เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2567 นายติง เซวียเสียง สมาชิกถาวรกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรองนายกรัฐมนตรีจีนได้ประกาศให้ตลาดสำหรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากปริมาณก๊าซที่ลดได้และได้รับการรับรองโดยจีน (China Certified Emission Reduction: CCER) กลับมาเปิดอีกครั้ง โดยผู้เชี่ยวชาญจาก Trivium ตั้งข้อสังเกตว่า เครดิต CCER จะช่วยให้บริษัทสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดตามมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะเริ่มเก็บภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยก๊าซปริมาณมาก (emissions-intensive imports) จากประเทศที่มีมาตรฐานการปล่อยก๊าซต่ำกว่าสหภาพยุโรปในปี 2569 กล่าวคือ ผู้นำเข้าในสหภาพยุโรปจะสามารถใช้ CCER จากตลาดจีน เพื่อชดเชยภาระผูกพันของ CBAM ได้ ซึ่งจะส่งผลให้จีนสามารถระดมเงินทุนสำหรับนวัตกรรมและการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าประเทศได้มากขึ้น
แหล่งข้อมูล: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26135993
สำหรับผลการพัฒนาการของพลังงานสะอาดของจีน เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2567 สำนักงานพลังงานแห่งชาติจีน (NEA) แถลงว่า
(1) จีนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาพลังงานสะอาดของโลก โดยในปี 2566 กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่ติดตั้งใหม่ของโลกอยู่ที่ 510 ล้านกิโลวัตต์ ซึ่งมากกว่าร้อยละ 50 มาจากจีน
(2) ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าจากพลังงานลมและแสงอาทิตย์ของจีนได้ส่งออกไปยังมากกว่า 200 ประเทศ/ภูมิภาคของโลก
(3) นวัตกรรมด้านพลังงานสะอาดของจีนมีส่วนช่วยลดต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลมและแสงอาทิตย์ของโลก
(4) บริษัทจีนได้ลงทุนในโครงการพลังงานสะอาดในประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาพลังงานสีเขียวและคาร์บอนต่ำของประเทศที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกัน จีนยินดีต้อนรับการลงทุนของบริษัทจากประเทศต่าง ๆ ในจีน
นอกจากนี้ สถาบันวิจัย Centre for Research on Energy and Clean Air (CREA) วิเคราะห์จากข้อมูลของทางการจีนว่า ในปี 2566 ภาคส่วนพลังงานสะอาดสร้างรายได้ให้แก่จีน 11.4 ล้านล้านหยวน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จากช่วงเดียวกันของปี 2565) โดย
(1) มูลค่าการลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาดของจีนขยายตัวร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของปี 2565 สู่ระดับ 6.3 ล้านล้านหยวน สวนทางกับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัว สะท้อนบทบาทที่สำคัญของอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดต่อเศรษฐกิจและนโยบายอุตสาหกรรมของจีน
(2) หากจีนไม่มีภาคพลังงานสะอาด GDP ของจีนในปี 2566 จากเติบโตร้อยละ 5.2 จะเหลือเพียงร้อยละ 3 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของอัตราการเติบโต
แหล่งที่มาของข้อมูล
1. 潘慧敏:2023年全球可再生能源新增装机5.1亿千瓦,中国贡献超过50%
https://www.nea.gov.cn/2024-01/25/c_1310761971.htm
2. CCER credits for CBAM tariffs
https://triviumchina.com/2024/01/25/ccer-later-cbam-tariffs/
3. 全国温室气体自愿减排交易市场启动丁薛祥出席启动仪式
http://paper.people.com.cn/rmrb/html/2024-01/23/nw.D110000renmrb_20240123_8-01.htm?mc_cid=ffb6a786e3
4. Analysis: Clean energy was top driver of China’s economic growth in 2023
https://www.carbonbrief.org/analysis-clean-energy-was-top-driver-of-chinas-economic-growth-in-2023/