• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • WHY CHINA? “จีนเปลี่ยนผมให้ STRONG” บันทึกประสบการณ์ในจีนและวิธีการรับมือจาก “กา…

WHY CHINA? “จีนเปลี่ยนผมให้ STRONG” บันทึกประสบการณ์ในจีนและวิธีการรับมือจาก “กา…

WHY CHINA? “จีนเปลี่ยนผมให้ STRONG”
บันทึกประสบการณ์ในจีนและวิธีการรับมือจาก “การดูถูก” และ “เหตุการณ์ไม่ดี” ที่เกิดขึ้น ขณะอยู่ต่างแดน

—–

***ก่อนอ่านโพสต์นี้ ขออนุญาตเขียนข้อชี้แจงว่า คือ โพสต์นี้เป็นการเล่าในเคสที่ไม่ค่อยดีนัก ที่เจอมาด้วยตนเองสมัยใช้ชีวิตในจีน จุดประสงค์คือต้องการให้เป็นข้อคิด

“ไม่ใช่การเหมารวม” เพราะระบุไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า เป็นเรื่องที่เราเจอจาก “บางคน”
ที่เล่า เพราะอยากให้เป็นข้อคิดว่า หากเราเจอแบบนี้ เราควรจัดการกับความคิด ความรู้สึกเราอย่างไร? ซึ่งจริงๆแล้วคนจีนที่ดีดีมีเยอะมาก ดั่งที่ได้เห็นในเพจนี้ จะเขียนเล่าเรื่องคนจีนตลอด ***

เป็นบันทึกที่เขียนเมื่อปี2017 ตอนนั้นอยู่จีนเป็นเวลากว่า 6 ปี ตลอดเวลาที่อยู่จีน จะเจอกับเรื่องราวมากมายที่คนจีนพูดถึงไทย ทั้งดีและไม่ค่อยดี ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะทุกสิ่งย่อมมีหลายมุม

และจีนเป็นประเทศที่มีประชากรหลักพันล้านคน แน่นอนว่า มีควาาหลากหลายทางความคิด นิสัยใจคอของคน ที่เราจะได้เจอ “นี่คือข้อดีข้อหนึ่งที่ผมค้นพบขณะอยู่จีน จีนทำให้ผม STRONG”

—–

มีอยู่วันหนึ่ง อ้ายจงไปซื้อของที่ร้านค้าร้านหนึ่งแถวมหาวิทยาลัยที่อยู่ไม่ไกลจากที่พักอ้ายจงนัก

เจ้าของร้านชาวจีน ถามว่า

“เป็นคนที่ไหน?” อ้ายจงตอบไปว่า “คนไทย”

คนจีนคนนี้เงยหน้ามองอยู่สักแป๊บ และพูดออกมาว่า “泰国小国家 – ประเทศไทยประเทศเล็กๆ”

ความรู้สึกคือตอนนั้น ได้แต่ยิ้มออกมา และคิดในใจว่า เขาคงหมายถึงว่าพื้นที่ประเทศไทยนั้นเล็กล่ะมั้ง

แต่คนจีนคนนี้ก็ยังไม่หยุด ทำเสียงแบบดูถูกหน่อยๆ (อันนี้ไม่ได้คิดไปเองนะครับ 55)

และถามมาว่าอยู่จีนมากี่ปี ก็บอกไปตามความจริง ว่า 6 ปี เจ้าของร้านจึงพูดมาประมาณว่า

“อยู่ตั้งนาน ไม่จบอีกหรือ? ”

จนแฟนเจ้าของร้าน พูดแก้ต่างให้ว่า “มา 6ปี น่าจะเรียนปโทปเอกใช่ไหมล่ะ?”

อ้ายจงจึงบอกว่า ก่อนหน้านี้เรียนโทที่ปักกิ่ง พอได้ยินคำว่า “ปักกิ่ง” ตัวเจ้าของร้าน น้ำเสียงเปลี่ยน และพูดออกมาในทำนองที่ดีกว่าเดิม ชื่นชม คือต้องยอมรับว่าคนจีนบางคน ดูถูกคนจีนด้วยกันเองด้วยซ้ำ ยกย่องคนเมืองใหญ่

นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่เจอทำนองนี้ ก่อนหน้านี้ ก็เคยเจอคนจีนคนหนึ่งพูดกะบผมว่า “มาจากประเทศไทย ประเทศที่จนจน (จนกว่าจีน) น่ะหรอ?”

แต่ที่เจอบ่อยสุด คือเจอคนจีนพูดจาล้อเลียนสำเนียงที่ไม่ชัดของเรา อย่างอ้ายจง ขอยอมรับตรงนี้เลยว่า มีปัญหา “ติดอ่าง และพูดไม่ชัด” ตั้งแต่เกิด ก็พยายามแก้ไขมาโดยตลอด แต่มันก็จะโดนเหยียบย่ำหน่อยๆจากบางคนอยู่บ้าง เช่น ไปซื้อของที่ร้านขายของ เคยมีคนจีนทำท่าทางติดอ่าง พูดไม่ชัดแบบเรา เพื่อล้อเลียน

เวลาเจอเรื่องไม่ดี ความรู้สึกเราก็จะแย่เนอะ แต่ก็ต้องขอบคุณเขานะ ที่ทำให้ผมมีพลังที่เอาชนะติดอ่างได้

หลายคนที่เจอเหตุการณ์แบบที่ผมเล่า น่าจะเกิดอาการ “โมโห” อย่างแน่นอน

ใช่ครับ ผมเองก็โมโห มากๆด้วย แต่พยายามนิ่ง

การที่เรา “นิ่ง” มันทำให้คิดได้ว่า ก่อนหน้านี้เราเองก็อาจเผลอที่ดูถูกคนอื่นโดยไม่รู้ตัวเหมือนกันะ อย่างเช่นประเทศเพื่อนบ้านเรา ดังนั้นมันทำให้เราได้ทบทวนได้มองโลกกว้างมากขึ้น และได้เห็นข้อผิดพลาดตนเองแบบที่เราอาจไม่รู้มาก่อนเช่นกัน

เราไม่สามารถห้ามความคิดใครได้ แต่เราจัดการความคิดตัวเราเองได้ และก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความคิดไม่ดี ก็เหมือนเหรียญสองด้าน คนจีนเองที่ดีดี เคารพผู้อื่นก็มีเยอะมากๆ ที่ไม่ดีก็แค่ส่วนน้อยครับ 🙂

พวกเราทุกคนย่อมแตกต่างกัน แต่อยู่ร่วมกันได้บนโลกใบนี้ด้วยการทำความเข้าใจ เคารพซึ่งกันและกัน

ณ ตอนนั้น ขณะใช้ชีวิตในจีน ผมก็ได้แต่คิดและเปลี่ยนสิ่งไม่ดีที่ได้รับ ให้กลายเป็นแรงบันดาลใจใหม่ ที่จะทำให้ทุกคนได้เห็นว่า

“คนที่มาจากประเทศเล็กๆ ประเทศนี้ ก็สามารถทำสิ่งใหญ่ๆได้” จะตอบโต้คนที่มีความคิดไม่ดี ด้วยความคิดที่ดีของเรา ด้วยการกระทำที่เป็นประโยชน์ โดยปราศจากความรุนแรงและการทำร้าย ไม่ว่าจะทางความคิด ทางกาย วาจา

ทำให้หล่อหลอมเป็น “อ้ายจง” ในทุกวันนี้

ผมเลยชอบที่แบ่งปันประสบการณ์ และส่งต่อความรู้เท่าที่คนคนนี้จะทำได้ ให้แก่ผู้อื่น โดยเชื่อว่า “สิ่งเล็กๆที่จะทำ อาจมีผลที่ดีต่อคนอื่นไม่มากก็น้อย”

ทั้งนี้ขอฝากเอาไว้ว่า การดูถูกคนอื่นเพื่อทำให้ตนเองรู้สึกดี มันเป็นอะไรที่แย่นะครับ เราเองก็คงแย่ถ้าคนอื่นทำต่อเรา ดังนั้นอย่าทำต่อใครนะครับ 🙂

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]