ตามที่ประชุมคณะกรรมการการเงินและเศรษฐกิจแห่งชาติครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2563 ได้เสนอแนวการจัดตั้งเขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู-ฉงชิ่ง ตามแนวการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี เขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง – ฮ่องกง – มาเก๊า และเขตเศรษฐกิจปักกิ่ง – เทียนจิน – เหอเป่ย นั้น
เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564 รัฐบาลมณฑลเสฉวน ได้รายงานความคืบหน้าของการพัฒนาเขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู-ฉงชิ่งภายหลังการดำเนินการเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ด้านคมนาคม
1. รถไฟความเร็วสูงจากนครเฉิงตูไปยังนครฉงชิ่ง แต่เดิมใช้เวลาเดินทาง 78 นาที ปัจจุบันลดเหลือเพียง 62 นาที
2. เส้นทางด่วนเพิ่มขึ้นเป็น 13 สาย (จากเดิม 11 สาย) และภายในปี 2565 จะมีทางด่วนเพิ่มขึ้นรวม 17 สาย อาทิ ทางด่วนเชื่อมระหว่างเมืองต๋าโจวในมณฑลเสฉวนและเมืองว่านโจวในนครฉงชิ่ง สามารถรองรับการสัญจรทางรถยนต์เพิ่มขึ้นจาก 5.5 ล้านคัน ในปี 2560 เป็น 63 ล้านคัน ในปี 2563
3. เชื่อมต่อเส้นทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่ง โดยมีอัตราความเร็ว 350 กิโลเมตร/ ชั่วโมง (นครเฉิงตู – เมืองต๋าโจว – เมืองว่านโจว) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างเส้นทางเพิ่มเติม 6 สาย - ด้านอุตสาหกรรม
1. ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ อาทิ การสร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาระหว่างบริษัทยานยนต์และสถาบันวิจัยของนครเฉิงตูและนครฉงชิ่ง วิจัยการควบคุมเชื้อเพลิงสำหรับการขับขี่อัตโนมัติ วิจัยระบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ขับขี่กับระบบคอมพิวเตอร์ของยานพาหนะ
2. การบูรณาการความร่วมมือด้านแหล่งพลังงานไฮโดรเจน ร่วมสนับสนุนด้านการจัดหาเงินทุนแก่บริษัทต่าง ๆ ที่มีแหล่งพลังงานดังกล่าว ประยุกต์ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในยานพาหนะ จัดตั้งกลุ่มวิจัยในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และองค์กรต่าง ๆ ในนครเฉิงตูและนครฉงชิ่งเพื่อเป็นพื้นที่สาธิตการผลิตและจัดเก็บไฮโดรเจน
3. จัดตั้งศูนย์ให้ความรู้พิเศษด้านอุตสาหกรรมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยในเดือนกรกฎาคม 2563 สำนักเศรษฐศาสตร์และสารสนเทศของมณฑลเสฉวนได้และนครฉงชิ่งได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการส่งเสริมการพัฒนาของอุตสาหกรรมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ในเดือนกันยายน 2563 เขตพัฒนาอุตสาหกรรมจื้อกง มณฑลเสฉวน ได้ร่วมมือกับเขตอุตสาหกรรมฉีเจียง นครฉงชิ่ง สร้างแพลตฟอร์มในการพัฒนาอุตสาหกรรมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
5. สร้างพื้นที่สาธิตความร่วมมือการบูรณาระบบอินเทอร์เน็ตในอุตสาหกรรม
6. จัดตั้งเขตพัฒนาความร่วมมือด้านการผลิต - ด้านระบบขนส่งมวลชน ใช้รูปแบบ “การเดินทางในบัตรเดียว” สำหรับรถโดยสารประจำทางและรถไฟใต้ดิน ทั้งนี้ นคร เฉิงตูใช้แอปพลิเคชัน Tianfutong และนครฉงชิ่งได้ใช้แอปพลิเคชัน Chongqing mintong ในการใช้บริการขนส่งสาธารณะ
- โครงการร่วมระหว่างนครเฉิงตูและนครฉงชิ่งบรรลุผลแล้วกว่า 95 โครงการ อาทิ การบริการต่ออายุและทำบัตรประชาชน การดำเนินการด้านเอกสารราชการ การจดทะเบียนสมรส การย้ายถิ่นฐานระหว่างมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่ง
- มีการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างกันกว่า 30,000 คน
แหล่งที่มา เว็บไซต์ทางการของรัฐบาลมณฑลเสฉวน The People’s Government of Sichuan Province (ฉบับวันที่ 4 ม.ค. 2564) http://www.sc.gov.cn/10462/12771/2021/1/4/39bd57523abd4b4f87341b992fe6975c.shtml
webmaster
เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู