บันทึกเรื่องเล่าวันสงกรานต์ 2562 กินอาหารวนไป จนเจอปิ้งย่างหมาล่า จึงอยากจะแก้ไขความเข้าใจผิด “หมาล่า” ไม่ใช่ “หม่าล่า”
วันนี้วันสงกรานต์ทุกคนไปเล่นน้ำ หรือไปเที่ยวที่ไหนกันบ้างครับ? สำหรับอ้ายจง ปีนี้เป็นปีแรกที่ได้กลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์หลังจากที่ช่วง8ปีที่ผ่านมา ได้แต่ฉลองสงกรานต์ต่างแดนตามฉบับคนไกลบ้าน ณ แดนมังกร ประเทศจีน
บ้านอ้ายจงอยู่ในอำเภอเล็กๆของจังหวัดสุโขทัยชื่อว่า “สวรรคโลก”
ที่นี่มีการจัดงาน ประเพณีสงกรานต์และเทศกาลอาหาร เป็นประจำเช่นทุกปี และเรื่องกินอ้ายจงก็ไม่เคยพลาดอยู่แล้ว
เดินดูอาหารตามซุ้มต่างๆ ก็มาเจอกับ ร้านปิ้งย่างหมาล่า ที่อารยธรรมการกินรสชาติหมาล่าจากจีน (เผ็ดชา)เข้ามาฮิตในไทยได้หลายปีแล้ว ไม่เว้นแม้แต่อำเภอเล็กๆแห่งนี้
แต่ก็เหมือนที่อ้ายจงเคยพยายามรณรงค์อยู่บ่อยครั้ง ว่า หมาล่า ต้องเขียนว่า หมาล่า “ห้ามเขียนว่า หม่าล่า” เพราะมันผิดทั้งความหมาย และการออกเสียง
หลายคนอ่านที่อ้ายจงเขียน อาจจะมีการค้านในใจว่า เฮ้ย แต่เราเห็นแทบทุกร้านในไทย เขาใช้คำว่า หม่าล่า นะเว้ยยย
ดังนั้น สรุปแล้ว หมาล่า 麻辣 ออกเสียงอย่างไรกันแน่? เพราะคนไทยมักจะออกเสียงว่า “หม่าล่า”
หมาล่า 麻辣 คือรสชาติชาและเผ็ด ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหมา หรือแมลงหมาร่า แต่อย่างใด และมิใช่ ชื่ออาหารด้วย ถ้าเป็นชื่ออาหาร อย่างเช่นปิ้งย่างรสชาติหมาล่าแบบที่นิยมในไทยตอนนี้ จะเรียก 麻辣烧烤 หมาล่าซาวเข่า หรือ 麻辣串 หมาล่าช่วน
ฟังอ้ายจงอีกครั้ง น๊าาาา “หมาล่า” 麻辣 ไม่ใช่ หม่าล่า ในคำว่าหมาล่า 麻辣 ตัว 麻 แปลว่า อาการชา ออกเสียงว่า หมา ไม่ใช่ 马 เสียง3 หม่า แปลว่า ม้า อะไรแบบนี้นะ ซึ่งจะเห็นแล้วว่า หากออกเสียงผิด หรือเขียนคำอ่านผิดๆ ความหมายก็ผิดเพี้ยน พอไปถึงเมืองจีน ติดนิสัยเรียกผิดๆไป คนจีนจะงงตาแตกนะ
จากโพสต์เล่าเรื่องสงกรานต์ ณ บ้านเกิดเมืองนอนอ้ายจง ไปๆมาๆ วกมาเกี่ยวกับเรื่องเล่าจีนทุกแง่มุมจนได้ นี่แหล่ะครับ “อ้ายจง” ^^
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #สงกรานต์ #สวรรคโลก#อาหารจีน #หมาล่า
ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง