เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 ได้มีพิธีเปิดงานสัมมนาแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และสุขภาพจีน–ไทย ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน–อาเซียน China-ASEAN Technology Transfer Center (CATTC) และกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ร่วมกับศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีกว่างซี–อาเซียน (Guangxi ASEAN Technology Transfer Center) หอการค้าจีนเพื่อการนำเข้าและส่งออกยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
นาย Cao Kunhua ผู้อำนวยการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน–อาเซียน China-ASEAN Technology Transfer Center (CATTC) และผู้อำนวยการกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และนาย Wang Maochun รองประธานหอการค้าจีนเพื่อการนำเข้าและส่งออกยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เข้าร่วมงานพิธีเปิดงานสัมมนาออนไลน์และกล่าวสุนทรพจน์โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 80 คน จากกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน–อาเซียน China-ASEAN Technology Transfer Center (CATTC) หอการค้าจีนเพื่อการนำเข้าและส่งออกยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (TCELS) และสถาบันต่าง ๆ จากมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพของไทย อีกทั้งสถาบันวิจัยและตัวแทนขององค์กรเข้าร่วมในพิธีเปิดงานสัมมนานี้ และมีจำนวนผู้คนเข้ามาชมทางออนไลน์ประมาณ 30,000 คน
นาย Cao Kunhua กล่าวว่า โรคระบาดได้ปิดกั้นระยะทางเชิงพื้นที่ แต่ก็ไม่สามารถปิดกั้นความกระตือรือร้นในความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างจีนและไทยได้ในยุคหลังการแพร่ระบาด เราจะไม่ละความพยายามที่จะสานต่อความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับประเทศไทยให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นและสำรวจรูปแบบความร่วมมือใหม่ ๆ และเส้นทางใหม่ในสถานการณ์ใหม่ของรูปแบบความร่วมมือในด้านต่าง ๆ
งานสัมมนาแลกเปลี่ยนและจับคู่ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และสุขภาพจีน–ไทย (ออนไลน์) เป็นความพยายามที่มีประโยชน์ทั้งสองฝ่ายที่จะร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจีนและไทย และให้การสนับสนุนในเชิงบวกต่อชัยชนะในช่วงแรกของการแพร่ระบาดและการส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. และกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ได้รักษาความสัมพันธ์ความร่วมมือในระยะยาวและประสบผลสำเร็จ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 ทั้งสองฝ่ายได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตรอัจฉริยะ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และการผลิตอัจฉริยะ ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ปี 2020 จีนและไทยได้จัดหาเวชภัณฑ์ให้แก่กันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เชื่อว่ากิจกรรมแลกเปลี่ยนในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างจีนกับไทยและประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนในด้านการแพทย์และสุขภาพ
ในงานสัมมนาได้ดำเนินการปาฐกถาพิเศษและการนำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านเทคโนโลยีโดยตัวแทนจาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (TCELS) บริษัท BeiGene (Beijing) Biotechnology Co., Ltd. บริษัท Xiamen Wantai Canghai Biotechnology Co., Ltd. ศูนย์การค้าระหว่างประเทศด้านเภสัชกรรมฉือเจียจวงอี้หลิง และบริษัท Guangxi Huibaoyuan Pharmaceutical Technology Co., Ltd. เป็นต้น
ปาฐกถาพิเศษและแขกรับเชิญด้านเทคโนโลยี
พิธีเปิดงานสัมมนาแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และสุขภาพจีน–ไทย เป็นงานแรกของกิจกรรมความร่วมมือด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีอุตสาหกรรมจีน–อาเซียน ซึ่งจะดำเนินการในเดือนเมษายน โดยจะเน้นที่อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพเป็นหลัก โดยใช้รูปแบบ “การส่งเสริมโรดโชว์(ออนไลน์)” + “การเจรจาต่อรองและการจับคู่ธุรกิจ” ในการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางเทคนิคจีน–ไทยให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และเพื่อพัฒนาศักยภาพของความร่วมมือจีน–ไทยในด้านการแพทย์และสุขภาพ แบ่งปันความสำเร็จด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสองประเทศ ปรับปรุงประสิทธิภาพและความถูกต้องของทรัพยากรนวัตกรรม และเพื่อเชื่อมต่อระหว่างทั้งสองฝ่ายและสำรวจความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ของทั้งสองประเทศ
นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ได้สร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสถาบันที่เกี่ยวข้องของไทยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกันในระดับสูง การจับคู่ทางด้านเทคโนโลยีการฝึกอบรมผู้มีความสามารถร่วมกัน การสาธิตและส่งเสริมเทคโนโลยีและความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์แบบ Partnership โดยอาศัยศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน–อาเซียน ซึ่งเป็นเวทีระดับชาติกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ได้จัดตั้งกลไกการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านเทคโนโลยีที่มั่นคงกับประเทศไทย
ทั้ง 2 ฝ่าย ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเชื่อมต่อทางด้านเทคโนโลยีมากกว่า 30 กิจกรรม ซึ่งเป็นการส่งเสริมการถ่ายโอนและการเปลี่ยนแปลงความสำเร็จทางเทคโนโลยีขั้นสูงจำนวนมากอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนักวิจัย 5 ท่านเป็นผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรุ่นเยาว์ที่โดดเด่นจากไทยมาทำงานที่จีน เพื่อดำเนินการในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงผ่านโครงการ “นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ดีเด่นแห่งอาเซียน” เพื่อดำเนินการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงที่มีบทบาทอย่างแข็งขันในการส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสองประเทศ และในปีพ.ศ. 2563 รัฐบาลของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงได้มอบรางวัลให้แก่ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นรางวัล “Golden Hydrangea Friendship Award” ของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เพื่อให้รับทราบถึงผลงานของดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ในการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย-จีน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2020 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน ศูนย์นวัตกรรมกรุงเทพมหานคร และศูนย์นวัตกรรมจีน-ไทย–อาเซียน ได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายโดยรวมในการสร้างศูนย์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับภูมิภาคสำหรับอาเซียน และมุ่งเน้นการรวบรวมแหล่งข้อมูลทางนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และสร้างศูนย์กลางนวัตกรรมที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยสู่ตลาดสากลอาเซียน
ที่มา : วารสาร “วิทย์ไมตรีไทย-จีน” ฉบับเดือนเมษายน 2564 “Gateway to ASEAN กว่างซี : ประตูเชื่อมจีน-อาเซียน”