- สถานการณ์เศรษฐกิจมณฑลเจียงซี
1.1 ภาพรวม มูลค่า GDP เท่ากับ 1.5 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 สูงเป็นอันดับ 15 ของประเทศ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยอัตราการเติบโตสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากมณฑลหนิงเซี่ย และมณฑลชานซี โดยแบ่งเป็นมูลค่าด้านการผลิตขั้นปฐมภูมิประมาณ 7.2 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 มูลค่าด้านการผลิตขั้นทุติยภูมิ 6.9 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 และมูลค่าด้านการผลิตขั้นตติยภูมิ 7.5 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 และการผลิตในภาคการเกษตร ป่าไม้ ปศุสัตว์ และประมงโตต่อเนื่อง มูลค่ารวมประมาณ 1.3 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1
1.2 มูลค่า GDP ของเมืองต่าง ๆ ในมณฑลเจียงซี 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) นครหนานชาง 3.4 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 คิดเป็นร้อยละ 22.5 ของมูลค่า GDP ทั้งมณฑล (2) เมืองก้านโจว 2.1 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 คิดเป็นร้อยละ 14 ของมูลค่า GDP ทั้งมณฑล และ (3) เมืองจิ่วเจียง 1.9 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 คิดเป็นร้อยละ 13 ของมูลค่า GDP ทั้งมณฑล
1.3 อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ สร้างรายได้ 1.75 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 โดยอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 และการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 ขณะที่มูลค่าเพิ่มของ อุตสาหกรรมเกิดใหม่เชิงยุทธศาสตร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 หรือร้อยละ 25.1 ของมูลค่าเพิ่มทั้งมณฑล อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 หรือร้อยละ 39.8 ของมูลค่าเพิ่มทั้งมณฑล และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 หรือร้อยละ 28.5 ของมูลค่าเพิ่มทั้งมณฑล ในจำนวนนี้ ปริมาณการผลิตของ อก. หลายสาขา เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาทิ อก. วงจรรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 124.6 อก. ยานยนต์พลังงานใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.5 และ อก. พลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.1
1.4 การลงทุน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 โดยแบ่งออกเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 /อุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 /อสังหาริมทรัพย์ ลดลงร้อยละ 6.9 /อก. ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 /การแพทย์และสุขภาพ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 และภาคการศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7
1.5 การบริโภค ยอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่ากว่า 8 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ในจำนวนนี้ ยอดการค้าปลีกทางระบบออนไลน์มีมูลค่าจำนวน 1.1 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.9 โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมและมีปริมาณการจำหน่ายสูงติดอันดับแรกของมณฑลเจียงซี ได้แก่ smart watch/ smart phone เสื้อผ้าและรองเท้า และยานยนต์ไฟฟ้า
1.6 รายได้ภาครัฐ มีมูลค่า 75 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 โดยรายได้เฉลี่ยที่นำไปใช้ ได้จริงของประชากรในเมืองได้จำนวน 21,255 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และรายได้เฉลี่ยที่นำไปใช้ได้จริงของประชากรในชนบทได้จำนวน 8,341 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9
- การค้า ตปท. ของมณฑลเจียงซีในครึ่งแรกของปี 2565
2.1 การค้า ตปท. เติบโตอย่างต่อเนื่อง มีมูลค่า 3.2 แสนล้านหยวน สูงเป็นอันดับ 15 ของประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 โดยอัตราการขยายตัวสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ โดยแบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 5 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.3 และการนำเข้า 7.2 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 โดยวิสาหกิจภาคเอกชนมีสัดส่วนมูลค่าการค้ากับ ตปท. คิดเป็นร้อยละ 75 ของมูลค่าการค้ากับต่างประเทศ ทั้งมณฑล
2.2 คู่ค้ารายใหญ่ 5 อันดับแรกของมณฑลเจียงซี ได้แก่ (1) กลุ่ม ปท. สมาชิก RCEP1 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 61 (2) อาเซียน 6.4 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 77 (3) สหรัฐฯ 3.8 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 (4) ยุโรป 3.2 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 และ (5) กลต. 2 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 54 ทั้งนี้ คู่ค้าที่มีมูลค่าการค้ากับมณฑลเจียงซีที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ได้แก่ (1) ฟป. 9.5 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 146 (2) อินเดีย 1.36 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 105 (3) สป. 7.1 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 138 และ (4) มซ. 1.1 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 88
2.3 สินค้าส่งออกหลักของมณฑลเจียงซี ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลไฟฟ้า 1.1 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 7.2 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานเข้มข้น 3 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม 1.47 หมื่นล้าน หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41 แบตเตอรี่พลังงานแสงอาทิตย์ 1.36 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 153 เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง 7.3 พันล้านหยวน ลดลงร้อยละ 6.5 ผลิตภัณฑ์เซรามิก 4.8 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร 2.2 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.2 และประทัด 1.35 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.6 และสินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลไฟฟ้า 2.6 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีขั้นสูง 2.1 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 วงจรรวม 1.6 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 และ แร่ทองแดง 6.8 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6
2.4 การค้าระหว่างไทยกับมณฑลเจียงซี เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีมูลค่าการค้าจำนวน 8.4 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 62 หรือร้อยละ 2.6 ของมูลค่าการค้า ตปท. ทั้งมณฑล โดยแบ่งการส่งออกไป ปทท. จำนวน 7 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 55 หรือร้อยละ 2.8 ของมูลค่าการส่งออกทั้งมณฑล และการนำเข้าจาก ปทท. จำนวน 1.3 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 109 หรือร้อยละ 1.8 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งมณฑล ส่วนสินค้าส่งออกหลักไปยังไทย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลไฟฟ้า 1.1 พันล้านหยวน เหล็ก 533 ล้านหยวน สารเคมีอนินทรีย์ 455 ล้านหยวน เสื้อผ้า 407 ล้านหยวน ผลิตภัณฑ์พลาสติก 361 ล้านหยวน และเฟอร์นิเจอร์ 346 ล้านหยวน และสินค้านำเข้าหลักจากไทย ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ 352 ล้านหยวน ทองแดงและผลิตภัณฑ์จากทองแดง 287 ล้านหยวน เครื่องจักรกลไฟฟ้า 122 ล้านหยวน ผักและผลไม้ 108 ล้านหยวน และผลิตภัณฑ์ยาง 34 ล้านหยวน
3. ข้อมูลเพิ่มเติม/ข้อสังเกต
3.1 แม้เศรษฐกิจโดยภาพรวมของมณฑลเจียงซียังพัฒนาไม่เท่าเมืองชายฝั่ง แต่อัตราการเติบโตทาง ศก. ในครึ่งแรกของปี 2565 พุ่งสูงเป็นอันดับ 3 ของ ปท. จากปัจจัยเกื้อหนุนด้านนโยบายของ รัฐบาลมณฑลเจียงซีในการเร่งขยายการค้าต่างประเทศ ส่งเสริมการค้ากับตลาดใหม่ ๆ โดยสนับสนุนการสร้างคลังสินค้าในต่างประเทศ และการค้าผ่าน อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน รวมทั้งการขยายการขนส่งทางรางผ่านการเปิดเส้นทางรถไฟสินค้าจีน – ยุโรปในหลายเมืองของมณฑล ทั้งนี้ จนถึงปัจจุบัน มูลค่าการค้าต่างประเทศของเจียงซีได้ขยายตัวจาก 1.2 แสนล้านหยวนในปี 2555 เป็น 3.2 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 167
3.2 รัฐบาลมุ่งเน้นการฟื้นฟูชนบทและลดช่องว่างทางรายได้ รว. ชาวเมืองและชนบทอย่างยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนา อก. ที่เป็นมิตรต่อ สวล. เช่น การส่งเสริมการขยายการก่อสร้างโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อบรรเทาความยากจนบนพื้นที่เนินเขาที่ห่างไกล รวมทั้งการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเรือนประชาชนในชนบท และการใช้ ปย. จากการมีพื้นที่ป่าสูงเป็นอันดับ 2 ของจีนในการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาทิ สมุนไพรจีน น้ำมันจากเมล็ดชา และไม้ไผ่ ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ส่งผลให้มณฑลเจียงซีพัฒนาจากการเป็นมณฑลที่ต้องเผชิญกับความยากจนกลายเป็นมณฑลที่มีช่องว่างทางรายได้ระหว่างเขตเมืองและชนบทน้อยที่สุด 10 อันดับแรกของจีน