• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • เจียงซีเร่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาแร่ธาตุหายากสีเขียวอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม – thaibizchina

เจียงซีเร่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาแร่ธาตุหายากสีเขียวอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม – thaibizchina

จีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก คิดเป็นร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุ  หายากทั่วโลก ขณะที่มณฑลเจียงซีเป็นมณฑลแห่งแร่ธาตุหายากที่มีปริมาณสำรองมากเป็น 3 อันดับแรกของจีน และเป็นแหล่งที่มีปริมาณสำรองแร่กลุ่มไอออนมากที่สุดของจีน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของปริมาณสำรองแร่ไอออนทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองก้านโจวอุดมไปด้วยทรัพยากรแร่กลุ่มไอออน และได้รับการขนานนามว่าเป็น “อาณาจักรแห่งแร่ธาตุหายาก” โดยแต่ละปีมีปริมาณการผลิตแร่กลุ่มธาตุหายากหนักและกลางมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

นิคมคอุตสาหกรรมวัสดุใหม่แร่ธาตุหายากหลงหนาน เมืองก้านโจว ได้สร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ตั้งแต่ “การทำเหมือง – การสกัด – การแปรรูปเชิงลึก – การรีไซเคิลขยะจากการใช้งาน – การวิจัยและพัฒนา” เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมแร่ธาตุหายากสีเขียว โดยมีตัวอย่างวิสาหกิจชั้นนำ อาทิ บริษัท หัวโจ่ว จำกัด  ซึ่งเมื่อเดือนสิงหาคมของปี 2566 บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหนานชางเพื่อวิจัยเทคโนโลยีการรีไซเคิลเศษแร่ธาตุหายากและโลหะหายากอย่างครบวงจร ซึ่งถูกบรรจุในโครงการวิจัยและพัฒนาที่สำคัญระดับชาติประจำปี 2566 ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน

ไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และติด 1 ใน 10 แหล่งผลิตแร่ธาตุหายากอันดับต้น ๆ ของโลก จึงควรศึกษาและเรียนรู้แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัฒกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของมณฑลเจียงซี เพื่อประโยชน์สำหรับการพัฒนาแร่ธาตุหายากของไทยในอนาคต

    แหล่งอ้างอิง http://jx.people.com.cn/n2/2023/0820/c190181-40538082.htmlhttp://drc.jiangxi.gov.cn/art/2023/8/16/art_19282_4569312.html

zeng yuancheng Xiamen_editor

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]