อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เมืองวิทยาศาสตร์ภาคตะวันตก (เฉิงตู)

先行示范持续输出公园城市示范成果- 四川省人民政府网站

ภาพ : Ma Ji/Xinhua

เมืองวิทยาศาสตร์ภาคตะวันตก (เฉิงตู) (Western (Chengdu) Science City) ครอบคลุมพื้นที่ 361.6 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่รวบรวมโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ ประกอบด้วย 4 พื้นที่หลัก ดังนี้

1) เขตเศรษฐกิจใหม่ เป็นพื้นทีขององค์กรทางเศรษฐกิจใหม่และทีมนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นไปที่เศรษฐกิจใหม่และอุตสาหกรรมใหม่ เช่น การสื่อสาร 5G ปัญญาประดิษฐ์ การสร้างภาพและเสียงบนเครือข่ายและวัฒนธรรมดิจิทัล บิ๊กดาต้า และความปลอดภัยของเครือข่าย ได้สร้างเขตนำร่องนวัตกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลระดับชาติ และเขตนำร่องนวัตกรรมและการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์รุ่นใหม่ระดับชาติ

2) เมืองชีวภาพนานาชาติเฉิงตูเทียนฟู่ เป็นพื้นที่ของนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพและผู้ประกอบการ โดยมุ่งเน้นไปที่ยาเทคโนโลยีชีวภาพ อุปกรณ์การแพทย์ประสิทธิภาพสูง ยารักษาโรคที่แม่นยำ และสาขาอื่น ๆ โดยจะสร้างแพลตฟอร์ม เช่น ฐานสาธิตนำร่องสำหรับการถ่ายโอนและการเปลี่ยนแปลงความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญระดับชาติในการผลิตยาใหม่ที่สำคัญ

3) เมืองเทคโนโลยีแห่งอนาคต เป็นพื้นที่ของมหาวิทยาลัยนวัตกรรมระดับนานาชาติและองค์กรนวัตกรรม โดยเน้นการผลิตอัจฉริยะ การบินและอวกาศ และอื่น ๆ สร้างศูนย์วิทยาศาสตร์ประยุกต์ระดับโลก เขตสาธิตการผลิตอัจฉริยะในภาคตะวันตกของจีน และเมืองวิทยาศาสตร์และการศึกษานานาชาติเฉิงตู-ฉงชิ่ง

4) ฐานนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ เป็นพื้นที่ขององค์ประกอบระดับไฮเอนด์ของอุตสาหกรรมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาวงจรรวม จอแสดงผลใหม่ เทอร์มินัลอัจฉริยะ และอื่น ๆ สร้างซิลิคอนแวลลีย์แห่งใหม่ในจีน รวบรวมแพลตฟอร์มที่สำคัญ เช่น สถาบันวิจัยเฉิงตูของหัวเว่ย ศูนย์นวัตกรรมของจิงตง

เมืองวิทยาศาสตร์ภาคตะวันตก (ฉงชิ่ง)

Jinfeng Laboratory | 金凤实验室 | ichongqing

ภาพ : Western (Chongqing) Science City)

เมืองวิทยาศาสตร์ภาคตะวันตก (ฉงชิ่ง) (Western (Chongqing) Science City) ครอบคลุมพื้นที่ 1,198 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเขตสาธิตนวัตกรรมอิสระแห่งชาติ เขตนำร่องการค้าเสรี เขตเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งชาติ มหาวิทยาลัย 28 แห่ง เช่น มหาวิทยาลัยฉงชิ่ง ห้องปฏิบัติการหลักระดับชาติ 5 แห่ง นิคมอุตสาหกรรม 14 แห่ง โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ และบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูง 137 แห่ง

อุตสาหกรรมหลักมุ่งเน้นไปที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ เช่น วงจรรวม ปัญญาประดิษฐ์ บิ๊กดาต้า และ 5G  ด้านการผลิตขั้นสูง เช่น วัสดุน้ำหนักเบา การผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ และหุ่นยนต์อัจฉริยะ  ด้านสุขภาพ เช่น วัคซีนแอนติบอดี การรักษาทางชีวภาพ การวินิจฉัยภายนอกร่างกาย อุปกรณ์ทางการแพทย์  มุ่งเน้นอุตสาหกรรมด้านบริการเทคโนโลยีขั้นสูง 4 ด้าน คือ การบ่มเพาะการวิจัยและพัฒนา การตรวจสอบและการทดสอบ การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล โลจิสติกส์อัจฉริยะ ส่งเสริมการบูรณาการของห่วงโซ่อุตสาหกรรม นวัตกรรม ทักษะความสามารถ การเงิน และนโยบาย เพื่อสร้างต้นแบบคลัสเตอร์อุตสาหกรรมระดับโลก

โครงการสำคัญในพื้นที่ ได้แก่ อุทยานอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะฮั่นกู อุทยานเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ  ศูนย์คณิตศาสตร์ประยุกต์แห่งชาติ ศูนย์วิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยฉงชิ่ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ครบวงจรเฉิงหยู่ ศูนย์ข้อมูลขั้นสูง สถาบันวิจัยอุตสาหกรรมแม็กเลฟและฐานการผลิต สิ่งอำนวยความสะดวกการทดลองชั่วคราวที่รวดเร็วเป็นพิเศษ ห้องสมุดทรัพยากรประชากรธรรมชาติของจีนศูนย์ฉงชิ่ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฉงชิ่งของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน สถาบันวิจัยบิ๊กดาต้าฉงชิ่งของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ศูนย์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ฉงชิ่งของสถาบันเทคโนโลยีปักกิ่ง และบริษัทชั้นนำ เช่น Inventec, Quanta, SK Hynix, CR Micro, UMC, Zhien Pharmaceutical, CVTRI เป็นต้น

เขตนวัตกรรมความร่วมมือเหลียงเจียงฉงชิ่ง

ภาพ : Liangjiang New Area

เขตนวัตกรรมความร่วมมือเหลียงเจียงฉงชิ่ง (Chongqing Liangjiang Collaborative Innovation Zone) ตั้งอยู่ในเขตเหลียงเจียงใหม่ นครฉงชิ่ง มีพื้นที่ประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร ยึดมั่นการพัฒนารูปแบบ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี + อุตสาหกรรม” มุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมเกิดใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ เว็บ 3.0 และอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ก่อตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาระดับสูงระดับนานาชาติ และสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมแบบครบวงจร

เขตนวัตกรรมแห่งนี้ มีสถาบันวิจัยประมาณ 50 แห่ง รวบรวมผู้มีความสามารถด้านนวัตกรรมระดับสูงมากกว่า 3,000 คน ทีมนักวิชาการ 25 ทีม และแพลตฟอร์มวิจัยและพัฒนามากกว่า 140 แห่ง และมีสถานีวิจัยหลังปริญญาเอกระดับชาติทั้งหมด 5 แห่ง สถานีวิจัยหลังปริญญาเอกระดับเทศบาล 20 แห่ง และสถาบันวิจัยระดับสูงแห่งใหม่ระดับเทศบาล 21 แห่ง ได้รวบรวมองค์ประกอบนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น สถาบันวิจัยและพัฒนา องค์กรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทีมงานที่มีความสามารถ และสถาบันกองทุน อาทิเช่น

1) สถาบันเทคโนโลยีปักกิ่ง ศูนย์นวัตกรรมฉงชิ่ง (Beijing Institute of Technology Chongqing Innovation Center) พัฒนาและทดสอบรถยนต์บินได้อัจฉริยะแบบคนขับสองที่นั่งคันแรกของโลก

2) สถาบันบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์จีน (Chinese Academy of Engineering) วิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับโครงการไชน่าฟู่เหยียน (China Compound Eye)

3) มหาวิทยาลัยจี๋หลิน สถาบันวิจัยฉงชิ่ง (Jilin University Chongqing Research Institute) 4) สถาบันเทคโนโลยีฮาร์บิน สถาบันวิจัยฉงชิ่ง (Harbin Institute of Technology Chongqing Research Institute)

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]