น หรือ ไม่หั่น กันแน่?”
.
กลายเป็นประเด็นร้อนแรงบนสังคมออนไลน์จีนรับคืนวันไหว้พระจันทร์กันเลยทีเดียว เมื่อมีชายหนุ่มผู้หนึ่งซึ่งเป็นคนจีนภาคเหนือ เผยแพร่คลิปของภรรยาซึ่งเป็นคนจีนทางใต้ ขณะกินขนมไหว้พระจันทร์
.
โดยภรรยาของเขา กินขนมไหว้พระจันทร์โดยใช้ส้อมและมีดพลาสติกผ่าออกเป็นชิ้นเล็กๆ โดยในคลิประบุว่า “กินได้ 8 คนเลย” ดังนั้นก็น่าจะหมายถึงตัดแบ่งออกเป็น 8 ชิ้น โดยหนุ่มจีนคนนี้ระบุว่า รู้สึกแปลกใจที่เห็นการกินขนมไหว้พระจันทร์แบบตัดออกมาเป็นชิ้นๆแล้วค่อยกิน เพราะในฐานะที่เขาเป็นคนจีนทางเหนือ เขากินแบบไม่หั่นมาโดยตลอด และไม่เคยเห็นการกินลักษณะนี้มาก่อนด้วย
.
เมื่อมีการเผยแพร่คลิปออกมา จึงกลายเป็นกระแสโดยทันที ชาวโซเชียลจีนแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยเท่าที่อ้ายจงไล่อ่านความคิดเห็น (ซึ่งเยอะมากๆ) ทำให้พอจะสรุปได้ว่า มีทั้งคนที่บอกว่ากินแบบหั่นและกินแบบไม่หั่น ไม่ว่าจะคนเหนือหรือใต้ แต่คนเหนือที่บอกว่ากินแบบไม่หั่น หยิบกินตรงๆเลย ถือเป็นความคิดเห็นส่วนใหญ่
.
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้มีเพจบน Weibo ได้ทำโพลสำรวจความคิดเห็นเรื่องนี้ ว่าสรุปแล้ว “กินขนมไหว้พระจันทร์แบบไม่หั่น หรือ หั่น (ไม่ระบุว่าเป็นคนภาคไหน พื้นที่ไหน ทุกคนตอบได้หมด) ปรากฏว่า เมื่อเวลา 22.25 ของวันที่ 21 กันยายน 2564 เสียงส่วนใหญ่ 8,100 คน เลือก กินแบบหั่น ขณะที่อีก 6,700 คน เลือก ไม่หั่น
.
แล้วทุกคนล่ะครับ กินแบบหั่น หรือ ไม่หั่น ? สำหรับอ้ายจง ผมกินแบบ “หั่น” ครับ เพราะถ้ากินแบบไม่หั่น คือกัดกินตรงๆเลย ไส้มันมักจะร่วงลงพื้น และมันรู้สึกกินค่อนข้างลำบากด้วย อีกอย่างคือ ถ้ากินหมดทั้งชิ้น รู้สึกว่าแคลอรี่จะมากจนเกินไป >< . อ้ายจงเล่าเรื่องจาก https://m.weibo.cn/1496814565/4683948477120582 https://m.weibo.cn/1496814565/4683998729080642 . #อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #กระแสสังคมจีน #Weibo #ขนมไหว้พระจันทร์ #เทศกาลไหว้พระจันทร์

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]