• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • สรุปรายละเอียด ประกาศธนาคารกลางแห่งจีน “แบน ปราบปราม เงินดิจิทัล” ปราบจริง ไม่ใช…

สรุปรายละเอียด ประกาศธนาคารกลางแห่งจีน “แบน ปราบปราม เงินดิจิทัล” ปราบจริง ไม่ใช…

สรุปรายละเอียด ประกาศธนาคารกลางแห่งจีน “แบน ปราบปราม เงินดิจิทัล”
ปราบจริง ไม่ใช่เรื่องลวง
.
หลังจากที่มีข่าวออกมาในประเด็น “ธนาคารกลางแห่งประเทศจีน (ธนาคารประชาชนจีน) และหน่วยงานต่างๆในจีน ประกาศแบนและจัดการอย่างเด็ดขาดกับการทำเงินดิจิทัล” ก็มีเสียงจำนวนไม่น้อยเหมือนกัน ที่ระบุว่า มันไม่ใช่เรื่องจริงหรือเปล่า เป็นการดิสเครดิตจีนของสื่อตะวันตกหรือเปล่า เพราะข่าวที่ออกมาเป็นหลัก เป็นข่าวจากสื่อตะวันตก ข่าวภาษาอังกฤษ อ้ายจงเลยขอถือโอกาสเขียนสรุปเกี่ยวกับประกาศจัดการสกุลเงินดิจิทัลที่ทางธนาคารกลางแห่งประเทศจีน ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆในจีน ประกาศออกมาเป็นทางการและเผยแพร่บนเว็บไซต์ “ธนาคารกลางแห่งประเทศจีน (ธนาคารประชาชนจีน)” http://www.pbc.gov.cn/goutongjiaoliu/113456/113469/4348521/index.html นะครับ
.
โดยส่วนแรกของประกาศฉบับนี้ จีนได้เขียนชัดเจนถึงเหตุผลในการออกประกาศ คือ ระบุว่า “ปัจจุบันกิจกรรมโฆษณาชวนเชื่อในการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลได้เพิ่มขึ้น ขัดขวางระเบียบทางเศรษฐกิจและการเงิน ทำให้เกิดกิจกรรมที่ผิดกฎหมายและอาชญากรรม เช่น การพนัน การระดมทุนอย่างผิดกฎหมาย การฉ้อโกง แชร์ลูกโซ่ การฟอกเงิน ซึ่งเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของทรัพย์สินของผู้คนอย่างร้ายแรง”
.
ดังนั้นเพื่อป้องกันและจัดการกับความเสี่ยงของการเก็งกำไรในการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล และรักษาความมั่นคงของชาติและความมั่นคงทางสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่ในจีน เช่น
.
“กฎหมายธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน” “กฎหมายธนาคารพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน” ” กฎหมายหลักทรัพย์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน” “ความมั่นคงเครือข่ายของสาธารณรัฐประชาชนจีน” “กฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยระเบียบโทรคมนาคม” “ระเบียบว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขการระดมทุนที่ผิดกฎหมาย” “ระเบียบว่าด้วยการบริหารตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” เป็นต้น

.
จึงต้องออกกฎระเบียบมาบังคับใช้ โดยสรุปได้ดังนี้
.

Part 1: ชี้แจงคุณสมบัติที่สำคัญของสกุลเงินดิจิทัลและกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

(1) สกุลเงินดิจิทัลไม่มีสถานะทางกฎหมายเหมือนกับสกุลเงินตามกฎหมาย

สกุลเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin, Ethereum มีลักษณะสำคัญที่ออกโดยหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวกับการเงิน โดยใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสและบัญชีแบบกระจาย หรือเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกัน และมีอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ถูกกฎหมาย จึงไม่ควรใช้และไม่สามารถใช้เป็นสกุลเงินในตลาดได้
.
(2) กิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินเสมือน ถือว่าเป็นกิจกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมาย เช่น

– การแลกเปลี่ยนสกุลเงินตามกฎหมายกับสกุลเงินเสมือน

– ธุรกิจแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินดิจิทัล

– บริการกำหนดราคาวำหรับธุรกรรมสกุลเงินดิจิท้ล

– การจัดหาเงินทุนสำหรับการออกโทเค็น

– การออกหลักทรัพย์โดยไม่ได้รับอนุญาต

– การซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลแบบสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

กิจกรรมข้างต้นและกิจกรรมทางการเงินอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลที่ทางการจีนพิจารณาว่าผิดกฎหมาย ถือเป็นสิ่งต้องห้าม ห้ามทำโดยเด็ดขาด

หากการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ ถือเป็นอาชญากรรม มีโทษทางอาญาตามกฎหมายจีน
.
(3) การให้บริการโดยการแลกเปลี่ยนสกุลเงินเสมือนในต่างประเทศแก่ชาวจีนผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Online) ก็เป็นกิจกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมายเช่นกัน

ในประกาศที่ออกมาจากธนาคารกลางแห่งประเทศจีน เขียนระบุไว้ชัดเจนว่า ”

“บุคคลใดๆก็ตาม ไม่ว่าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม หากมีการทำธุรกรรมกับคนหรือหน่วยงานอื่นๆนอกจีนทั้งที่รู้และมีพฤติกรรมที่ชัดแจ้งว่า ควรรับรู้ ถึงการทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินดิจิทัล หรือยังให้บริการ ถือว่าผิดกฎหมาย
.
(4) หากบุคคลใดๆ ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลทำธุรกรรมทางการเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัล จะไม่ได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายจีน หากถูกโกงหรือได้รับความเสียหาย
.
Part 2: ระบุเกี่ยวกับการสร้างและปรับปรุงกลไกการทำงานเพื่อจัดการกับความเสี่ยงของการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล
.
(5) ธนาคารกลางแห่งประเทศจีน ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซแห่งชาติจีน ศาลประชาชนสูงสุด อัยการสูงสุด กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงความมั่นคงสาธารณะ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ของจีน และสำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

จัดตั้งกลไกประสานงานการทำงานเพื่อประสานงานในการแก้ไขปัญหา กำกับดูแล ในประเด็นสกุลเงินดิจิทัล
.

(6) มอบอำนาจให้รัฐบาลท้องถิ่นระดับมณฑลมีอำนาจและหน้าที่ในการป้องกันและกำจัดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย-ดำเนินธุรกรรมทางการเงินสกุลเงินดิจิทัล โดยทำงานร่วมกับหน่วยกำกับดูแลการเงิน การรักษาความปลอดภัยโลกไซเบอร์ หน่วยงานโทรคมนาคม หน่วยงานความมั่นคงสาธารณะ หน่วยงานกำกับดูแลตลาด เป็นต้น
.
Part 3: เข้มงวดและเสริมความแกร่งกลไกการตรวจตราและแจ้งเตือนความเสี่ยงและการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล
.
(7) ทางจีนจะสร้างกลไกด้วยวิธีการต่างๆรวมถึงวิธีทางเทคโนโลยี มาจัดทำระบบตรวจตราการทำธุรกรรมทางการเงินสกุลดิจิทัลและที่เก็บข้อง โดยจะเป็นในลักษณะของกระจายอำนาจให้แต่ละมณฑลได้ตรวจสอบจัดการในพื้นที่ของตนเอง
.
(8) สร้างกลไกการแบ่งปันข้อมูลและการรับมือจัดการอย่างรวดเร็วระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นระดับมณฑลและหน่วยงานกลางของจีน
.
Part 4: สร้างระบบป้องกันและกำจัดความเสี่ยงจากธุรกรรมเงินดิจิทัลทุกมิติ
.
(9) ออกกฎให้ สถาบันการเงิน ทั้งในรูปแบบธนาคารและไม่ใช่ธนาคาร (เช่น การให้บริการกระเป๋าเงินออนไลน์ จรก Alipay ) ต้องไม่ให้บริการสำหรับกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัล ไม่ว่าจะเปิดบัญชี โอนเงิน การชำระเงิน

และควรรายงานเบาะแสเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายและข้อบังคับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเวลาที่เหมาะสมด้วย
.
(10) ออกกฎควบคุมและจัดการเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล บนโลกออนไลน์
.
(11) ออกกฎควบคุมและจัดการโฆษณา ไม่ให้เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล

กำหนดให้หน่วยงานทางการตลาดและโฆษณา รวมถึงการจดทะเบียนธุรกิจในจีน “ห้ามอนุญาต” การใช้คำที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล ในการจดทะเบียน และการลงเนื้อหาโฆษณา คำที่เกี่ยวข้องเช่น สกุลเงินดิจิทัล สกุลเงินเสมือน สกุลเงินเข้ารหัส สินทรัพย์เข้ารหัส โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจีนมีอำนาจในการจัดการและตรวจสอบการจดทะเบียนและโฆษณาที่ผิดกฎหมายดังกล่าวโดยทันที
.

(12) กำหนดให้มีการปราบปรามในระดับ “รุนแรง” ต่อกิจกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัลซึ่งถือว่า “ผิดกฎหมาย” หากเจอเบาะแส ให้จัดการและตรวจสอบทันที
.
(13) ปราบปรามอย่างรุนแรงต่อกิจกรรมทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล โดยกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ สามารถใช้หน่วยงานรักษาความปลอดภัยสาธารณะทั่วประเทศเพื่อดำเนินการปฏิบัติการพิเศษในการต่อต้านและปราบปรามอาชญากรรมทางการเงิน เช่น “ปฏิบัติการพิเศษเพื่อต่อต้านอาชญากรรมการฟอกเงิน” “ปฏิบัติการพิเศษต่อต้านการพนันข้ามพรมแดน” ซึ่งเกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล
.
(14) กำหนดให้ 3 สมาคมหลักด้านการเงินของจีน ได้แก่ สมาคมการเงินอินเทอร์เน็ตแห่งชาติจีน (National Internet Finance Association of China), สมาคมธนาคารจีน (China Banking Association) และสมาคมด้านการชำระเงินและหักบัญชีจีน (Payment and Clearing Association of China) ต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์ สนับสนุน และกระตุ้นให้สมาชิกของสมาคมต้องทำตามกฎระเบียบ ห้ามดำเนินการเกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล ถ้าหากสมาชิกทำผิด ต้องลงโทษโดยและแจ้งเบาะแสไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
.
Part 5: กระตุ้นให้หน่วยงานและองค์กรในจีนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายแบนเงินดิจิทัล ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
.
(15) กระตุ้นให้ทุกหน่วยงานและองค์กรต้องให้ความสำคัญ “อย่างยิ่ง” ในการจัดการเกี่ยวกับธุรกรรมการเงินดิจิทัลซึ่งผิดกฎหมาย ที่สำคัญคือไม่ละเว้นความพยายามในการรักษาความสงบเรียบร้อยทางเศรษฐกิจและการเงินและความมั่นคงทางสังคม
.
(16) หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ผ่านช่องทางต่างๆอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้คนได้รับรู้เกี่ยวกับการผิดกฎหมายของเงินดิจิทัล
.

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #ธนาคารกลาง #จีน #ธนาคารประชาชนจีน #Cryptocurrency #คริปโต #สกุลเงินดิจิทัล #เงินดิจิทัล

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]