การประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง ครั้งที่ 3 

และการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนของนายกรัฐมนตรีไทย

ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง

(Belt and Road Initiative: BRI)

The Third Belt and Road Forum for International Cooperation

ความเป็นมา

ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) เป็นชื่อย่อของ “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21” (the Silk Road Economic Belt and the 21st Century Maritime Silk Road)

ในเดือนกันยายน 2556 ในระหว่างการเยือนคาซัคสถานของ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนได้แถลงเปิดตัวครั้งแรกถึงการริเริ่มโครงการ “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม” (One Belt and One Road) เส้นทางนี้ประกอบด้วยเครือข่ายถนนและเส้นทางรถไฟเชื่อมจีนกับยุโรปผ่านเอเชียกลาง และในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน นายสี จิ้นผิง เดินทางไปเยือนอินโดนีเซีย และกล่าวเปิดตัวโครงการ “เส้นทางสายไหมทางทะเล” ที่เชื่อมท่าเรือจีนกับท่าเรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และยุโรป ตลอดเส้นทางบกและเส้นทางทะเล จะมีการลงทุนปรับปรุงท่าเรือ และสร้างศูนย์การผลิตอุตสาหกรรมและการค้าขึ้น  ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2566 สาธารณรัฐประชาชนจีนลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ มากถึง 149 ประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ 29 แห่ง

“เส้นทางสายไหมใหม่” (New Silk Road) แบ่งเป็นเส้นทางสายไหมทางบก (Silk Road Economic Belt: One Belt) และเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road: One Road) มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจของทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเข้าด้วยกัน จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประชาคมโลก เนี่องจากเป็นนโยบายการพัฒนาทีมีมูลค่าสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา และเป็นนโยบายทีมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากที่สุดของโลก เพราะพาดผ่าน 6 ภูมิภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ เอเชียใต้ และยุโรป เมื่อรวมสถิติของทุกประเทศเข้าด้วยกันจะพบว่าประเทศต่าง ๆ ที่อยู่บนเส้นทางสายไหมใหม่มีประชากรรวมกันคิดเป็นร้อยละ 62.3 ของทั้งประชากรโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) รวมกันคิดเป็นร้อยละ 30 ของ GDP โลก และมีการบริโภค ภาคครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 24 ของ การบริโภคในครัวเรือนของทั้งโลก อีกทั้ง One Belt One Road จะเป็นโครงการที่ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด

หนึ่งแถบ

หนึ่งแถบ หรือ แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมใหม่ (New Silk Road Economic Belt) คือ เครือข่ายเส้นทางบกจากจีนไปยัง 6 ภูมิภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ เอเชียใต้ และยุโรป แบ่งการพัฒนาออกเป็น 6 เส้นทาง/ระเบียงเศรษฐกิจ ดังนี้

Six economic corridors of the Belt and Road Initiative Source:... |  Download Scientific Diagram

1. สะพานเศรษฐกิจยูเรเซียใหม่ (New Eurasian Land Bridge: NELB) เริ่มต้นจากท่าเรือ Lianyungang ในมณฑลเจียงซู สิ้นสุดที่เมือง Rotterdam ในยุโรปตะวันตก เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทางถนนจากจีนสู่ยุโรป

2. ระเบียงเศรษฐกิจจีน – มองโกเลีย รัสเซีย (China-Mongolia-Russia Economic Corridor: CMREC) เป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและถนน แบ่งออกเป็น 2 เส้นทางคือ (1) ปักกิ่ง เทียนจิน เหอเป่ย ผ่านมองโกเลีย เพื่อไปรัสเซีย และ (2) จากเมืองต้าเหลียน ไปยังเมือง Chita ของรัสเซีย

3. ระเบียงเศรษฐกิจจีน – เอเชียกลาง เอเชียตะวันตก (China-Central Asia-West Asia Economic Corridor: CCWAEC) เป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากคาบสมุทรอาหรับ ตุรกี และอิหร่าน เพื่อส่งไปยังเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

4. ระเบียงเศรษฐกิจจีน – คาบสมุทรอินโดจีน (China-Indochina Peninsula Economic Corridor: CICPEC) เชื่อมระหว่างเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ Pearl River (Pearl River Delta Economic Zone: PRD) กับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

5. ระเบียงเศรษฐกิจจีน – ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor: CPEC) เชื่อมจีนกับเอเชียใต้

6. ระเบียงเศรษฐกิจบังกลาเทศจีน – อินเดีย – พม่า (Bangladesh-China-India-Myanmar Economic Corridor: BCIMEC) เริ่มต้นจากเมือง Kashgar ของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ไปยังท่าเรือ Gwadar ของปากีสถาน

นอกจากนี้ ในระเบียงเศรษฐกิจที่ติดกับชายฝั่งยังเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเดียวกันกับเส้นทางเดินเรือทะเล ซึ่งแต่ละระเบียงเศรษฐกิจนอกจากจะมุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ได้แก่ ถนน รถไฟ ท่าเรือ และท่อส่งน้ำมัน นอกจากนี้ ในจุดศูนย์กลางการกระจายสินค้า สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ถูกสร้างหรือพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางการค้า เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ การข้ามแดน ศุลกากร เป็นต้น

ลำดับระเบียงเศรษฐกิจเส้นทางก่อสร้างประเทศที่เกี่ยวข้อง
1สะพานเศรษฐกิจยูเรเซียใหม่รถไฟ ถนนจีน (เขตปกครองพิเศษซินเจียง และเมืองเหลียนหยุนก่างใน มณฑลเจียงซู) คาซัคสถาน รัสเซีย เบลารุส และ 23 ประเทศในสหภาพยุโรป
2ระเบียงเศรษฐกิจจีน – มองโกเลีย รัสเซียรถไฟจีน (ท่าเรือเทียนจิน) มองโกลเลีย รัสเซีย
3ระเบียงเศรษฐกิจจีน – เอเชียกลาง เอเชียตะวันตกรถไฟจีน (เขตปกครองพิเศษซินเจียง) คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน          ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกี ยูเครน อาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย และรัสเซีย
4ระเบียงเศรษฐกิจจีน – คาบสมุทรอินโดจีนรถไฟ ถนน ท่าเรือจีน (Pearl River Delta) เวียดนาม ไทย ลาว กัมพูชา เมียนมา มาเลเซีย และสิงคโปร์
5ระเบียงเศรษฐกิจจีน – ปากีสถานรถไฟ ถนน ท่อส่งน้ำมันจีน (ซินเจียง) อินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน
6ระเบียงเศรษฐกิจบังกลาเทศจีน – อินเดีย – พม่ารถไฟ ถนน ท่าเรือบังคลาเทศ จีน (เมืองคุณหมิง มณฑลยูนนาน) อินเดีย เมียนมา 

หนึ่งเส้นทาง

หนึ่งเส้นทาง หรือ เส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21 (21st Century Maritime Silk Road) เป็นเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมจีนกับประเทศในมหาสมุทรต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยจีนได้พัฒนาท่าเรือหลัก 4 ท่า เพี่อรองรับเส้นทางสายไหมใหม่ ได้แก่ ท่าเรือฝูโจว (Fuzhou Port) ท่าเรือเฉวียนโจว (Quanzhou Port) ท่าเรือกว่างโจว (Guanzhou Port) ท่าเรือจ้านเจียง (Zhanjiang Port) ซึ่งแบ่งเส้นทางเดินเรือออกเป็น 2 เส้นทาง คือ

ชายฝั่งตะวันออกของจีน – ทะเลจีนใต้ – มหาสมุทรอินเดีย – อ่าวเปอร์เซีย – ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน – ยุโรป (Coastal China – South China Sea – Indian Ocean – Persian Gulf – The Mediterranean Sea – Europe)

ชายฝั่งตะวันออกของจีน – ทะเลจีนใต้ – มหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ (Coastal China – South China Sea – South Pacific Ocean)

ความแออัดช่องแคบมะละกาและการเป็นเขตอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ ซึ่งมีข้อพิพาทกับจีน ทำให้เส้นทางสายไหมทางทะเลเป็นเครื่องมือที่จะช่วยลดการพึ่งพาจากช่องแคบมะละกา จีนจึงให้ความสำคัญในการลงทุน/ประกอบการท่าเรือต่าง ๆ ตามเส้นทางสายไหมใหม่นี้ ในทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้ลงทุนในการสนับสนุนทั้งการสร้างท่าเรือใหม่ การพัฒนาศักยภาพท่าเรือที่มีอยู่เดิม รวมถึงเข้าไปลงทุนประกอบการเป็นจำนวนเงินกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ในท่าเรือต่าง ๆ ทั่วโลก ได้แก่

ท่าเรือทวีปประเทศมูลค่าการลงทุน(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
Gwadarเอเชียปากีสถาน198
Hambantotaเอเชียศรีลังกา1,900
Columbo Port Cityเอเชียศรีลังกา1,430
Columbo Portเอเชียศรีลังกา500
Port of Djiboutiแอฟริกาจิบูตี185
Lamuแอฟริกาเคนย่า484
Mombasaแอฟริกาเคนย่า66.7
Pireasยุโรปกรีช624
Antwerpยุโรปเบลเยี่ยม3.94
ประเทศสมาชิก “ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง” (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2566)
เอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (25)
สาธารณรัฐประชาชนจีนกัมพูชามองโกเลียไทยอินโดนีเซีย
ปาปัวนิวกินีพม่านิวซีแลนด์ติมอร์-เลสเตมาเลเซีย
เวียดนามฟิลิปปินส์ตองกาสิงคโปร์สาธารณรัฐเกาหลี
นีอูเอสปป.ลาวซามัวสหพันธรัฐไมโครนีเซียบรูไน
ฟิจิวานูอาตูหมู่เกาะคุกหมู่เกาะโซโลมอนคิริบาส
เอเชียกลางและยุโรป (35)
สหพันธรัฐรัสเซียเบลารุสสาธารณรัฐคีร์กีซมอลโดวามาซิโดเนียเหนือ
ฮังการีโรมาเนียอุซเบกิสถานคาซัคสถานบัลแกเรีย
สาธารณรัฐเช็กโปแลนด์เซอร์เบียสาธารณรัฐสโลวักตุรเคีย
อาร์เมเนียอาเซอร์ไบจานลัตเวียจอร์เจียแอลเบเนีย
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาโครเอเชียมอนเตเนโกรเติร์กเมนิสถานเอสโตเนีย
ลิทัวเนียสโลวีเนียยูเครนกรีซทาจิกิสถาน
โปรตุเกสอิตาลีลักเซมเบิร์กไซปรัสออสเตรีย
เอเชียใต้ (6)
ปากีสถานศรีลังกาเนปาลมัลดีฟส์บังคลาเทศ
อัฟกานิสถาน
ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (18)
อิรักสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์เลบานอนโมร็อกโกสาธารณรัฐเยเมน
คูเวตโอมานบาห์เรนลิเบียตูนิเซีย
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แอลจีเรียราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียจิบูตีสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
มอลตากาตาร์สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย
แอฟริกาตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา (44)
แคเมอรูนโซมาเลียคอโมโรสแอฟริกาใต้มาดากัสการ์
โกตดิวัวร์เคนยารวันดาเซเนกัลเซียร์ราลีโอน
แองโกลาเบนินบุรุนดีเคปเวิร์ดชาด
เอธิโอเปียกาบองแกมเบียกานากินี
มอริเตเนียโมซัมบิกนามิเบียไนจีเรียเซเชลส์
ซูดานใต้ซูดานแทนซาเนียโตโกยูกันดา
แซมเบียซิมบับเวอิเควทอเรียลกินีไลบีเรียเลโซโท
มาลีสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกบอตสวานาแอฟริกากลางกินี-บิสเซา
เอริเทรียมาลาวีคองโกไนเจอร์
ละตินอเมริกาและแคริบเบียน (21)
ปานามาอุรุกวัยตรินิแดดและโตเบโกแอนติกาและบาร์บูดาโบลิเวีย
กายอานาซูรินามโดมินิกาคอสตาริกาเกรเนดา
เวเนซุเอลาเอลซัลวาดอร์ชิลีเอกวาดอร์บาร์เบโดส
จาเมกาเปรูคิวบาสาธารณรัฐโดมินิกันนิการากัว
อาร์เจนตินา

กองทุนสนับสนุน

นอกจากจีนเป็นหัวเรือใหญ่ในการกำหนดยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่แล้ว จีนยังเป็นนายทุนที่สรรหาและเตรียมแหล่งเงินทุนไว้รองรับการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิกผู้เข้าร่วมด้วย เพราะศักยภาพในการพัฒนาของในแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ดังนั้น เพื่อขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างราบรื่น จีนได้จัดตั้งกองทุนและสถานบันการเงิน เพื่อรองรับการพัฒนาบนเส้นทางสายไหมใหม่โดยเฉพาะ 2 แห่ง ได้แก่ กองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund) และธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank: AIIB) 

1. กองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund)

กองทุนสายไหมใหม่ (Silk Road Fund Co., Ltd.) ก่อตั้งขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2557 ร่วมกันจัดตั้งโดยสถาบันการเงินหลักของจีน 4 แห่ง คือ สำนักงานบริหารเงินตราต่างประเทศแห่งชาติจีน (State Administration of Foreign Exchange) บริษัทเพื่อการลงทุนแห่งชาติจีน (China Investment Corporation) ธนาคารเพื่อการพัฒนาจีน (China Development Bank) และธนาคารเพื่อการส่งออกและการน่าเข้าแห่งประเทศจีน (China Development Bank and Export-Import Bank of China) กองทุนสายไหมใหม่ได้รับการออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ ในโครงการเส้นทางสายไหมใหม่ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา กองทุนสายไหมใหม่เข้าไปลงทุนในโครงการต่าง ๆ เช่น

  • โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ณ กรุงอิสลามาบัต ในปากีสถาน
  • บริษัทยาง Pirelli
  • จัดตั้ง China-Kazakhstan Production Capacity Cooperation Fund Co., Ltd. 
  • โรงก๊าซธรรมชาติเหลว (Yamal LNG) ในรัสเซีย
  • โรงงานผลิตน้ำสะอาดและพลังงาน ในอาหรับเอเมอร์เรต อียิปต์ และภูมิภาคใกล้เคียง

2. ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank: AIIB)

ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย เป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคี (Multilateral Development Bank) มีภารกิจสำคัญในการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานในเอเชีย สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง เริ่มดำเนินการในเดือนมกราคม 2559 AIIB เป็นสถาบันการเงินที่มีลักษณะคล้ายธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) 

ความร่วมมือ

The Belt and Road Initiative | Deloitte Insights

Source: Deloitte Insights

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 คณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีนประกาศใช้แผนปฏิบัติการตามเอกสารชื่อ “Vision and Actions on Jointly Building Silk Road Economic Belt and 21st-Century Maritime Silk Road” โดยความร่วมมือประกอบด้วย 5 ด้านหลัก ดังนี้ 

1. การประสานนโยบาย (Policy Coordination) ด้วยการสร้างกลไกประสานนโยบายในระดับต่าง ๆ กับประเทศที่ตั้งบนเส้นทางสายไหมใหม่ โดยทำความตกลงและโครงการร่วมกับประเทศต่าง ๆ และองค์กรระดับภูมิภาค

2. การเชื่อมโยงสิ่งอํานวยความสะดวก (Facilities Connectivity) ด้วยการส่งเสริมให้มีการก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น การขนส่งทางถนน พลังงาน รวมทั้งเครือข่ายด้านการสื่อสาร

3. การค้าที่ไม่มีข้อจํากัด (Unimpeded Trade) ด้วยการส่งเสริมการใช้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่ออํานวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุนของประเทศที่อยู่บนเส้นทางสายไหมใหม่ 

4. การบูรณาการทางการเงิน (Financial Integration) ด้วยการก่อตั้งสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank: AIIB) ของจีน และธนาคารเพื่อ   การพัฒนาใหม่ (New Development Bank: NDB) ของกลุ่มประเทศ BRICS5. การเชื่อมโยงประชาชน (People-to-people Bonds) ด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษา วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การดูแลสุขภาพ บริการทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]