นักวิทย์จีนพัฒนา ‘ระบบสังเกตการณ์’ ช่วยพยากรณ์เหตุแผ่นดินไหว | XinhuaThai

(แฟ้มภาพซินหัว : ทัศนียภาพยามค่ำคืนของนครฮู่ฮั่น เมืองเอกของมณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีน วันที่ 14 ส.ค. 2020)

อู่ฮั่น, 18 ส.ค. (ซินหัว) — เมื่อเร็วๆ นี้ทีมนักวิจัยจากสถาบันจีนมากกว่า 10 แห่ง ได้พัฒนาระบบตรวจสอบการสั่นสะเทือนและการรบกวนในชั้นธรณีภาค (lithosphere) ชั้นบรรยากาศ (atmosphere) และชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) ที่เรียกว่าระบบเอ็มวีพี-แอลเอไอ (MVP-LAI) เพื่อช่วยคาดการณ์เหตุแผ่นดินไหว

เฉินเจี้ยหง สมาชิกของทีมวิจัยกล่าวว่า ระบบดังกล่าวสามารถวัดปริมาณทางกายภาพ (Physical quantities) ได้เกือบ 20 ประเภทพร้อมๆ กัน อาทิ การสั่นสะเทือนของพื้นดิน ความกดอากาศ และความเข้มข้นของอิเล็กตรอนในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ในสถานีสังเกตการณ์เพียงแห่งเดียว

เฉิน ผู้เป็นศาสตราจารย์จากสถาบันธรณีฟิสิกส์และธรณีศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งประเทศจีน (อู่ฮั่น) กล่าวว่าระบบเอ็มวีพี-แอลเอไอ มีอุปกรณ์สังเกตการณ์ 14 ชนิด

เฉินระบุว่า สถานีสังเกตการณ์ดังกล่าว ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของเมืองเล่อซาน มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งมีความเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยาอยู่โดยรอบ อันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาธรณีฟิสิกส์ แผ่นดินไหว และภัยพิบัติทางธรณีวิทยา

อนึ่ง คาดว่าระบบนี้จะนำมาซึ่งเงื่อนไขที่สำคัญจำเป็นสำหรับการศึกษาปัญหาทางวิทยาศาสตร์ระดับสากล อาทิ กลไกของการเปลี่ยนแปลงเชิงเวลาและพื้นที่ของสนามแม่เหล็กโลก และกลไกกิจกรรมของเปลือกโลกก่อนเกิดแผ่นดินไหว

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :

Xinhua

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]