ลาซา, 9 ส.ค. (ซินหัว) — สำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเขตปกครองตนเองทิเบตทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน รายงานว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรมีส่วนส่งเสริมอุปทานผลิตภัณฑ์การเกษตรอันมีประสิทธิภาพอย่างมาก และเพิ่มรายได้ของบรรดาเกษตรกรและผู้เลี้ยงสัตว์ในท้องถิ่น
งบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ของทิเบต มีสัดส่วนสูงเกินร้อยละ 60 ของการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งหมดในภูมิภาค โดยทิเบตสนับสนุนการเพาะปลูกพืชพันธุ์และเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์ใหม่ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้มีการเพาะปลูกพืชพันธุ์ใหม่มากกว่า 150 สายพันธุ์
ปริมาณผลผลิตข้าวบาร์เลย์บนที่ราบสูงของทิเบตเพิ่มขึ้นจากประมาณ 80 กิโลกรัมต่อหมู่ (ราว 0.416 ไร่) ในปี 1951 มาอยู่ที่ 380 กิโลกรัมต่อหมู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังช่วยเพิ่มรายได้ของเกษตรกรและคนเลี้ยงสัตว์ด้วย
ทั้งนี้ สมุดปกขาวของทางการจีนเมื่อเดือนพฤษภาคมระบุว่ารายได้ที่ใช้จ่ายได้จริงต่อหัวของชาวชนบทในทิเบตอยู่ที่ 14,598 หยวน (ประมาณ 75,380 บาท) ในปี 2020 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากปีก่อนหน้า และสร้างสถิติการเติบโตรายปีระดับเลขสองหลักเป็นปีที่ 18
ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
Xinhua