• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • น้องใหม่วงการประมง! จีนพัฒนา ‘หุ่นยนต์อัจริยะ’ ค้นหา-จับสัตว์ใต้ทะเลอัตโนมัติ | XinhuaThai

น้องใหม่วงการประมง! จีนพัฒนา ‘หุ่นยนต์อัจริยะ’ ค้นหา-จับสัตว์ใต้ทะเลอัตโนมัติ | XinhuaThai

(ภาพจากมหาวิทยาลัยวิศวกรรมฮาร์บิน : หอยกาบที่หุ่นยนต์จับขึ้นมาได้)

ฮาร์บิน, 9 ต.ค. (ซินหัว) — ศาสตราจารย์หวงไห่พร้อมด้วยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิศวกรรมฮาร์บิน ในนครฮาร์บิน มณฑลเฮยหลงเจียงทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ได้พัฒนาหุ่นยนต์ใต้น้ำที่สามารถแยกแยะประเภท ระบุตำแหน่ง และจับสัตว์ทะเลได้แบบครบวงจรด้วยตัวมันเอง ไม่ว่าจะเป็นหอยเป๋าฮื้อ ปู ปลิงทะเล และสัตว์ทะเลอื่นๆ โดยนักวิจัยตั้งชื่อให้มันว่า “เฟอร์รารีใต้ทะเล”

หุ่นยนต์นี้สูง 1.15 เมตร มีแขนกลซึ่งประกอบด้วยข้อต่อ 3 จุด ความยาวรวม 1.2 เมตร มี “ดวงตา” 3 ดวงสำหรับระบุตำแหน่งสัตว์ทะเลและสภาพน้ำใต้ทะเล และมีโหมดการจับสัตว์น้ำใต้ทะเลผ่านระบบอัจฉริยะ 2 โหมด หุ่นยนต์ตัวนี้จะทำงานแบบครบวงจร ตั้งแต่ค้นหา ระบุชนิด  ติดตามตำแหน่ง ไปจนถึงจับสัตว์ขึ้นมาจากทะเล

ศาสตราจารย์หวงกล่าวว่า อุตสาหกรรมประมงของจีนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การใช้งานนักดำน้ำนอกจากจะมีต้นทุนสูงแล้วยังมีข้อจำกัดด้านเวลาทำงาน โดยดำได้ครั้งละ 20-30 นาทีเท่านั้น อีกทั้งอากาศที่หนาวจัดในฤดูหนาว สภาพแวดล้อมใต้น้ำและสภาพทางทะเลที่ไม่เอื้ออำนวย ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน หุ่นยนต์เช่นนี้จึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะทั้งปลอดภัย แม่นยำ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า

หลังทดลองในทะเลอยู่หลายครั้ง คณะนักวิจัยพบว่าหุ่นยนต์ใต้ทะเลตัวนี้สามารถระบุเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ แม้ว่าขณะนั้นกระแสน้ำจะเชี่ยวกราก โดยมันค่อยๆ ดำลงสู่ใต้น้ำจากระดับความสูงเหนือก้นทะเล 1.5 เมตร ก่อนจะเข้าประชิดเป้าหมาย และจับขึ้นมาได้ในที่สุด

(ภาพจากมหาวิทยาลัยวิศวกรรมฮาร์บิน : นักวิจัยและคณะกำลังทดลองใช้งานหุ่นยนต์)

หวงกล่าวว่าการทดลองทางทะเลครั้งนี้ใช้หุ่นยนต์เฟอร์รารีใต้ทะเล รุ่นที่ 2 ซึ่งได้รับการปรับปรุงมาแล้วหลายครั้งนับตั้งแต่ปี 2016 โดยมีการปรับปรุงความสามารถในการรับรู้ของหุ่นยต์ พัฒนาโมเดลที่ช่วยให้มือและตาทำงานประสานกันแบบอัตโนมัติได้ดีขึ้น  ประสิทธิภาพจึงดีขึ้นทั้งด้านการตรวจจับจากระยะไกล การสำรวจและแยกแยะเป้าหมายอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการจับสัตว์น้ำแบบอัตโนมัติ

(ภาพจากมหาวิทยาลัยวิศวกรรมฮาร์บิน : นักวิจัยปล่อยหุ่นยนต์ลงทะเล)

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :

Xinhua

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]