เมื่อChallengeบนโลกออนไลน์ไทย ทำให้หวนนึกถึง กลยุทธ์ของแจ็คหม่าที่เสก “เทศกาลช้อปแหลกวันคนโสดของจีน” กลายเป็น “Challengeท้าทายโลกออนไลน์จีน” ที่ทุกคนพร้อมใจเข้าร่วม แบบ “รับคำท้าโดยไม่ต้องท้า”
—–
ตอนนี้จะเห็นว่าบนโลกสังคมออนไลน์ มีการโพสต์ Challenge “รับคำท้าจากเพื่อน” ให้ทำอะไรบางอย่สงเต็มไปหมด
ช่วงนี้อ้ายจงเองก็ได้รับการเชิญชวนให้ร่วม Challenge ใน Blockdit แอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ที่น่าสนใจมากในตอนนี้ เป็น challenge ในเราเขียนเกี่ยวกับ “เพจที่อ่านประจำ” มันทำให้อ้ายจงนึกถึง Challengeแคมเปญทำนองนี้บนโลกโซเชียลจีน ที่ชาวโซเชียลจีนก็มีคิดออกมาตลอด
.
ไม่ว่าจะเริ่มต้นบนแพลทฟอร์มไหน Weibo, Tiktok, Xiaohongshu แต่ถ้าปัง ก็จะกลายเป็น Viralวงกว้าง ซึ่งก็มีทั้งแบบสาระสร้างสรรค์ และดูเกรียนๆบ้าง อย่างChallengeในจีน ที่อ้ายจงจำได้แม่นๆก็ ถ่ายSelfieอวดขนจักแร้ของสาวจีน เป็นกิจกรรมท้าทายที่เปิดโลกมากเลยตอนนั้น
.
แต่ Challengeในโลกโซเชียล-ออนไลน์ของจีน ที่มีอิทธิพลในวงกว้าง ที่ทุกคนไม่ว่าจะเพศไหนวัยไหน ล้วนมีส่วนร่วม และเป็นแบบ รับคำท้าโดยไม่ต้องท้าด้วยนะ (ไม่ใช่ชื่อเพลงใหม่ของ Getsunovaนะ :-p ) นั่นคือ “การซื้อของออนไลน์ในเทศกาลคนโสด 11เดือน11” ที่ริเริ่มโดย แจ็คหม่า แห่งอาลีบาบา และกระจายไปทั่วทั้งจีน
.
“ทำไมเทศกาลช้อปวันคนโสดที่ริเริ่มโดยแจ็ค หม่า กลายมาเป็น Challenge ที่แทบทุกคนในจีนและตอนนี้ลามไปถึงทั่วทุกมุมโลก ต่างเข้าร่วม”
.
จากแค่ช้อปปิ้ง กลายเป็น Challenge และสัญลักษณ์ของเทศกาลคนโสดของจีน
นับตั้งแต่ปี2009 ที่แจ็คหม่า ได้ริเริ่มเทศกาลช้อปแหลก โดยในครั้งนั้นมียอดซื้อขาย50ล้านหยวน เทศกาลช้อปแหลกของเขาได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลคนโสด 11.11 ที่ทุกคนต่างพากันซื้อสินค้าผ่านระบบของเครืออาลีบาบา
.
“ซื้อมากซื้อน้อยไม่รู้ ขอได้ซื้อไว้ก่อน” เพราะมันกลายเป็น Challenge เสมือนเป็นเกมของเทศกาลนี้ไปแล้ว
และทุกคนยังรู้สึกด้วยว่า การช่วยให้เทศกาลคนโสดทำลายสถิติยอดขายภายใน24ชั่วโมง ของทุกปี มันเป็นการมีส่วนร่วมที่สุดจะภูมิใจ แถมยังเอาไปพูดคุยกับเพื่อนๆได้ว่า “เนี่ย เราจ่ายไปเท่านั้นเท่านี้ ได้สินค้าชิ้นนี้มาด้วยนะ แย่งซื้อทันด้วย และเนี่ยปีนี้สถิติยอดขายถูกทำลายอีกแล้ว ในยอดนั้นมีเงินของเราเท่านี้ด้วยแหล่ะ”
.
ตัวอ้ายจง เคยถามเพื่อนคนจีนว่า “ทำไมถึงต้องซื้อของในเทศกาลคนโสดด้วย เริ่มมีข่าวออกมาก็เยอะนะว่า ของบางอย่างก็ไม่ได้ลดราคาจริงๆ”
เขาบอกว่า “เวลาเราแย่งซื้อทันก่อนที่จะของจะหมด มันเป็นอะไรที่ภูมิใจมากเลยนะ”
.
ทุกคนพอจะเห็น Keyword อะไรบางอย่างจากคำตอบของเพื่อนอ้ายจงไหมครับ ผมว่าเราน่าจะเห็นตรงกันนะ สิ่งนั้นคือ “ความท้าทาย” “ความภูมิใจ” และ “ความมีตัวตน” ที่ได้เข้าร่วมในกิจกรรมนั้น ในทางการตลาด ถ้าเราทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า คุ้มค่าและได้มากกว่าเสีย เขาจะยอมจ่ายให้กับเราและจ่ายต่อไปเรื่อยๆ
.
และ หนึ่งในกลยุทธ์ที่ทาง”อาลีบาบา” นำออกมาใช้เพื่อกระตุ้นให้คนเข้าร่วมChallengeนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็ประมาณนี้
1. “มากกว่าช้อปปิ้ง คือความบันเทิงให้คลายเหงาในวันคนโสด ”
หากงานปีใหม่ของไทยนึกถึง Central World หรือสงกรานต์ต้องไปสีลมหรือถนนข้าวสาร งานรื่นเริงในช่วงเทศกาลคนโสดของจีน ก็คงต้องยกให้งานSingle day ของอาลีบาบา ในแต่ละปี แจ็คหม่า จะจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ และเชิญเหล่าคนดังระดับโลกมามากมาย คนดังทั้งจีนและต่างประเทศ ต่างเคยมางานนี้กันเพียบ ไม่ว่าจะ โคบี ไบรอันท์ ,เดวิดเบคแฮมก็มา , Scarlett Johansson
และในปี 2017 ก็เป็นหนึ่งในปีที่ทางอาลีบาบา ทำฮือฮาด้วยโปรเจคหนังกังฟูที่อำนวยการผลิตโดย เจ็ทลี และมี “แจ็คหม่า” ร่วมแสดงนำ พร้อมนักแสดงและคนดังมากมาย เป็นหนังสั้น 20 นาที ฉายวันโสด 11 เดือน 11
.
2. “Alibaba ทำให้เราพบว่า หันหน้าไปทางไหนก็เจอเทศกาลช้อปแหลกของอาลีบาบา ทั้งสังคมออนไลน์และสังคมจริง
อ้ายจงไม่แน่ใจว่า Alibaba ลงทุนในส่วนของโฆษณาและสื่อมากน้อยเพียงใด แต่ต้องบอกว่ามันคุ้มค่าทุกเม็ดเงินจริงๆ ตั้งแต่อยู่จีนครั้งแรกในปี2011 พอใกล้ช่วงเทศกาลคนโสด จะเห็นป้ายโฆษณาช้อปแหลกของTmall, Taobao อยู่ในทุกๆที่ ทั้งป้ายรถเมล์, รถไฟใต้ดิน, ออนไลน์ คือเข้าถึงหมด
และนับตั้งแต่โลกสังคมออนไลน์เป็นที่นิยม ก็กลายมาเป็นเครื่องมือหลักของอาลีบาบาในการโปรโมทเทศกาลนี้ ที่ในพักหลัง กลายเป็นผู้คนในสังคมออนไลน์เองที่เป็นกระบอกเสียงคอยโปรโมทให้ เพราะอย่างที่บอกในข้อ 1 มันกลายเป็นสัญลักษณ์ในเทศกาลคนโสดไปแล้ว
.
3.”ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อระบบอีคอมเมิร์ชของจีน”
ต้องยอมรับว่าระบบอีคอมเมิร์ชของเจ้าต่างๆในจีน มีความน่าเชื่อถือสูง อาจเป็นเพราะเขาพัฒนาเรื่อยๆ ลองผิดลองถูกกันมาหลายปี จนประชาชนมีความเชื่อมั่น ระบบโลจิสติกส์ ขนส่งสินค้าในจีน ถือเป็นน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่ากับอีคอมเมิร์ชจีนเลย โตมาด้วยกัน ต่างฝ่ายต่างเอื้อประโยชน์ให้แก่กัน
.
4. ไม่มีคำว่าหยุดนิ่งสำหรับ Alibaba”
ในเทศกาลคนโสด แต่ละปี Alibaba มักจะเปิดตัวเทคโนโลยี และฟีเจอร์ใหม่ๆ ใน แพลทฟอร์มของเขา สำหรับปี 2016 Alibaba เริ่มนำเทคโนโลยีVR (Virtual Reality) เข้ามาใช้ในการจับจ่ายใช้สอยบนโลกออนไลน์เป็นครั้งแรก
โดยเปิดให้นักช้อปสามารถซื้อ VR Cardboard ในราคาเพียง1หยวน เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าสู่โลกเสมือนจริงได้ เสมือนว่าเรากำลังช้อปปิ้งในห้าง เมื่อเจอสินค้าแบรนด์ใดน่าสนใจ ก็ดูและสามารถกดซื้อได้เดี๋ยวนั้นเลย เหมือนเราอยู่ ณ ที่นั้นจริงๆ
เท่านี้ยังไม่หมด Alibaba ยังทำ Live สด ให้กลายเป็นการซื้อสินค้าแบบเรียลไทม์เช่นกัน อย่าง งานแฟชั่นโชว์ “See Now, Buy Now” ที่จัดโดย Tmall.com ในเครือ Alibaba ที่เซี่ยงไฮ้ ผู้ชมสามารถชมได้สดๆผ่าน Livestream และสามารถเห็นสั่งซื้อสินค้าของแบรนด์ที่เดินแฟชั่นได้เลย
—–
ไม่ว่าคุณจะชอบอะไร ขอให้ไปให้สุด และสนุกที่ได้ทำ อย่าหยุดที่จะทำ – นี่เป็น Challengeชีวิต ที่ผมอยากให้ทุกคนได้ทำครับ “แค่ทำในสิ่งที่ตนเองชอบ”
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #การตลาดจีน
ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง