ปักกิ่ง, 21 มิ.ย. (ซินหัว) — นักวิจัยชาวจีนได้พัฒนาระบบดัชนีสำหรับย้อนติดตามการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศบรรพกาล (Paleo-climate) ช่วง 13,000 ปีที่ผ่านมา ในพื้นที่ต้นกำเนิดของแม่น้ำแยงซี ที่ถูกขนานนามว่าเป็นขั้วโลกที่สาม (The Third Pole) ซึ่งครอบคลุมที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตและพื้นที่โดยรอบ ซึ่งกำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อนที่รุนแรงอยู่ในขณะนี้
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศบริเวณที่ราบสูงแห่งนี้มีความโดดเด่น เนื่องจากมีระบบการไหลเวียนของอากาศที่แตกต่างกัน ได้แก่ มรสุมฤดูร้อนของเอเชียและลมตะวันตกในละติจูดกลาง
นักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลตัวบ่งชี้หลายตัวจากตะกอนแกนกลางของทะเลสาบในพื้นที่ตอนกลางของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต และพัฒนาการเก็บข้อมูลความละเอียดสูง ของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและผลกระทบจากมรสุมในพื้นที่ต้นกำเนิดแม่น้ำแยงซีช่วง 13,000 ปีที่ผ่านมา
พวกเขาแบ่งการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศบรรพกาลตลอด 13,000 ปีที่ผ่านมา ออกเป็น 4 ช่วงเวลา นับตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย (Last Glacial Period) ซึ่งค่อนข้างหนาวเย็น, สมัยโฮโลซีนตอนต้นที่อากาศอบอุ่นและชื้น, สมัยโฮโลซีนตอนกลางและปลายที่อากาศเย็นและแห้ง, และช่วง 2,000 ปีที่ผ่านมาที่อากาศมีแนวโน้มอบอุ่นและชื้นมากขึ้น
บทความวิจัยดังกล่าวซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารด้านบรรพชีวินวิทยา ภูมิอากาศบรรพกาลวิทยา และนิเวศวิทยาบรรพกาล (Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology) ยังระบุว่า พลังงานแสงอาทิตย์ ลมตะวันตก และการละลายของน้ำแข็ง เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศบรรพกาลด้วย
ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
Xinhua