“Travel Bubble” แนวทางปรับตัวสู่การท่องเที่ยวในยุค New Normal ถึงเวลาที่นานาประ…


“Travel Bubble” แนวทางปรับตัวสู่การท่องเที่ยวในยุค New Normal

ถึงเวลาที่นานาประเทศต้องจับมือกันเพื่อพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

.

แม้ว่าสถานการณ์ COVID ในไทยจะส่งสัญญาณในทางที่ดี แต่อีกหลายประเทศยังคงอลหม่านกับการระบาดรอบสองเช่น ประเทศเกาหลีใต้ จึงเกิดคำถามว่า ถ้าไทยพร้อมแล้วประเทศอื่นยังไม่พร้อม การท่องเที่ยวระหว่างประเทศจะไปต่อได้อย่างไร?

.

วันนี้ขอพาทุกคนไปรู้จักกับ Travel Bubble ทางออกของการท่องเที่ยวในยุค New Normal

.

“Travel Bubble คืออะไร?”

Travel Bubble คือ การร่วมมือกันของกลุ่มประเทศที่เอื้อให้มีการท่องเที่ยวภายในกลุ่มโดยไม่ต้องกักตัว เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยว โดยลดความเสี่ยงจากการระบาดให้มากที่สุด แต่ละประเทศสามารถประเมินความเสี่ยงของอีกฝ่าย และใช้การเจรจาเพื่อพัฒนาแนวทางร่วมกัน แต่ Travel Bubble นั้นไม่ง่าย และไม่ได้หมายความว่าเราจะท่องเที่ยวได้โดยอิสระเหมือนแต่ก่อน เพราะแต่ละประเทศก็มีกฎระเบียบแตกต่างกันไป

.

อย่าง สิงคโปร์ และ จีน ที่ใช้นโยบาย Fast Lane อำนวยความสะดวกให้การเดินทางเพื่อธุรกิจ (business travel)โดยเฉพาะ แต่มีเงื่อนไขค่อนข้างซับซ้อน เป็นต้นว่า นักเดินทางต้องได้รับจดหมายเชิญจากบริษัท ต้องมีใบรับรองสุขภาพจากประเทศต้นทาง และ ต้องตรวจเชื้ออีกครั้งที่ประเทศปลายทาง แม้จะต้องมีเอกสารรับรองมากมาย แต่ข้อดีคือไม่ต้องกักตัว 14 วัน ทำให้สามารถทำธุรกิจได้เร็วขึ้นมาก ส่งผลให้ประเทศทั้งสองเดินหน้าต่อได้

.

ความสำเร็จของ Travel Bubble ยังขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละประเทศ หากเตรียมการไม่ดี ก็อาจจะทำให้เกิดการระบาดรอบสองได้

.

ตัวอย่างเช่น Trans-Tasman Travel Bubble ระหว่างประเทศนิวซีแลนด์ และออสเตรเลียซึ่งมุ่งที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศผ่านการท่องเที่ยว แต่ก็ติดที่กฎหมายที่ต่างกัน โดยฝั่งนิวซีแลนด์ตั้งคำถามว่า ออสเตรเลียจะควบคุมไม่ให้นักท่องเที่ยวเดินทางออกนอกเขตเมืองที่กำหนดได้อย่างไร ? เพราะหากการควบคุมไม่ได้ผล ก็มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้เกิดการระบาดรอบสอง Trans-Tasman จึงถูกเลื่อนออกไปจากเดือน กรกฎาคม เป็นเดือน กันยายน ทั้งที่ทั้งสองเป็นประเทศแรก ๆ ที่หยิบแนวคิดนี้มาใช้

.

อย่างไรก็ตาม Travel Bubble ถือเป็นแนวทางที่ดูเป็นไปได้มากที่สุดในขณะนี้ เพราะไม่มีประเทศไหนอยากปิดประเทศไปนานกว่านี้ ไทยเองก็มีข่าวว่ากำลังจะทำข้อตกลง Travel Bubble กับ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเวียดนาม โดยจำกัดแค่บางเมืองที่ควบคุมการระบาดได้ดี และอนุญาตเฉพาะการเดินทางเพื่อธุรกิจเท่านั้น เช่นเดียวกับ จีน-สิงค์โปร์ ดูจากความสามารถในการควบคุมการระบาดของไทย เรามีโอกาสสูงที่จะได้ทำข้อตกลง Travel Bubble กับอีกหลายประเทศ ในเร็ว ๆ นี้

—–

“นักท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ทัวร์กรุ๊ปเล็ก กลุ่มเป้าหมายที่น่าจับตามอง”

จากแนวทาง Travel Bubble ที่เกิดขึ้นทั่วโลก อ้ายจงได้พูดคุยกับ Digilink Thailand บริษัทตัวแทนอย่างเป็นทางการของMafengfo และสื่อโซเชียลมีเดียจีน พวกเขาเสนอแง่มุมอย่างน่าสนใจว่า

.

จากนโยบายของหลาย ๆ ประเทศ นักท่องเที่ยวกลุ่มแรกที่น่าจะกลับมา คือ “นักท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ” และ “ทัวร์กรุ๊ปเล็ก”

.

นักท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ – ตลาดนี้อาจจะไม่ใช่ตลาดใหญ่เท่า FIT แต่ Global Business Travel Association (GBTA) ประเมินการไว้ว่าตลาดท่องเที่ยวเชิงธุรกิจในปีที่ผ่านมาโตถึง 7% และอาจมีมูลค่าสูงถึง 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ และจีนเอง ก็เป็นตลาดท่องเที่ยวเชิงธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

.

ทัวร์กรุ๊ปเล็ก – แม้ว่าคนจีนจะนิยมเที่ยวเอง แต่ตลาดทัวร์กรุ๊ปเล็ก หรือทัวร์ส่วนตัวก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในประเทศที่ต้องใช้เอกสาร หรือมีขั้นตอนยุ่งยาก คนเหล่านี้ต้องการท่องเที่ยวแบบตามใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการไกด์มืออาชีพที่สามารถอำนวยความสะดวก และเข้าถึงความเป็นท้องถิ่นอย่างแท้จริง

.

โดยนักท่องเที่ยวจีนกว่า 95% ให้ความสำคัญกับรีวิวบนออนไลน์มากที่สุด ควบคู่ไปกับคำบอกเล่าของคนใกล้ชิด การสื่อสารกับนักท่องเที่ยวจีนบนออนไลน์จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ นับเป็นโอกาสที่ธุรกิจท่องเที่ยวไทยจะสร้างแรงบันดาลใจให้นักท่องเที่ยวจีนผ่านคอนเทนต์บนออนไลน์ หรือ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวบน Mafengwo แพลตฟอร์มวางแผนการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในจีน

.

อ้ายจงอ้างอิงจาก:
www.gbta.org/

The Bangkok Insight เว็บข่าวธุรกิจ – The Answer to Today’s Business News


https://www.chinainternetwatch.com/

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #นักท่องเที่ยวจีน #จีนเที่ยวไทย #ไทยเที่ยวจีน
[fb_vid id=”294305038421961″]

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]