• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • “จุดเด่นในการทำธุรกิจของคนจีน” กับคำถามที่หลายคนยังสงสัย “จินตนาการสำคัญกว่าควา…

“จุดเด่นในการทำธุรกิจของคนจีน” กับคำถามที่หลายคนยังสงสัย “จินตนาการสำคัญกว่าควา…

“จุดเด่นในการทำธุรกิจของคนจีน” กับคำถามที่หลายคนยังสงสัย “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้จริงหรือ?”

—–

อ้ายจงขอเล่าข้อคิดและเรื่องราวการทำธุรกิจ จากประสบการณ์ของอ้ายจงที่มีโอกาสได้ร่วมงานและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ที่มีประสบการณ์ในแวดวงต่างๆ กันบ้าง

เราเคยได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์และผู้สร้างสรรค์ผลงานระดับโลก กล่าวไว้ว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้”

.

เคยสงสัยหรือไม่ว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้จริงหรือ?”

เรามักจะเห็นการหยิบยก จินตนาการสุดล้ำ-การคิดนอกกรอบ มาเป็นที่มาต้นกำเนิดของ “นวัตกรรม” ที่มีชื่อเสียงตั้งแต่อดีตจนถึงยุคปัจจุบัน อย่างเช่น โซเชียลมีเดีย Facebook

Facebook เกิดจากจินตนาการ-ไอเดียที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาโดยมีภาพของ “ศูนย์กลางให้เพื่อนที่อยู่มหาวิทยาลัยเดียวกันได้รู้จักและคุยกันบนนั้น” ปรากฏว่า จินตนาการนั้นได้เกิดขึ้นจริง และยังไปไกลเกินกว่าที่จินตนาการไว้เสียอีก

.

หรืออย่าง Blockdit ที่ถือเปฌนอีกหนึ่งสังคมออนไลน์สัญชาติไทยที่มาแรง ณ ขณะนี้ ที่มีไอเดียต้องการสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันความรู้ และเป็นสังคมแห่งปัญญาชน สร้างOriginal content แบ่งปัน พูดคุย อย่างมีคุณภาพ ซึ่งบอกตามตรงว่า ตอนที่ยังคงเป็นเพียง ไอเดีย คงมีคนจำนวนไม่น้อยรู้สึก

“นามธรรมสุดๆ อุดมคติมากๆ จะทำได้จริง?”

ก็นั่นแหล่ะครับ ถ้าเรามี จินตนาการ เพียงอย่างเดียว จะสำเร็จได้หรือ? คำถามนี้ คงมีหลายคนส่ายหน้า แล้วบอกว่า “ต้องลงมือทำ”

.

ใช่แล้วครับ หากมัวแต่คิด แต่ไม่ลงมือทำ มันก็คงเป็นแค่จินตนาการหรือไอเดียที่เพ้อฝัน “Idea is Cheap แต่ Action is expensive” นะครับ เพราะไอเดีย มันมีความน่าจะเป็นที่คนมากกว่า1คนจะคิดเหมือนกันได้ ใครลงมือก่อน นั่นคือคีย์

การลงมือทำถ้าอาศัยแต่เพียงเดินตามจินตนาการโอกาสที่จะสำเร็จ คงน้อยลงเยอะ ถ้าปราศจาก “ความรู้และทักษะความสามารถ” คุณคงไม่ปฏิเสธข้อนี้นะครับ เหมือนเวลาเรามีจินตนาการว่า เราขับเครื่องบินได้ หากจู่ๆไปขับเลย โดยไม่มีความรู้และทักษะในการขับ ก็มีแต่ตายกับตายอย่างเดียว แม้แต่ปาฏิหาริย์ยังอาจจะโบกมือลาขอเอาตัวรอดไปก่อนแบบพระรอด แต่คนไม่รอด

.

อ่านมาถึงตรงนี้ พอจะเห็นภาพอะไรไหมครับ?

ไม่ต้องคิดนาน ผมเฉลยเลยละกัน

ผมกำลังพรรณนาให้เห็นว่า จินตนาการและความรู้ มันไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าอะไร

“ทั้งสองสิ่งล้วนสำคัญ”

แต่ทำงานคนละสถานการณ์ และทำงานควบคู่กันไป

.

กล่าวคือ บางสถานการณ์เราจำเป็นต้องใช้ไอเดีย-จินตนาการที่บรรเจิด เช่น การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ฉีกแนวจากเดิม เพื่อเปิดตลาดใหม่ เอาตัวรอดจากยุค Disruption แต่พอคิดไอเดียได้แล้ว ขั้นตอนสำคัญที่ทำออกมาให้เป็นรูปธรรม หรือการ Implement ขั้นตอนนี้นี่แหล่ะ ที่ต้องมี “ความรู้” เข้ามาเกี่ยวข้อง

การทำธุรกิจก็เช่นกัน หากเราโฟกัสแต่คิดไอเดียฉีกกรอบ ยึดติดแต่ไอเดียนั้น วิเคราะห์บนพื้นฐานความพอใจของเราเพียงอย่างเดียว โดยปราศจากความรู้ ก็ต้องขอทำนายล่วงหน้าเลยว่า “เจ๊ง100%”

.

ตัวอย่างของความคิดสุดล้ำแต่เจ๊งไม่เป็นท่า มีให้เห็นอยู่ทุกวัน ถ้าไม่อยากเป็นแบบนั้น “จง Balance จินตนาการและความรู้ให้ดี” ที่สำคัญ “อย่ามัวแต่คิด แต่ลงมือทำ โดยเฉพาะหาความรู้เพื่อทำไอเดียของเราเป็นจริงขึ้นมา”

.

และเมื่อเขียนมาถึงตรงนี้แล้ว มันก็ทำให้อ้ายจงหวนนึกถึงประสบการณ์การดีลธุรกิจและทำงานร่วมกับคนจีน จึงได้เห็นจุดเด่นข้อหนึ่งของคนจีนเหล่านั้น

จุดเด่นที่ว่า ล้วนอยู่ในเรื่องราวที่อ้ายจงเล่ามาทั้งหมด

คนจีนจำนวนไม่น้อย “Balance ไอเดียและความรู้ ได้เป็นอย่างดี ด้วยการ ลงมือทำให้ไวที่สุด ตามสถานการณ์ที่เกิดตรงหน้า และมั่นใจว่า สามารถเริ่มได้จริงบนไอเดียนั้น”

.

ผมเคยคุยกับนักธุรกิจจีนหลายคน รวมถึงอ่านชีวประวัตินักธุรกิจจีนที่ประสบความสำเร็จมากมาย พบสิ่งที่เจอเหมือนๆกันจากคนกลุ่มนี้

“มีไอเดียแล้ว ประเมินความเป็นไปได้ (ประเมินความรู้ที่มี) แล้วลงมือทำเลย”

จากนั้นค่อยเรียนรู้และปรับแก้ไอเดียกันไป จากสิ่งที่ได้ระหว่างทางของการลงมือทำ

นี่คือเหตุผลว่า ทำไมจีนถึงผลิตสิ่งต่างๆออกมาได้ และตั้งนโยบาย Made in China 2025 เพราะเขากล้าที่จะลงมือทำทันที ควบคู่ไปกับการเรียนรู้และแก้ไข ปรับแก้ไอเดียที่คิดขึ้นในขั้นแรก จนงานออกมาได้จริง

.

และนี่ก็เป็นเหตุผลอีกล่ะว่า ทำไมเมื่อก่อนนี้ เรามักบอก “สินค้าจีนไม่มีคุณภาพ แต่จีนออกสินค้าแต่ละชิ้นมาได้ไวมาก และล้ำหน้ามากด้วย แต่พอผ่านไปสักระยะ คุณภาพก็ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด”

สาเหตุไม่มีอะไรมากไปกว่า “มีไอเดีย ประเมินความรู้ว่าทำได้ไหม ลงทือทำเลย แล้วเก็บเกี่ยวความรู้เพิ่ม+แก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้นระหว่างการทำ”

พอย้อนมองมาที่ตัวผมเอง หรือคนรอบข้างหลายคน มักมีแต่ “ไอเดีย” หรือ “มีแต่ความรู้ ส่วนใหญ่จะเป็นทฤษฎี ที่ไม่รู้ทำได้จริงไหม” ก็เลยไม่กล้าลงมือทำ เพราะมักมีข้ออ้าง ข้อขีดแย้งไปมาระหว่าง “ไอเดีย” และ “ความรู้” อยู่เสมอ

—–

อ่านจบแล้ว ผมหวังว่าทุกคนจะกล้าลงมือทำและBalance จินตนาการ-ไอเดีย กับ ความรู้ ของตนเอง ได้ดีขึ้นนะครับ

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #เล่าธุรกิจ

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]