1. ท่าอวกาศยาน Jiuchuan Satellite Launch Center ตั้งอยู่ในมณฑลมองโกเลียใน (Inner Mongolia) ท่าอวกาศยานนี้หลัก ๆ จะรองรับภารกิจอวกาศในวงโคจร LEO มีจรวดที่ปล่อยจากท่าอวกาศยานนี้ คือ LM-2C, LM-2D, LM-4, CZ-11 รวมถึงจรวด LM-2F สำหรับภารกิจส่งนักบินอวกาศ
2. ท่าอวกาศยาน Taiyuan Satellite Launch Center ตั้งอยู่ในมณฑลชานซี (Shanxi) ท่าอวกาศยานนี้ หลัก ๆ จะรองรับภารกิจอวกาศในวงโคจร SSO (Sun-Synchronous Orbit) โดยเฉพาะสำหรับดาวเทียม สำรวจและดาวเทียมสำหรับศึกษาทางวิทยาศาสตร์ มีจรวดที่ปล่อยจากท่าอวกาศยานนี้ คือ LM-1D, LM-2C/SD, LM-4A, LM-4B and LM-4C, LM-6
3. ท่าอวกาศยาน Xichang Satellite Launch Center ตั้งอยู่ในมณฑลเสฉวน (Sichuan) ท่าอวกาศยานนี้ หลัก ๆ จะรองรับภารกิจอวกาศในวงโคจร GEO โดยเฉพาะสำหรับดาวเทียมสื่อสารและดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ดาวเทียมนำร่อง Beidou ก็ส่งจากท่าอวกาศยานนี้ด้วย มีจรวดที่ปล่อยจากท่าอวกาศยานนี้ คือ LM-2C, LM-2E, LM-3A, LM-3B, LM-3C, LM-8
4. ท่าอวกาศยาน Wenchang Spacecraft Launch Center ตั้งอยู่ในมณฑลไหหลำ (Hainan) ท่าอวกาศ ยานนี้หลัก ๆ จะรองรับภารกิจส่งนักบินอวกาศและการสำรวจอวกาศ เช่นสำรวจดวงจันทร์และดาวอังคาร มีจรวดที่ปล่อยจากท่าอวกาศยานนี้ คือ LM-5, LM-7 คาดว่าจรวดขนาดใหญ่ที่จะมีในอนาคต เช่น LM-9 ก็จะใช้ท่าอวกาศยานนี้ด้วย
ทั้งนี้ ประเทศจีนมีระบบโครงข่ายสื่อสารเพื่อติดตามเส้นทางการโคจรและส่งชุดคำสั่งระหว่างสถานีภาคพื้นดินกับตัวจรวดหรือดาวเทียม (Telemetry, Tracking and Command System, TT&C) ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยมีสถานีหลักอยู่ที่ซีอาน (Xian Satellite Tracking and Control Center), ที่ปักกิ่ง (Beijing Space Flight Command and Control Center) รวมทั้งสถานีบนเรือ (China Satellite Maritime Tracking and Control) ที่มีอยู่ทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก แอตแลนติก และอินเดีย รวมถึงสถานีรับส่งสัญญาณในต่างประเทศเช่นที่ Kiruna ประเทศสวีเดน นอกจากนี้แล้วประเทศจีนยังมีระบบติดต่อสื่อสารสำหรับติดตามยานที่โคจรลึกไปในอวกาศ (Deep-Space Network) ที่ครอบคลุม โดยมีสถานีที่เมือง ปักกิ่ง, แคชการ์ (Kashgar), คุนหมิง (Kunming), ชิงเต่า (Qingdao), และ เจียมู่ซื่อ (Jiamusi) รวมถึงสถานีที่อยู่ในต่างประเทศ เช่น นามีเบีย และ อาร์เจนตินาด้วย