ความร่วมมือการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างไทย-จีน
ดร.เฉา คุนฮวา (Cao Kunhua)
ผู้อำนวยการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน (CATTC) และผู้อำนวยการกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ด้วยการสนับสนุนที่แข็งแกร่งของรัฐบาลจีนและไทย ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน ได้จัดตั้งกลไกการทำงานทวิภาคี สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-ไทย เพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยนและเยี่ยมเยือนในระดับสูง จัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-ไทย กิจกรรมและร่วมกันก่อตั้งแพลตฟอร์มนวัตกรรมเทคโนโลยี การฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน-ไทย โดยได้สร้างความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งกับประเทศไทย และความร่วมมือด้านชีวการแพทย์ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การเกษตรสมัยใหม่ การอนุรักษ์พลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อม
ความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน-ไทย ได้กลายเป็นต้นแบบสำหรับเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ในการดำเนินการความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างจีนกับประเทศอาเซียน โดยมีแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือการถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-ไทย ดังนี้
ประการแรก
การมุ่งเน้นไปที่ “การต่อสู้กับโรคระบาด” ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยการร่วมกันต่อสู้กับความท้าทายในระดับภูมิภาค
ในปี 2020 เมื่อเผชิญกับการระบาดของโควิด19 อย่างกะทันหัน กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกว่างซี ได้ดำเนินตามแนวทางการแก้ไขปัญหาของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และคณะกรรมการพรรคและรัฐบาลของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด โดยการเป็นผู้นำในการออกแนวทาง “การต่อสู้กับโรคระบาด” ฉบับแรก สำหรับความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศสำหรับอาเซียน ริเริ่มการบริจาคเวชภัณฑ์ ซึ่งได้รับการตอบรับเชิงบวกจากทุกสาขาอาชีพในประเทศไทย โดยมีมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนกว่างซี (Guangxi University of Traditional Chinese Medicine) ร่วมกับ Chinese Academy of Sciences และมหาวิทยาลัยมหิดลของประเทศไทย ร่วมกันดำเนินการวิจัยอย่างรวดเร็วและมีความก้าวหน้าที่สำคัญ ซึ่งมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้รับการตีพิมพ์บนหน้าปกของนานาชาติชั้นนำของวารสารวิชาการวิทยาศาสตร์
ในขณะเดียวกัน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ส่งอุปกรณ์ป้องกันโรคระบาดเพื่อช่วยเหลือเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงผ่านช่องทางต่างๆ และในช่วงที่เกิดโรคระบาดรุนแรงในประเทศไทย จีนก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทย ต่างฝ่ายต่างให้ความร่วมมือด้วยกันเป็นอย่างดี ซึ่งการสนับสนุนและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นตัวอย่างที่ดีของมิตรภาพอันลึกซึ้งระหว่างจีนและไทย
ประการที่สอง
การดำเนินการวิจัยด้านเทคโนโลยีร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงของความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกว่างซี ได้สนับสนุนโครงการความร่วมมือมากกว่า 20 โครงการ ระหว่างหน่วยงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนรวมถึงประเทศไทย ในรูปแบบของโครงการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีจำนวนการสนับสนุนทั้งหมดมากกว่า 30 ล้านหยวน ครอบคลุมทางด้านความร่วมมือต่าง ๆ เช่น การเกษตร การแพทย์แผนโบราณ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และบริการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ในปี 2018 สถาบันวิจัยพืชผักแห่งสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรกว่างซี และศูนย์วิจัยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แห่งประเทศไทย ร่วมกันวิจัยสร้างพันธุ์ผักชนิดใหม่ที่มีความต้านทานโรคสูงที่เหมาะสำหรับทั้งปลูกที่ไทยและจีน และจัดนิทรรศการพันธุ์ผักและการประยุกต์เทคโนโลยีใหม่ในกว่างซีและประเทศไทยตามลำดับ มีการจัดตั้งเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อความร่วมมือด้านเมล็ดพันธุ์ผักระหว่างสองฝ่าย
ในปี 2020 มหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนกว่างซี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกันจัดตั้งห้องปฏิบัติการร่วมระดับนานาชาติด้านการแพทย์แผนจีน-ไทย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย-จีน และร่วมมือเพื่อดำเนินการวิจัยเทคโนโลยีการเตรียมและการวิจัยผลทางยาของอาหารเพื่อสุขภาพตามใบสั่งแพทย์แผนโบราณที่ใช้กันทั่วไปในจีนและไทย
ประการที่สาม
การยึดมั่นในการเปิดกว้างและแบ่งปัน และร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ในเดือนกันยายน 2014 รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนและไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน ในการลงนามร่วม “หนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อความร่วมมือในการสร้างศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-ไทย” ระหว่างศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติของประเทศไทย (สวทช.) ในการประชุมความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมจีน-อาเซียน ครั้งที่ 2 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-ไทย นับเป็นการจัดตั้งกลไกการทำงานถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-ไทยอย่างเป็นทางการ และมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบทวิภาคีจีน-ไทย
เมื่อปีที่แล้ว (2020) ได้มีการประกาศเปิดตัว “ศูนย์นวัตกรรม จีน-ไทย-อาเซียน (China-Thailand-ASEAN Innovation Port)” ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ดำเนินการโดยศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน และสำนักงานนวัตกรรมและความร่วมมือ (กรุงเทพ) สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ศูนย์นวัตกรรมฯ ดังกล่าว จะเป็นแพลตฟอร์มการค้าเทคโนโลยีและผู้ให้บริการด้านนวัตกรรม และส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน-ไทยให้มากขึ้น
และในปีนี้ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียนและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติได้จัดงาน “การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการแพทย์และสุขภาพจีน-ไทย” โดยมีตัวแทนจากองค์กรกว่า 10 แห่งจากจีนและไทย ร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยีการแพทย์และสุขภาพ โดยส่งเสริมการเจรจาจับคู่เชื่อมต่อทางเทคนิคออนไลน์ที่เป็นประโยชน์สำหรับความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานในยุคหลังการแพร่ระบาด
ประการที่สี่
การยึดมั่นในความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและร่วมกันปลูกฝังความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยาวชนชาวจีนและไทย
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน ได้ร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีนในการดำเนินการใน “โครงการนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นรุ่นใหม่เข้ามาพัฒนายังประเทศจีน” และเริ่มเป็นผู้นำในการดำเนินการตาม “โครงการนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นรุ่นใหม่ 100 คน” ในปี 2560 เพื่อสนับสนุนเยาวชนจากประเทศในกลุ่มอาเซียนหรือนักวิจัยได้เดินทางไปกว่างซี เพื่อทำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในระยะสั้น
ตั้งแต่ปลายปี 2017 เยาวชนที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากประเทศไทยจำนวน 7 คนมาทำงานที่ประเทศจีน โดยครอบคลุมพื้นที่งานวิจัยต่าง ๆ เช่น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เกษตรกรรมสมัยใหม่ และชีวการแพทย์ นอกจากนี้ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน ได้เป็นเจ้าภาพจัดหลักสูตรการฝึกอบรมระหว่างประเทศจีน-อาเซียน สำหรับผู้จัดการด้านเทคนิค และชุดหลักสูตรฝึกอบรมด้านเทคนิคพิเศษต่าง ๆ โดยมีการฝึกอบรมและการแลกเปลี่ยนมากกว่า 30 คนที่มาจากประเทศไทย ซึ่งส่งเสริมความเข้าใจร่วมกันของบุคลากรด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการจัดการในประเทศจีนและประเทศไทย
“ภราดรภาพจีน-ไทยจะคงอยู่ตลอดไป” ด้วยการลงนามใน “ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมระดับภูมิภาค” (RCEP) ความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน-ไทยจะนำไปสู่โอกาสที่ดีมากขึ้น ในการนี้ข้าพเจ้าขอเสนอให้กระชับความร่วมมือในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
ประการแรก คือ การร่วมกันส่งเสริมจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียนแห่งศูนย์นวัตกรรมกรุงเทพ สำรวจการจัดตั้งคณะทำงานที่ร่วมโครงการร่วมกันทำงานที่เป็นมาตรฐาน และดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การบ่มเพาะโครงการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การจัดโรดโชว์ของโครงการ การฝึกอบรมด้านเทคนิค และการจับคู่เชื่อมต่อทางเทคนิคตามหลักการสร้างและแบ่งปันร่วมกัน
โดยจะทำงานร่วมกับสถาบันบัณทิตวิทยาศาสตร์จีน เพื่อใช้ประโยชน์จากบทบาทที่แข็งขันของสำนักงานนวัตกรรมและความร่วมมือ (กรุงเทพ) ในการเผยแพร่และถ่ายทอดความสำเร็จทางเทคโนโลยีขั้นสูงและเหมาะสมของประเทศจีนไปยังประเทศไทยและประเทศอาเซียนอื่น ๆ และส่งเสริมการถ่ายทอดและการเปลี่ยนแปลงของความสำเร็จทางเทคโนโลยีที่โดดเด่นในวงกว้าง จากประเทศไทยและประเทศอาเซียนอื่น ๆ สู่ประเทศจีน โดยการสร้างศูนย์กลางความร่วมมือที่เป็นนวัตกรรมสำหรับปฏิสัมพันธ์สองทางระหว่างจีนและอาเซียน
ประการที่สอง คือ การเพิ่มระดับความร่วมมือแบบทวิภาคีในการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างจีนและไทย โดยใช้ประโยชน์จากกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบทวิภาคี คัดรกองความต้องการด้านเทคโนโลยี เสริมสร้างการแบ่งปันทรัพยากรและความได้เปรียบร่วมกันระหว่างภูมิภาคหลักและอุตสาหกรรมหลัก และเจาะลึกศักยภาพของความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน-ไทย โดยผ่านคณะทำงานร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบทวิภาคี จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีหลายมิติทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จับคู่เชื่อมต่อกับอุปสงค์-อุปทานเทคโนโลยีอย่างแม่นยำ รวบรวมทรัพยากรนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ และเร่งการสร้างแพลตฟอร์มการซื้อขายทางเทคโนโลยีจีน-ไทย
ประการที่สาม คือ การสนับสนุนการวิจัยร่วมระหว่างประเทศ และการแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวัฒนธรรม ดำเนินการตาม “โครงการนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นรุ่นใหม่ เข้ามาพัฒนาที่ประเทศจีน” และ “โครงการนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นรุ่นใหม่จากอาเซียนเข้ามาทำงานวิจัยในจีน” และยืนหยัดในการจัด “หลักสูตรฝึกอบรมระหว่างประเทศจีน-อาเซียน สำหรับผู้จัดการด้านเทคนิค”
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน ยินดีต้อนรับเยาวชนที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากประเทศไทยมายังกว่างซี เพื่อดำเนินการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในระยะสั้นและการฝึกอบรมด้านเทคนิค เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยน และแก้ปัญหาทางเทคนิคที่จีนและไทยกำลังเผชิญอยู่ มีการดำเนินการจัดตั้งทีมวิจัยร่วมกัน เพื่อดำเนินการวิจัยทางเทคนิคและให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและทางปัญญาอย่างแข็งแกร่ง สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจคุณภาพสูงของจีนและไทย
“เราลงเรือลำเดียวกันแล่นไปด้วยกัน เป็นระยะทางหลายพันไมล์ ผ่านลมและคลื่นซัดสาด ผมหวังว่าเราจะจับมือกัน เพื่อสร้างอนาคตที่สดใสของความร่วมมือด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีจีน-ไทย”
ดร.เฉา คุนฮวา (Dr. Cao Kunhua)
ที่มา วารสาร “วิทย์ไมตรีไทย-จีน” ฉบับเดือนมิถุนายน 2564
Thailand STI and Higher Education Day 2021
วันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการอุดมศึกษาไทย ณ กรุงปักกิ่ง พ.ศ. 2564