สรุปเทรนด์ที่น่าจับตามองของนักท่องเที่ยวจีนในยุค New Normal
เศรษฐกิจต้องเดินหน้า ท่องเที่ยวไทยพร้อมรึยัง?
.
มาพบกับบทวิเคราะห์การท่องเที่ยวจีน-ไทย ผ่านมุมมองของอ้ายจงที่ได้ร่วมกันวิเคราะห์กับ Digilink Thailand บริษัทสื่อออนไลน์ที่มีสำนักงานใหญ่ในประเทศจีน จึงมี Insight Data มาคุยกันอีกแล้วครับ
.
และวันนี้ ขอสรุปเทรนด์ที่น่าจับตามองของนักท่องเที่ยวจีนในยุค New Normal มาฝากทุกคน ประมาณนี้
.
# Travel distancing – เที่ยวแบบ contactless ใช้เทคโนโลยีสื่อถึงกัน #
เทคโนโลยีที่ช่วยลดการสัมผัสระหว่างกันจะเข้ามามีบทบาทตลอดการท่องเที่ยว ตั้งแต่การวางแผน ไปจนถึงการเชื่อมต่อกับบริการต่าง ๆ เพื่อลดการสัมผัสระหว่างบุคคล ล่าสุด Didi บริการเรียกรถโดยสาร ลักษณะเดียวกับ Grab ที่เราคุ้นเคยกันดี ก็ทดลองให้บริการ ‘รถยนต์ไร้คนขับ’ ในพื้นที่มหานครเซี่ยงไฮ้ อย่างที่อ้ายจงเคยนำเสนอไปเมื่อหลายวันก่อน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดจากคนขับสู่ผู้โดยสารได้ แต่จะเรียกว่า 100% ก็ยังไม่เต็มปากนัก เพราะ ยังคงมีพนักงานขับรถมาคอยดูแลความปลอดภัยและบังคับรถยามฉุกเฉิน
.
ในเมืองเซินเจิ้น มณฑลกว่างตง เองก็มี Leyeju Smart Hotel ที่ผู้เข้าพักสามารถเช็คอินเข้าพักโดยไม่ต้องพูดคุยกับพนักงาน ใช้เพียงไอดีการ์ด และระบบจดจำใบหน้าในการเข้าพัก การควบคุมทุกอย่างภายในห้องสามารถสั่งการผ่านมือถือ โดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสแม้แต่ลูกบิดประตู
.
# เทรนด์ Contactless ยังทำให้ จีนข้าสู่สู่สังคมไร้เงินสดโดยสมบูรณ์ #
สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ จำเป็นจะต้องรองรับการชำระเงินผ่าน AliPay และ WeChat Pay โดยเร็ว โดยในปีที่ผ่านมา Tencent จับมือกับ LINE Pay เพื่อทำให้ WeChat Pay เป็นที่แพร่หลายแม้ในเมืองรองและต่างจังหวัด นับเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ญี่ปุ่นเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของคนจีน
.
# Live for Life – Live streaming / Virtual Reality ไม่ใช่ของใหม่อีกต่อไป #
Livestreaming กลายเป็นสื่อที่เหนือกว่าการดูวิดีโอรีวิวขึ้นไปอีกขั้น เพราะผู้ชมสามารถ interact กับอีกฝั่งได้แบบ real-time โซเชียลแพลตฟอร์มหลักทุกเจ้าในจีนต่างมี Live streaming ไม่ว่าจะเป็น WeChat, Weibo, Mafengwo และ Xiaohongshu อย่างที่ตอนนี้แบรนด์ดังระดับโลก ต่างกู้วิกฤต เจาะกลุ่มผู้บริโภค Luxury market ในประเทศจีนโดยเฉพาะ เพราะขณะที่ตลาด Luxury ทั่วโลกมีแนวโน้มดรอปลง มากกว่า 20% หลัง COVID-19 แต่แนวโน้มตลาด Luxury ภายในประเทศจีนเอง ยังคงไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการกระตุ้นยอดขายด้วย Livestreaming ผ่าน KOL หรือคนดังบนโลกออนไลน์
.
อ้ายจงต้องบอกเลยว่า Live streaming หรือ Liveสดในจีนเนี่ย ทรงพลังมากนะ มี KOLคนหนึ่ง Jo Sun ที่มีคนติดตามหลายแสนคน และมีวิถีชีวิตค่อนข้างหรูเลย เขา Liveสด ขายสินค้าเกือบ100รายการ เป็นแบรนด์ดังๆทั้งนั้น ไม่ว่าจะ Louis Vuitton ,Gucci และ Channel สร้างยอดขายรวมมากกว่า 1ล้านหยวน (ราว 5 ล้านบาท) ภายใน 3 ชั่วโมง
.
ความนิยมในโลกแฟชั่นเอง Live streaming ก็เข้ามาพัฒนาแฟชั่นโชว์สู่โมเดล See-now-buy-now ที่ผู้ชมไม่จำเป็นบินไปที่มิลาน หรือ ปารีส แต่สามารถชมไลฟ์แฟชั่นโชว์ได้จากมือถือ แล้วกดสั่งซื้อชุดที่ชอบได้ทันที แบรนด์ FENTY และ Ralph Lauren ก็ใช้วิธีนี้และได้ผลตอบรับดีเยี่ยม อย่าง Alibaba ที่เริ่มก่อนใครเพื่อน ในเทศกาลช้อปแหลกวันคนโสดหลายปีก่อน บนแพลตฟอร์ม Tmall และ Taobao
.
วิกฤตครั้งนี้ยังกระตุ้นให้เทคโนโลยี Virtual Reality รุดไปอีกขั้นเพราะ VR ได้ถูกนำมาใช้สร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวจากที่บ้าน ในช่วงโควิดที่ผ่านมาบริษัทท่องเที่ยว eLong ได้ใช้เทคโนโลยี VR ในการสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวในเมือง Ningxia ผ่านวิดีโอ 360 องศา แบบ HD ทำให้คนที่ติด lockdown รู้สึกเหมือนได้ออกไปเที่ยวจริง ๆ
.
# From value for money to value for me – คนจีนยอมจ่ายเพื่อประสบการณ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะอะไรที่เป็น ‘Unseen’ #
การเพิ่มจำนวนของชนชั้นกลางในประเทศจีน ทำให้เทรนด์พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนไป ทั้งกำลังซื้อ ทั้งการเปิดรับวัฒนธรรม จากผลสำรวจของ McKinsey นักท่องเที่ยวจีนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับประสบการณ์โดยรวม มากกว่าแค่การได้ไปเยือน
.
เทรนด์แพลตฟอร์ม Mafengwo ยังชี้ให้เห็นว่า คนจีนกำลังมองหากิจกรรมที่มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ตอนนี้มีบล็อกเกอร์จีนเริ่มลัดเลาะไปตามเมืองรองไทยเพื่อเสาะหากิจกรรมแปลกใหม่
.
ตัวอย่างเช่น Blogger ชาวจีนกลุ่มหนึ่ง เห็นรถอีแต๋นและไก่ย่างแสงอาทิตย์ในสื่อไทย ก็ตัดสินใจดั้นด้นไปจังหวัดพิจิตร เพื่อที่จะไปนั่งรถอีแต๋นและชิมไก่ย่างพลังแสงอาทิตย์ด้วยตัวเอง ขอแค่ได้ไป ได้เห็น ได้สัมผัส ก็ยอมที่จะจ่ายเพื่อประสบการณ์ นี่คือการท่องเที่ยวของคนจีนยุคใหม่
หรือแม้แต่เพื่อนของอ้ายจงเอง ที่ถือเป็น KOLคนติดตามหลักล้านบน Weibo และ Mafengwo เขาก็ตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้มาทำกิจกรรมอะไรใหม่ๆในเมืองไทย โดยเฉพาะการกินอาหาร Street food และหาสถานที่เที่ยวในไทยแบบ Unseen รวมถึงร้านอาหาร – ร้านกาแฟที่ไม่ต้องร้านใหญ่มาก แต่มีมุมถ่ายรูปสวยๆ แต่งร้านเก๋ๆ มีกิมมิค ให้ถ่ายรูปไปอวดบนโลกออนไลน์ได้
.
# Less is more – ทัวร์กรุ๊ปเล็กกำลังบูม #
จากการรายงานของ Ctrip ในปีที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวอิสระ (FIT) มีประมาณ 70% แต่กรุ๊ปทัวร์ก็ไม่ได้หายไป แค่มีขนาดเล็กลงไม่เกิน 5-15 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังวิกฤติโควิดที่รถทัวร์หนึ่งคันต้องนั่งที่เว้นที่ ทำให้การทำทัวร์ขนาด 30-40 เป็นไปได้ยาก
.
อย่างไรก็ตาม ไกด์นำเที่ยวยังคงจำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีกำแพงด้านภาษา กรุ๊ปทัวร์หลังโควิดจะมีขนาดเล็กลง ยืดหยุ่น และมีความ luxury มากขึ้น
ในขณะเดียวกันไกด์นำเที่ยวจะต้องนำเสนอประสบการณ์ที่สมกับราคา และความต้องการ กล่าวคือ ต้องมีความเป็นส่วนตัว ปลอดภัย แปลกใหม่ โดยยอดการค้นหาบน Mafengwo แสดงให้เห็นว่าหลังโควิด ประเทศใหม่ ๆ เช่น เกาหลีเหนือ และ โครเอเชีย กระโดดขึ้นมาถึง 10 อันดับจนติด 1 ใน 50 ประเทศยอดนิยม นอกจากนี้กิจกรรมก็ยังมีความหลากหลายมากขึ้น เช่นการไปขี่ม้า การโหนสลิง กระโดดบันจี้จั๊มป์ หรือแม้แต่การตกปลา
.
# Not now then when – เทรนด์ Multigenerational travelers #
เหตุการณ์โคโรน่าไวรัสที่ผ่านมาทำให้ครอบครัวจีนมีความผูกพันธ์ ห็นคุณค่าซึ่งกันและกันมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุซึ่งได้รับผลกระทบจากโคโรน่าไวรัสโดยตรง จากยอดการค้นหาบนแพลตฟอร์ม Mafengwo พบว่า
ยอดอ่านคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับการพาพ่อแม่สูงอายุไปเที่ยวพร้อมครอบครัวสูงขึ้นถึง 79% มีความเป็นไปได้ที่โฉมหน้าของกลุ่มนักท่องเที่ยวจะเป็นแบบมีหลาย generation ในกลุ่มเดียว นี่จึงเป็นโอกาสที่สถานที่ท่องเที่ยวจะปรับปรุงสถานที่และบริการให้รองรับผู้สูงอายุ เช่นห้องน้ำที่สะอาด กว้างขวาง อาหารสุขภาพ และกิจกรรมที่ครอบครัวสามารถทำร่วมกันได้
.
# ทราบเทรนด์นักท่องเที่ยวจีนยุค New Normal ไปแล้ว ขอชี้ช่อง-แนะโอกาสของธุรกิจท่องเที่ยวไทยกันบ้าง #
อีกไม่ช้าไม่นาน การท่องเที่ยวก็ต้องฟื้นคืนกลับมา แต่คำถามที่สำคัญคือ เมื่อถึงเวลานั้น เราพร้อมแล้วหรือยัง
.
1. การป้องกันการระบาดเป็นสิ่งสำคัญที่สุด นอกจากการบริการตามหลัก Social distancing เช่น การเว้นที่นั่นแล้ว นี่เป็นโอกาสที่สถานที่ท่องเที่ยวจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาสร้างบริการแบบ Contactless เช่นการติดตั้ง Home Automation ภายในห้องพัก และการเปิด Alipay และ WeChat Pay เพื่อสร้างความมั่นใจ และอำนวยความสะดวก
.
2. มอบประสบการณ์ตั้งแต่ “ก่อน” เดินทาง ผ่านการสร้างคอนเทนต์ Livestreaming และ VR เพื่อทำให้นักท่องเที่ยวมีความรู้สึกใกล้ชิด และได้เห็นสถานที่จริงก่อนการตัดสินใจ
.
3. ถึงกรุ๊ปทัวร์จะเล็กลง แต่อาชีพไกด์ และธุรกิจทัวร์ ยังไปต่อได้ แต่ต้องนำเสนอทริปที่มีความเป็น local และหาที่ไหนไม่ได้ โดยจับกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับบนที่ต้องการความเป็นส่วนตัว และเดินทางด้วยรถโดยสารขนาดเล็ก ที่สำคัญตารางต้องปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
.
4. ขยายการบริการไปสู่กลุ่ม Multigenerational travelers สร้างประสบการณ์ที่ทำให้นักท่องเที่ยวมีกิจกรรมร่วมกันได้ และมีความเป็นส่วนตัว เช่นการขายที่พักแบบวิลล่าที่ครอบครัวสามารถใช้เวลาร่วมกันได้
ใครมีข้อสงสัยอยากสอบถามเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ว่าจะปรับตัวอย่างไร รวมถึงเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับจีน โดยเฉพาะการตลาดจีน ทักเข้ามาได้นะครับ
.
อ้ายจงอ้างอิงบางส่วนจาก
– McKinsey & Co
– Tencent
– Mafengwo
– Jingtravel
– Financial Times
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #การตลาดจีน #นักท่องเที่ยวจีน
[fb_vid id=”1837058283100584″]
ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง