บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบินและอวกาศแห่งประเทศจีน (China Aerospace Science and Technology Corporation: CASC) เปิดเผยแผนกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศของจีนในปี 2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้
– การปล่อยยานอวกาศมากกว่า 200 ลำ ด้วยภารกิจอวกาศกว่า 60 ครั้ง
– ภารกิจเที่ยวบินของยานบรรทุกสัมภาระเทียนโจว-6 (Tianzhou-6) เสินโจว-16 (Shenzhou-16) และเสินโจว-17 (Shenzhou-17)
– ระบบดาวเทียมนําทางเป๋ยโต่ว-3 (BeiDou-3) จะถูกนำมาใช้ติดตามการปล่อยดาวเทียมสํารอง 3 ดวง และจะมีการเร่งก่อสร้างระบบดาวเทียมสํารวจระยะไกลเชิงพาณิชย์รุ่นใหม่
– เตรียมผลักดันการสํารวจดวงจันทร์และดาวเคราะห์ระยะที่ 4 อย่างรอบด้านในปี 2566 และพัฒนายานสํารวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ-7 (Chang’e-7) ยานสํารวจดาวอังคารเทียนเวิ่น-2 (Tianwen-2) รวมถึงดาวเทียมตรวจจับคลื่นไมโครเวฟในวงโคจรค้างฟ้า
– จรวดขนส่งลองมาร์ช-6ซี (Long March-6C) จะขึ้นบินเที่ยวแรกในปี 2566 พร้อมคาดว่าจรวดขนส่งตระกูลลองมาร์ชจะรับหน้าที่ขนส่งยานอวกาศรวมกว่า 500 ครั้ง
ภาพ : CDSTM
ในปี 2566 สถานีอวกาศเทียนกงได้เข้าสู่ขั้นตอนของการใช้งานและการพัฒนา โดยมีภารกิจขนส่งยานอวกาศบรรทุกสิ่งของเทียนโจว-6 ยานอวกาศพร้อมมนุษย์เสินโจว-16 และยานอวกาศพร้อมมนุษย์เสินโจว-17 ไปยังสถานีอวกาศเทียนกงในปีนี้
วัน/เดือน/ปี | ภารกิจการขนส่ง | ยานอวกาศ |
10 พฤษภาคม 2566 | ยานอวกาศบรรทุกสิ่งของ | เทียนโจว-6 (Tianzhou-6) |
30 พฤษภาคม 2566 | ยานอวกาศพร้อมมนุษย์ | เสินโจว-16 (Shenzhou-16) |
26 ตุลาคม 2566 | ยานอวกาศพร้อมมนุษย์ | เสินโจว-17 (Shenzhou-17) |
เครื่องหมายภารกิจการบินอวกาศ
ยานอวกาศบรรทุกสิ่งของเทียนโจว-6 | ยานอวกาศพร้อมมนุษย์เสินโจว-16 | ยานอวกาศพร้อมมนุษย์เสินโจว-17 |
ภาพถ่ายความละเอียดสูงของสถานีอวกาศจีนเต็มรูปแบบ
28 พ.ย. 66 – ทีมนักบินอวกาศเสินโจว-16 จำนวน 3 นายเสร็จสิ้นภารกิจที่สถานีอวกาศและกลับสู่พื้นโลก ก่อนการเดินทางได้นั่งยานอวกาศบินรอบสถานีอวกาศจีน และใช้กล้องความละเอียดสูงถ่ายภาพสถานีอวกาศเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก
เทียนโจว-6 (Tianzhou-6)
ภาพ : China Academy of Space Technology
10 พ.ค. 66 เวลา 21.22 น. – ยานบรรทุกสัมภาระเทียนโจว 6 (Tianzhou-6) ถูกปล่อยขึ้นไปพร้อมกับจรวดขนส่งลองมาร์ช 7-วาย7 (Long March 7-Y7) ที่ศูนย์ปล่อยยานอวกาศเหวินชาง สังกัดศูนย์ปล่อยดาวเทียมซีชาง มณฑลไห่หนาน ซึ่งเป็นการปล่อยยานอวกาศครั้งแรกนับตั้งแต่สถานีอวกาศจีนเข้าสู่ระยะประยุกต์ใช้งานและพัฒนา
11 พ.ค. 66 เวลา 05.16 น. – ยานบรรทุกสัมภาระเทียนโจว-6 (Tianzhou-6) เสร็จสิ้นการตั้งค่าสถานะและเทียบท่ากับสถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong) ในวงโคจรทีมนักบินอวกาศจีนประจำภารกิจเสินโจว-15 (Shenzhou-15) บนสถานีอวกาศได้เข้าสู่ยานบรรทุกสัมภาระและขนย้ายอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ
หลังจากภารกิจปล่อยยานบรรทุกสัมภาระเทียนโจว-6 (Tianzhou-6) ได้เข้าเทียบท่าสถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong) เป็นที่เรียบร้อย เพื่อทำการถ่ายโอนสัมภาระ ซึ่งมีน้ำหนักรวมกันเกือบ 5.8 เมตริกตัน มีสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตที่เพียงพอสำหรับลูกเรือ 3 คนเป็นเวลา 280 วัน บรรจุสัมภาระทางวิทยาศาสตร์ 98 ห่อ น้ำหนักรวม 714 กิโลกรัม ประกอบด้วย อุปกรณ์ใหม่ อะไหล่ และวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยจะนำไปใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 29 รายการในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชีววิทยา ฟิสิกส์ของไหลในสภาวะไร้น้ำหนัก การเผาไหม้ และวัสดุศาสตร์
เสินโจว-16 (Shenzhou-16)
ภาพ : Global Times
30 พ.ค. 66 เวลา 9:31 น. – ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมเสินโจว-16 (Shenzhou-16) ถูกปล่อยขึ้นไปพร้อมกับจรวดขนส่งลองมาร์ช-2เอฟ เหยา16 (Long March-2F Yao 16) ที่ศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียน ส่งนักบินอวกาศ 3 คน ประกอบไปด้วย จิ่ง ไห่เผิง (Jing Haipeng) จู หยางจู้ (Zhu Yangzhu) และกุ้ย ไห่เฉา (Gui Haichao) ขึ้นไปปฏิบัติภารกิจที่สถานีอวกาศเป็นเวลา 5 เดือน เป็นภารกิจแรกที่มีมนุษย์ควบคุมสำหรับการประยุกต์ใช้และการพัฒนาสถานีอวกาศจีน
หลังจากยานอวกาศเข้าสู่วงโคจรแล้ว จะดำเนินการนัดพบและเทียบท่ากับชุดประกอบสถานีอวกาศตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ นักบินอวกาศของยานเสินโจว-16 และนักบินอวกาศของยานเสินโจว-15 จะทำงานและใช้ชีวิตด้วยกันบนสถานีอวกาศประมาณ 5 วัน เพื่อปฏิบัติภารกิจตามแผนและส่งมอบงานต่าง ๆ
ทีมนักบินอวกาศประจำภารกิจเสินโจว-16 อยู่ในวงโคจรนาน 154 วัน ทำการทดลองบนอวกาศรวม 70 ครั้ง ทำกิจกรรมนอกยานอวกาศ จัดการบรรยายความรู้จากสถานีอวกาศ และช่วยเหลือการนำสิ่งของสัมภาระออกจากสถานีอวกาศหลายครั้ง
31 ต.ค. 66 – แคปซูลส่งกลับของยานเสินโจว-16 กลับสู่โลก ที่จุดลงจอดตงเฟิง เขตปกครองตนเองมองโกเลีย
การทดลองทางฟิสิกส์เกี่ยวกับของไหลในวงโคจร |
ทีมนักบินอวกาศประจำภารกิจเสินโจว-16 (Shenzhou-16) ทำงานร่วมกับคณะนักวิจัยบนภาคพื้นโลกเพื่อดำเนินการทดลองในวงโคจรหลายรายการ ซึ่งรวมถึงการทดลองทางฟิสิกส์เกี่ยวกับของไหล (fluid) และการติดตั้งเครื่องมือวัดอะตอมเย็น การวิจัยทางฟิสิกส์เกี่ยวกับของไหลในสภาวะไร้น้ำหนักบนอวกาศถูกประยุกต์ใช้งานเป็นวงกว้าง อาทิ การจัดการความร้อนของยานอวกาศ และการจัดการจรวดขับเคลื่อน ทีมนักบินอวกาศประจำภารกิจ เสินโจว-16 ได้ทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในวงโคจรมานานหนึ่งเดือนครึ่ง และปฏิบัติพันธกิจต่าง ๆ เสร็จสิ้น เช่น การติดตั้งอุปกรณ์ทดลองการสัมผัสรังสีทางชีวภาพในอวกาศ และถังแก๊สระบบขับเคลื่อนแบบใช้ไฟฟ้า
การทดลองเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์พืช |
จีนจัดส่งเมล็ดพันธุ์พืชที่คัดเลือกมาจากมณฑลซานซีจำนวน 9 สายพันธุ์ ขึ้นสู่ห้วงอวกาศบนยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมเสินโจว-16 (Shenzhou-16) โดยจะถูกใช้ทดลองบนสถานีอวกาศเทียนกง เมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซานซี และมีการเพาะปลูกในซานซีบนพื้นที่ประมาณ 4 ล้านหมู่ (ราว 1.66 ล้านไร่) พร้อมศักยภาพให้ผลผลิตสูงและมีความสามารถปรับตัวในวงกว้าง เมล็ดพันธุ์พืชเหล่านี้ต้องการการพัฒนาเพิ่มเติม โดยเฉพาะการต้านทานโรคผ่านการเพาะพันธุ์แบบปกติหรือการเพาะพันธุ์ในอวกาศ โดยการเพาะพันธุ์ในอวกาศจะทำให้เมล็ดพันธุ์ได้สัมผัสรังสีคอสมิกและสภาวะไร้น้ำหนักเพื่อทำให้ยีนของเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นกลายพันธุ์
ภาพ : CGTN infographic by Zhu Shangfan
เสินโจว-17 (Shenzhou-17)
26 ต.ค. 66 – ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมเสินโจว-17 (Shenzhou-17) ถูกปล่อยขึ้นไปพร้อมกับจรวดขนส่งลองมาร์ช-2เอฟ (Long March-2F) ที่ศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียน ส่งนักบินอวกาศ 3 คน ประกอบไปด้วย ทัง หงโป (Tang Hongbo) ถัง เซิ่งเจี๋ย (Tang Shengjie) และเจียง ซินหลิน (Jiang Xinlin) ขึ้นไปปฏิบัติภารกิจที่สถานีอวกาศเป็นเวลา 6 เดือน
ทีมนักบินอวกาศประจําภารกิจเซินโจว-17 ทําการทดสอบและทดลองอุปกรณ์บรรทุก (payload) ทางวิทยาศาสตร์และการใช้งานในวงโคจรหลายรายการ และทํากิจกรรมนอกยานอวกาศ ติดตั้งอุปกรณ์บรรทุกนอกยานอวกาศ ดำเนินการบำรุงรักษาสถานีอวกาศ รวมถึงทดลองทำการบำรุงรักษานอกยานอวกาศเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นงานที่มีความท้าทายมาก
ทีมนักบินอวกาศประจําภารกิจเสินโจว-17 ยังจะเดินหน้าการประเมินการทํางานและประสิทธิภาพของสถานีอวกาศ ทดสอบการประสานงานและความสอดคล้องของศูนย์สนับสนุนภาคพื้นดินในการปฏิบัติการและการบริหารจัดการของสถานีอวกาศ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการดําาเนินงานและความสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของสถานีอวกาศ ขยะอวกาศที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อยานอวกาศที่ดําเนินงานระยะยาว โดยการตรวจสอบเบื้องต้นพบปีกแผงโซลาร์เซลล์ของสถานีอวกาศจีนถูกอนุภาคขนาดเล็กในอวกาศพุ่งชนหลายครั้งจนเกิดความเสียหายเล็กน้อย โดยปัจจุบันตัวบ่งชี้การทํางานและประสิทธิภาพทั้งหมดของสถานีอวกาศยังคงเป็นไปตามข้อกําหนด
เครื่องตรวจจับอนุภาคบนสถานีอวกาศ
ภาพ : Xinhua
11 ม.ค.66 – เครื่องตรวจจับอนุภาคถูกติดตั้งลงบนแพลตฟอร์มด้านนอกสถานีอวกาศเทียนกงของจีน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสําคัญสําหรับการทํากิจกรรมนอกยานอวกาศของทีมนักบินอวกาศ การทดลองทางชีวภาพ การศึกษา วัสดุในอวกาศ และความปลอดภัยของสถานีอวกาศด้วย
เครื่องตรวจจับอนุภาคพลังงานในโมดูลห้องปฏิบัติการเวิ่นเทียนถูกขนย้ายผ่านห้องสัมภาระปรับแรงดันอากาศ ความช่วยเหลือจากแขนหุ่นยนต์ โดยเครื่องตรวจจับใช้วัสดุใหม่ที่มีชื่อว่าซีแอลวายซี (CLYC) เป็นครั้งแรกในโลก ซึ่งสามารถบรรลุการตรวจจับนิวตรอนประสิทธิภาพสูงได้
ศูนย์วิทยาศาสตร์อวกาศแห่งชาติจีน สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (National Space Science Center ,Chinese Academy of Sciences: NSSC, CAS) ระบุว่าอุปกรณ์ที่ติดตั้งใหม่นี้ สามารถตรวจสอบพลังงานและทิศทางของโปรตอนและอิเล็กตรอนพลังงานสูง ไอออนหนัก และนิวตรอนในวงโคจรของสถานีอวกาศ
ทั้งนี้ จีนส่งเวิ่นเทียน ซึ่งเป็นโมดูลห้องปฏิบัติการแรกของสถานีอวกาศเทียนกง ขึ้นสู่ห้วงอวกาศเมื่อวันที่ 24 ก.ค. ปีก่อน โดยประกอบด้วยห้องปฏิบัติงาน ห้องปรับแรงดันอากาศ และห้องทรัพยากร
ห้องปรับแรงดันอากาศได้รับการติดตั้งประตูขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งทําให้นักบินอวกาศเข้า-ออกจากยานอวกาศ รวมถึงขน ย้ายเครื่องมือและอุปกรณ์บํารุงรักษาได้สะดวกกว่าเดิม
เทียนกงคลาส ครั้งที่ 4
รับชมการถ่ายทอดสดย้อนหลัง “ห้องเรียนสถานีอวกาศเทียนกง ครั้งที่ 4”▶ https://www.youtube.com/live/Gq0HNrU3L0I?si=GOEdyixkSA6Gv089 |
21 ก.ย. 66 เวลา 15.45 น. – ทีมนักบินอวกาศจีนบนสถานีอวกาศเทียนกงของจีนถ่ายทอดสดการบรรยายความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และอวกาศ ครั้งที่ 4 ในชุด “เทียนกง คลาส” (Tiangong Class) จะจัดโดยผู้บัญชาการ จิง ไห่เผิง, วิศวกร จู หยางจู และนักวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ กุย ไห่เฉา ทีมนักบินอวกาศประจําภารกิจเสินโจว-16 (Shenzhou-16) ในรูปแบบการสื่อสารทางอวกาศ-โลก ระหว่างลูกเรือในอวกาศและเยาวชนบนโลก
ทั้งนี้ นักบินอวกาศทั้งสามจะเชิญผู้ชมร่วมทำการทดลองพร้อมกัน เพื่อสํารวจความลับของจักรวาล รวมถึงจําแนกความแตกต่างระหว่างการทดลองบนโลกและในอวกาศ
ผลความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในอนาคต
ภาพ : China Manned Space Engineering Office
18 ส.ค. 66 – นายหลิน ซีเฉียง โฆษกองค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน (China Manned Space Agency: CMSA) คาดว่าสถานีอวกาศเทียนกงของจีนที่อยู่ในวงโคจรจะมีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญหลายรายการ รวมถึงจะได้รับผลความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์หลายด้านในอนาคต
นายหลิน กล่าวว่า เป็นที่คาดหวังว่าอวกาศเทียนกงจะสามารถสร้างการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา สสารมืด พลังงานมืด กาแล็กซี นิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ (AGN) ทางช้างเผือกและกาแล็กซีใกล้เคียง การก่อกำเนิดและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ ตลอดจนดาวเคราะห์นอกระบบ
วัตถุประสงค์ในการวิจัยระดับแนวหน้าของสถานีอวกาศ ได้แก่ การศึกษาต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล ธรรมชาติของสสาร และการมีชีวิตรอดระยะยาวของมนุษย์ในอวกาศ
แพลตฟอร์มการทดลองฟิสิกส์อะตอมในอุณหภูมิต่ำพิเศษของห้องทดลองด้านอวกาศของจีน จะสามารถทำให้ก๊าซเชิงควอนตัมเย็นจัดจนใกล้เคียงกับอุณหภูมิศูนย์สัมบูรณ์ ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้บนพื้นโลก
การวิจัยในวงโคจรเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ อวัยวะในชิป การตกผลึกของโปรตีน และการนํา นวัตกรรมมาสร้างสิ่งมีชีวิตหรือชีววิทยาสังเคราะห์ อาจนํามาซึ่งความเป็นไปได้ครั้งใหม่สำหรับเวชศาสตร์การฟื้นฟู สุขภาพ การรักษาแบบแม่นยํา และการค้นพบยา พร้อมเสริมว่าท้ายที่สุดแล้ว จะมีการติดตั้งเครื่องมือเกี่ยวกับการเพาะ พันธุ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและเครื่องมือด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (brain science) ในสถานีอวกาศด้วย