สำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน
(China National Space Administration – CNSA)
ที่อยู่: No.8 Fucheng Road, Haidian District, Beijing, 100048
เว็บไซต์: http://www.cnsa.gov.cn/
(1) โครงสร้างผู้บริหารสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน
จาง เค่อเจี้ยน (Zhang Kejian, 张克俭) – ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน | |
เปี้ยน จื้อกัง (Bian Zhigang, 卞志刚) – รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน | |
หลี่ กั๋วผิง (Li Guoping, 李国平) – หัวหน้าวิศวกร สำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน | |
ฉวี หงเลี่ยง (Xu Hongliang, 许洪亮) – เลขาธิการ สำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน |
(2) โครงสร้างองค์กรของสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน
หน่วยงานภายใน
- สำนักงานกลาง (Department of General Administration)
- สำนักงานการพัฒนาและวางแผน (Department of Development and Planning)
- สำนักงานวิศวกรรมระบบ (Department of System Engineering)
- สำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการควบคุมคุณภาพ (Department of Science, Technology and Quality Control)
- สำนักงานกิจการต่างประเทศ (Department of Foreign Affairs)
- สำนักงานประสานงาน (Department of Coordination)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ศูนย์การสำรวจดวงจันทร์และวิศวกรรมอวกาศ (Lunar Exploration and Space Program Center)
- ศูนย์ข้อมูลและหอสังเกตการณ์โลก (Earth Observation System and Data Center)
- ศูนย์สาธิตการรับรู้ระยะไกลในอวกาศ (Space Remote Sensing Demonstration Center)
- ศูนย์ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร (News promotion center)
- ศูนย์ตรวจสอบและการประยุกต์ใช้เศษซากอวกาศ (Space Debris Monitoring and Application Center)
- ศูนย์ทดสอบการประกอบดาวเทียม (Satellite Assembly Integration Testing Center)
- ศูนย์กฎหมายอวกาศ (Space law center)
- สมาคมอวกาศจีน (Chinese Society of Astronautics)
- สมาคมการประยุกต์ใช้การรับรู้ระยะไกลจีน (China Association of Remote Sensing Application)
- สมาคมกฎหมายอวกาศจีน (China Institute of Space Law)
- มูลนิธิอวกาศจีน (China Space Foundation)
(3) แผนพัฒนาองค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13
สำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีนเป็นหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบด้านการจัดการอากาศยานพลเรือนและความร่วมมือด้านอวกาศระหว่างประเทศ ปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดการที่สอดคล้องกันกับนโยบายของรัฐบาล มุ่งมั่นพัฒนา ประสานงาน บริหารจัดการให้อุตสาหกรรมกิจการการบินและอวกาศมั่นคง เป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการจัดกิจกรรมหรือเป็นผู้นำการแลกเปลี่ยนความร่วมมือในด้านการบินและอวกาศระหว่างประเทศ
1) ภารกิจระยะ 5 ปี
ในอีกห้าปีข้างหน้าจีนพัฒนาประเทศด้วยการเร่งพัฒนาอุตสหกรรมอวกาศ โดยจะเพิ่มขีดศักยภาพความสามารถพื้นฐานของอุตสาหกรรมอวกาศอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการวิจัยเทคโนโลยีที่สำคัญและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย โครงการที่สำคัญ ๆ เช่น การสำรวจดวงจันทร์ ระบบนำทางดาวเทียม Beidou ระบบสังเกตการณ์โลกความละเอียดสูง โครงการยานนำส่งรุ่นใหม่ เปิดตัวและเริ่มดำเนินการโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญๆ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศอย่างรอบด้าน
2) นโยบายและมาตรการในการพัฒนา
รัฐบาลจีนได้กำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อมุ่งมั่นพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศ สนับสนุนในส่วนของนโยบาย สร้างสภาพแวดล้อมการพัฒนาที่ดี เพื่อผลักดันและพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและอวกาศอย่างยั่งยืน
สำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีนเป็นหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบด้านการจัดการอากาศยานพลเรือนและความร่วมมือด้านอวกาศระหว่างประเทศ ปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดการที่สอดคล้องกันกับนโยบายของรัฐบาล มุ่งมั่นพัฒนา ประสานงาน บริหารจัดการให้อุตสหกรรมกิจกรรมการบินและอวกาศมั่นคง เป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการจัดกิจกรรมหรือเป็นผู้นำการแลกเปลี่ยนความร่วมมือในด้านการบินและอวกาศระหว่างประเทศที่รับผิดชอบการจัดการพื้นที่พลเรือนและความร่วมมือระหว่างประเทศในพื้นที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่การจัดการที่สอดคล้องกับรัฐบาล
- ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างและการประยุกต์ใช้โครงสร้างพื้นฐานอวกาศสนับสนุนการสำรวจอวกาศและวิทยาศาสตร์อวกาศ
- เพิ่มขีดศักยภาพของนวัตกรรมการบินและอวกาศ
- ส่งเสริม และเพิ่มขีดศักยภาพของอุตสาหกรรมการบินและอวกาศอย่างรอบด้าน
- เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมการประยุกต์ใช้ดาวเทียม
- มุ่งเน้นเสริมสร้างโครงสร้างของกฎหมายและข้อบังคับ
- พัฒนาระบบและกระจายการลงทุนด้านการบินและอวกาศ ผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับทุนทางสังคม พัฒนาและแก้ไขระบบการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการด้านการบินและอวกาศ
- เร่งสร้างทีมงานบุคลากรการบินและอวกาศที่มีความรู้ความสามารถระดับสูง
- พัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์การบินและอวกาศอย่างจริงจัง
3) การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศ
ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา จีนได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านอวกาศทั้งสิ้น จำนวน 43 ฉบับ หรือบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) กับอีก 29 ประเทศและหน่วยงาน องค์กรอวกาศระหว่างประเทศ และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องที่ดำเนินการโดยสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมความร่วมมือทางธุรกิจด้านอวกาศระหว่างประเทศ
4) ขอบเขตความร่วมมือหลักในอีก 5 ปีข้างหน้า
ในอีกห้าปีข้างหน้าจีนจะเปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างขึ้นโดยจะดำเนินการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างประเทศในประเด็นหลักๆสำคัญ ดังต่อไปนี้
- การก่อสร้าง “One Belt, One Road” ทางเดินข้อมูลเชิงพื้นที่รวมถึงการสังเกตการณ์ดาวเทียม การแพร่ภาพผ่านดาวเทียม การพัฒนาการนำทางและการบอกพิกัดตำแหน่ง และการพัฒนาการประยุกต์ใช้ ฯลฯ
- การสร้างดาวเทียมสำรวจระยะไกลกลุ่มประเทศ BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้ )
- องค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก ภารกิจกลุ่มดาวเทียมขนาดเล็กและการสร้างดาวเทียมขนาดเล็กสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย
- ความร่วมมือทางเทคโนโลยี โครงการสำรวจดวงจันทร์และดาวอังคาร
- การก่อสร้างห้องปฏิบัติการอวกาศ สถานีอวกาศ
- การพัฒนาดาวเทียมวิทยาศาสตร์อวกาศ ดาวเทียมสำรวจระยะไกล และมีศักยภาพในด้านการบรรทุกลำเลียง
- การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานภาคพื้นดิน เช่น สถานีรับข้อมูลและเกตเวย์การสื่อสาร
- การประยุกต์ใช้ดาวเทียมในการสังเกต การกระจายสัญญาณ การสื่อสาร การนำทางและการระบุพิกัดตำแหน่ง
- การวิจัยการสำรวจอวกาศ
- การปล่อยยานอวกาศและรวมไปถึงการบรรทุกลำเลียง
- สนับสนุนมาตรฐานการควบคุมการบิน
- การตรวจสอบขยะอวกาศ การแจ้งเตือน การบรรเทา รวมไปถึงการป้องกัน
- ความร่วมมือในด้านสภาพอากาศในอวกาศ
- นำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์และความร่วมมือทางเทคโนโลยี เช่น ตัวดาวเทียม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบย่อยการปล่อยตัวจรวดและการขนส่งลำเลียงดาวเทียม อุปกรณ์อำนวยความสะดวกภาคพื้นดิน ฯลฯ
- การวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายอวกาศ นโยบายอวกาศ และมาตรฐานการบินและอวกาศ
- การแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมบุคลากรในสาขาการบินและอวกาศ