• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • กฎหมาย ‘การบริจาคและการกุศล’ กฎหมายสำคัญของจีน ในการแก้ปัญหา ‘หากินผ่านการรับบริ…

กฎหมาย ‘การบริจาคและการกุศล’ กฎหมายสำคัญของจีน ในการแก้ปัญหา ‘หากินผ่านการรับบริ…

กฎหมาย ‘การบริจาคและการกุศล’ กฎหมายสำคัญของจีน ในการแก้ปัญหา ‘หากินผ่านการรับบริจาค’ 1 ในปัญหาการหลอกลวงคนใจบุญที่พบได้บ่อยในจีน
.
พูดถึงความใจบุญ การมีน้ำจิตน้ำใจช่วยเหลือกัน อย่างการบริจาคเงินช่วยเหลือ ประเทศจีน ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ผู้คนนิยมบริจาคเงินช่วยเหลือกัน ไม่ต่างจากไทยเลย แม้ภาพลักษณ์ภาพจำที่เรามองเกี่ยวกับจีน เราอาจมองว่าจีนคงไม่มีมุมนี้
.
แต่การบริจาคในจีน ก็มักเกิดปัญหาดราม่าจากความไม่โปร่งใสของผู้รับบริจาคอยู่บ่อยๆ อย่างยิ่งหากเป็นการบริจาคผ่านบุคคลทั่วไป ไม่ใช่การบริจาคที่จัดโดยหน่วยงานหรือองค์กรการกุศลที่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง
.
5-6 ปีก่อนหน้านี้ อ้ายจงจำได้ว่า เห็นการรับบริจาคเงินบนโลกออนไลน์จีนค่อนข้างเยอะ มีแพลตฟอร์มเพื่อสร้างแคมเปญรับบริจาคโดยเฉพาะเลยนะ และแน่นอนว่ามันก็มีปัญหา “น่าสงสารทิพย์” คือทำแคมเปญเพื่อหากินจากความสงสารความใจบุญของคน ไม่ได้เป็นคนที่น่าสงสารน่าสมควรได้รับการช่วยเหลือจริงๆ และแม้คนที่รับบริจาคเป็นผู้ต้องการความช่วยเหลือ ไม่ได้มีจุดประสงค์โกง แต่ถ้าไปเปิดแคมเปญผ่านแพลตฟอร์มที่ทำขึ้นมาฉ้อโกงโดยเฉพาะ ก็มีปัญหาได้
.
ตัวอย่างเช่น ย้อนไปปี 2019 มีเคสดังในจีน เมื่อแพลตฟอร์มรับบริจาคแพลตฟอร์มหนึ่ง เปิดช่องทางรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยรายหนึ่งที่ทุกข์ทรมานจากโรคหายาก โดยมีคนบริจาคสูงถึงราว 1 ล้านหยวน (ประมาณ 5 ล้านบาท) แต่ต่อมาพบว่า ผู้ป่วยคนนั้น ได้รับเงินเพียง 20,000 หยวน (ราว 1แสนบาท) เท่านั้น
.

ทางการจีนจึงออกมาตรการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการออกกฎหมาย “การบริจาคและการกุศล – Charity Law” ซึ่งถูกประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2016 เป็นกฎหมายควบคุมการระดมทุนและเปิดรับบริจาคไม่ว่าจะผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์
.
ทั้งนี้ ตามสถิติที่อ้ายจงเคยได้รับข้อมูลมา หลังจากบังคับใช้กฎหมายได้ราว 1 ปี ทางจีนได้ควบคุมการเปิดแพลตฟอร์มรับบริจาคออนไลน์ โดย ณ ขณะนั้น จีนอนุมัติไป 20 แพลตฟอร์ม โดย Tencent ถือเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มสำคัญที่ได้รับอนุมัติ ทำให้คนที่อยากบริจาคช่วยเหลือคนอื่น ทำได้อย่างสบายใจขึ้น อ้าบจงเองก็เป็นคนหนึ่งที่ไปบริจาคบน Tencent Charity อยู่เรื่อยๆ

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #ชีวิตคนจีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]