• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • กุ้ยหยาง “หาทางออกสู่ทะเล” เพิ่มทางเลือกขนส่งใหม่ให้ผู้ประกอบการ – thaibizchina

กุ้ยหยาง “หาทางออกสู่ทะเล” เพิ่มทางเลือกขนส่งใหม่ให้ผู้ประกอบการ – thaibizchina

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ท่าเรือคายหยางในนครกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว เปิดการเดินเรือขนส่งสินค้าไปยังนครฉงชิ่งเป็นครั้งแรก ประเดิมด้วยการใช้เรือขนส่งสินค้าขนาด 500 ตัน จำนวน 14 ลำ บรรทุกแร่ฟอสฟอรัสรวม 6,800 ตันออกเดินทางจากท่าเรือคายหยางล่องตามแม่น้ำอูเจียงขึ้นเหนือไปยังเขตฝูหลิงของนครฉงชิ่งเพื่อเชื่อมต่อกับแม่น้ำฉางเจียงหรือแม่น้ำแยงซีและไปออกทะเลที่นครเซี่ยงไฮ้ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางเลือกสำหรับการขนส่งสินค้าให้กับผู้ประกอบการในมณฑลกุ้ยโจวที่ต้องการ “หาทางออกสู่ทะเล” และหากเปรียบเทียบกับการขนส่งทางรถไฟแล้ว การขนส่งทางเรือในครั้งนี้สามารถลดต้นทุนได้ราว 7 หยวนต่อตัน

ในส่วนของท่าเรือคายหยางนั้น ตั้งอยู่ที่อำเภอคายหยางในนครกุ้ยหยาง ห่างจากตัวเมืองกุ้ยหยาง 81 กิโลเมตร และห่างจากนครฉงชิ่ง 590 กิโลเมตร เป็นท่าเรือที่สำคัญที่สุดในจำนวน 13 แห่งบนแม่น้ำอูเจียงตามแผนพัฒนาการขนส่งทางน้ำมณฑลกุ้ยโจวปี 2555-2573 และยังเป็นท่าเรือแห่งเดียวของนครกุ้ยหยางที่สามารถขนส่งสินค้าผ่านแม่น้ำเพื่อออกสู่ทะเล

สำหรับแม่น้ำอูเจียงถือเป็นแม่น้ำสาขาสายใหญ่หนึ่งใน 8 สายของแม่น้ำฉางเจียง และเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดของมณฑลกุ้ยโจว ได้ฉายาว่า “สายน้ำทองคำ” มีความยาวทั้งสิ้น 1,037 กิโลเมตร โดยเป็นความยาวในมณฑลกุ้ยโจว 802 กิโลเมตร ปัจจุบัน มีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำอูเจียงเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าในลักษณะขั้นบันไดที่ลดหลั่นตามระดับความสูงของแม่น้ำที่สร้างเสร็จแล้วจำนวน 11 สถานี และพัฒนาควบคู่ไปกับโครงการปรับปรุงร่องน้ำ ซึ่งทำให้การเดินเรือจากท่าเรือคายหยางไปถึงเขตฝูหลิงของนครฉงชิ่งสามารถรองรับเรือขนาด 500 ตันได้

ที่มา: http://www.gz.chinanews.com/jjgz/2021-11-17/doc-ihasytns9157284.shtml

กุ้ยโจว กุ้ยหยาง แม่น้ำ อูเจียง ทะเล ขนส่ง

webmaster

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]