สถานการณ์ปัจจุบันของการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) แนวโน้มในอนาคต | Thailand STI and Higher Education Day 2021

สถานการณ์ปัจจุบันของการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) แนวโน้มในอนาคต
Huang Tiejun
Department of Computer Science and Technology, Peking University,
Beijing Zhiyuan Artificial Intelligence Research Institute


แผนการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในประเทศมหาอำนาจ

AI เป็นจุดสนใจใหม่ของการแข่งขันในประเทศมหาอำนาจ ที่มีแผนงาน/โครงการสำคัญ เช่น

1) สหรัฐอเมริกา

  • ปี ค.ศ. 2016
    • The National Artificial Intelligence Research and Development Strategic Plan
    • Preparing for the Future of Artificial Intelligence
    • Artificial Intelligence, Automation, and the Economy

2) สหภาพยุโรป

  • ปี ค.ศ. 2013 Human Brain Project
  • ปี ค.ศ. 2014 SPARC Robotics Projects
  • ปี ค.ศ. 2017 French Intelligence Artificial

3) สหราชอาณาจักร

  • ปี ค.ศ. 2014 RAS 2020
  • ปี ค.ศ. 2016 Artificial Intelligence: opportunities and implications for the future of decision making

4) ญี่ปุ่น

  • ปี ค.ศ. 2015 Japan’s Robot Strategy

เส้นทางการพัฒนา AI

ทศวรรษที่ 1940-1950 : กำเนิด AI

  • ปี ค.ศ. 1950 อลัน ทัวริง เสนอ “การทดสอบทัวริง” วิธีการสร้างเครื่องจักรอัจฉริยะ
  • ปี ค.ศ. 1956 กำเนิดสาขา Artificial Intelligence ขึ้น ในการประชุมวิชาการที่วิทยาลัยดาร์ตมัธ (Dartmouth Conference) ประเทศสหรัฐอเมริกา

ทศวรรษที่ 1950-1970 : ยุคทองของ AI

  • ปี ค.ศ. 1968 ศาสตราจารย์ Edward Feigenbaum ได้สร้างระบบผู้เชี่ยวชาญหรือซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบแรกที่ประสบความสำเร็จ ชื่อว่า DENDRAL

ทศวรรษที่ 1970-1980 : ยุคแห่งความรู้

  • ปี ค.ศ. 1970 ความสามารถของ AI เริ่มมีข้อจำกัด เช่น ความเร็วในการประมวลผลไม่เพียงพอ ส่งผลให้หน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย AI ลดการสนับสนุนเงินทุนลงเรื่อยๆ
  • ปี ค.ศ. 1980 “ระบบผู้เชี่ยวชาญ” กลับมากลายเป็นจุดสนใจของการวิจัย AI

ทศวรรษที่ 1990-2010 : ยุค Machine learning – AI ได้เข้าสู่ช่วงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

  • ปี ค.ศ. 2006 Geoffrey Hinton ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ Neuron Network Science
  • ปี ค.ศ. 2016 หุ่นยนต์ “AlphaGo” ชนะการแข่งขันหมากล้อมกับมนุษย์

แผนพัฒนา AI ยุคใหม่ของจีน

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 รัฐบาลจีนได้แถลงการณ์ “แผนพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่” (The Next Generation Artificial Intelligence Development Plan) ซึ่งเป็นแผนแม่บทที่กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยี AI อย่างเป็นระบบ

เป้าหมาย

  • ปี ค.ศ. 2020 : เทคโนโลยี AI สามารถก้าวทันระดับขั้นสูงของโลก (Advanced level)
  • ปี ค.ศ. 2025 : เทคโนโลยี AI บางส่วนสามารถก้าวสู่ระดับชั้นนำของโลก (Leading level)
  • ปี ค.ศ. 2030 : เทคโนโลยี AI โดยรวมสามารถก้าวสู่ระดับชั้นนำของโลก (Leading level)

หลักการ

  • ผู้นำเทคโนโลยี
  • วางผังระบบ
  • ผู้นำตลาด
  • เปิด open-source

Wu Dao 2.0 – แบบจำลอง AI ของจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
“Large-scale Pretrained Language Models”

Wu Dao 2.0 (悟道2.0) คือ แบบจำลอง AI ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยผ่านการฝึกฝนด้วยพารามิเตอร์ 1.75 ล้านล้านรายการ เพื่อจำลองคำพูดในการสนทนา เขียนบทกวี ทำความเข้าใจรูปภาพ เป็นต้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เครื่องจักรคิดเหมือนมนุษย์และช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบนิเวศการใช้งาน AI ได้

เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยชิงหัว ได้พัฒนา ‘Hua Zhibing’ นักเรียนเสมือนจริงคนแรกของจีน ถูกสร้างขึ้นบน Wu Dao 2.0

กระบวนทัศน์ที่ก่อให้เกิด New generation of Smart models

  • Deep learning (Neural Networks) + Data + Computing power = Information model
  • Deep learning (Neural Networks) + Virtual Environment + Computing power = Autonomous model
  • Evolution + Environment + Solar energy = Brain Model

ปัญหาปัจจุบันของ AI

  • การพัฒนาของ Deep learning ทำให้เกิดความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการจดจำภาพ แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาการรับรู้ได้จริง ๆ
  • ปัญหาในปัจจุบันไม่ได้อยู่ที่การเพิ่มพลังการประมวลผลและเพิ่มข้อมูล แต่อยู่ที่การปรับปรุงโมเดลอัจฉริยะให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ความสามารถของ Deep learning ยังห่างไกลจากระบบการมองเห็นแบบซับซ้อนของมนุษย์

ความคิดเห็นของคุณ Huang Tiejun

สมองทางชีววิทยาหรือสมองของมนุษย์มีวิวัฒนาการนับร้อยล้านปี และปัจจุบันสมองทางชีวภาพยังคงมีโครงสร้างทางสมองที่ดีกว่า AI ในอนาคต AI หรือวิธีการเรียนรู้ของเครื่องต่างๆ ที่ออกแบบโดยมนุษย์ สมองอิเล็กทรอนิกส์จะมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับสมองทางชีววิทยา

ที่มา วารสาร “วิทย์ไมตรีไทย-จีน” ฉบับเดือนมิถุนายน 2564
Thailand STI and Higher Education Day 2021
วันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการอุดมศึกษาไทย ณ กรุงปักกิ่ง พ.ศ. 2564

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]