เมื่อวันที่ 28 – 30 พฤษภาคม 2564 ในการประชุมวิชาการครั้งที่ 20 แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences:中国科学院) การประชุมวิชาการครั้งที่ 15 ของสถาบันวิศวกรรมจีน (Chinese Academy of Engineering:中国工程院) และการประชุมแห่งชาติครั้งที่ 10 ของสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (China Association for Science and Technology:中国科协) ได้ประกาศรายชื่อพื้นที่นำร่องด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมจีนรอบที่ 2 (“科创中国”试点城市(园区) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเมือง รวบรวมทรัพยากรนวัตกรรมในประเทศและต่างประเทศ กระตุ้นนวัตกรรมท้องถิ่นเพื่อเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นและพัฒนาสังคมอย่างมีคุณภาพสูง โดยในมณฑลส่านซี มณฑลกานซู และเขตฯ หนิงเซี่ยหุยมีเมืองที่ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ เขตเมืองใหม่ซีเสียน (西咸新区) เขตเมืองใหม่หลานโจว (兰州新区) เมืองเทียนสุ่ย (天水) และนครหยินชวน (银川) โดยมีปัจจัยส่งเสริมให้ได้รับการคัดเลือกดังนี้
- เขตเมืองใหม่ซีเสียน ในปี 2563 จำนวนวิสาหกิจไฮเทคในพื้นที่ใหม่ซีเสียนได้เพิ่มขึ้น 1.13 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 และปริมาณธุรกรรมสัญญาด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 เป็นอันดับ 2 ในหมวดหมู่เขตเมืองใหม่ในประเมินเกณฑ์การการเป็นพื้นที่สาธิตนวัตกรรมคู่แห่งชาติ (全国双创示范基地评估)
- เขตเมืองใหม่หลานโจว นับจนถึงปี 2563 เขตเมืองใหม่หลานโจวได้ส่งเสริมการสร้างแพลตฟอร์มนวัตกรรมที่สำคัญ อาทิ การตั้งห้องปฏิบัติการระดับชาติทางวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ โดยมีการติดตั้งทางวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง แพลตฟอร์มนวัตกรรม 128 แห่ง และวิสาหกิจไฮเทคระดับชาติ 75 แห่ง ในปี 2563 การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 3.7 ของ GDP ทั้งเขตฯ การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาทางสังคมและมีส่วนสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อัตราสูงถึงร้อยละ 60
- เมืองเทียนสุ่ยมณฑลกานซู อุตสาหกรรมหลักคืออุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมดั้งเดิม ได้แก่ การผลิตเครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ยาและอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องมือเครื่อง CNC (CNC machine tools : 数控机床) บรรจุภัณฑ์และการทดสอบชิปอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic chip packaging and testing : 电子芯片封测) ตู้สวิตช์ไฟฟ้าแรงปานกลางและสูง (Medium and high voltage switchgear : 中高压开关柜) และระบบควบคุมการเจาะด้วยไฟฟ้า (Drill electrical control system : 钻机电控系统) ที่เป็นพื้นที่รองรับการลงทุนที่สำคัญ
- นครหยินชวน
4.1 มีจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรนวัตกรรมความร่วมมืออุตสาหกรรมวัสดุใหม่แห่งชาติ (หยินชวน) (中国(银川)新材料产业协同创新联盟) เพื่อดำเนินการด้านนโยบาย กำหนดเป้าหมายหล่วงหน้าเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ตั้งกองทุนโครงการ 40 ล้านหยวนเพื่อมุ่งเน้นการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมหลัก อาทิ วัสดุใหม่ อุปกรณ์ระดับไฮเอนด์ และอุตสาหกรรมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
4.3 ตั้งเป้าการดึงดูดแรงงานทักษะโดยเฉพาะผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เบื้องต้นมีผู้เชี่ยวชาญ 445 รายและองค์กรต่างๆ 170 แห่งเข้าร่วม
โดยสรุป เมืองที่ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองนำร่องทางด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมรอบที่ 2 ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญจากรัฐบาลกลางที่มุ่งนำวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมมาเป็นฐานหลักในการยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเมืองที่ได้รับการคัดเลือกนี้จะได้รับการสนับสนุนทางด้านงบประมาณและนโยบาย เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและการพัฒนาสังคมอย่างมีคุณภาพสูง ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็มีโครงการในลักษณะที่คล้ายคลึงกันคือโครงการเมืองอัจฉริยะ ใน 5 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ เชียงใหม่ ระยอง สงขลา ขอนแก่น และสระบุรี ซึ่งมีหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักคือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชากรและการนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการบริการด้านสาธารณสุข สอดคล้องกับการจัดตั้งเมืองนำร่องทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมของจีน ดังนั้น ในอนาคต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยอาจพิจารณาศึกษาโมเดลหรือแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ระหว่างกัน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของประเทศไทยต่อไป
แหล่งที่มา http://www.shaanxi.gov.cn/xw/sxyw/202106/t20210607_2178429.html , http://www.gs.xinhuanet.com/news/2021-06/04/c_1127528922.htm
https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_12991313 , https://new.qq.com/rain/a/20210602A0D46C00
webmaster
เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู