นครฉงชิ่ง-นครเฉิงตู เตรียมพร้อมสู่การเป็น “ศูนย์กลางการบินระดับโลก”

 

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 นายเฝิง เจิ้งหลิน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการบินพลเรือนแห่งประเทศจีน (CAAC) และคณะเดินทางเยือนนครฉงชิ่ง เพื่อสำรวจสถานที่สำหรับการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ ให้เป็นศูนย์กลางการบินนานาชาติ ศูนย์กลางการบินแห่งภูมิภาคตะวันตก ศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศ ซึ่งสนามบินนี้อยู่ในโครงการคลัสเตอร์สนามบินระดับโลกเฉิงตู-ฉงชิ่ง

ปัจจุบันนครฉงชิ่งมีสนามบินพาณิชย์ 5 แห่ง ได้แก่ (1) สนามบินนานาชาติเจียงเป่ย (2) สนามบินว่านโจว (3) สนามบินเฉียนเจียง (4) สนามบินวูซาน และ (5) สนามบินอู่หลงเซียนหนี่ซาน โดยสนามบินนานาชาติเจียงเป่ยเป็นสนามบินหลักของนครฉงชิ่ง ข้อมูลสถิติปี 2563 จำนวนเส้นทางบินของสนามบินนานาชาติเจียงเป่ยเป็นตัวบ่งชี้หลักที่สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน และสภาพเศรษฐกิจและสังคมของนครฉงชิ่ง ซึ่งพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางการบินระดับโลกในอนาคต

 

ข้อมูลสถิติของสนามบินนานาชาติเจียงเป่ยนครฉงชิ่งในปี 2563

สำนักงานบริหารการบินฯ เปิดเผย ข้อมูลสถิติของสนามบินนานาชาติเจียงเป่ยนครฉงชิ่งในปี 2563 ดังนี้

– ปริมาณผู้โดยสารใช้บริการรวม 34.938 ล้านคน ติดอันดับ 4 ของประเทศ (สูงขึ้น 5 อันดับ) แซงหน้าสนามบินนานาชาติกรุงปักกิ่ง สนามบินปักกิ่งต้าซิ่ง สนามบินเซี่ยงไฮ้หงเฉียว สนามบินเซี่ยงไฮ้ผู่ตง และสนามบินหางโจวเซียวซาน

– ปริมาณขนส่งสินค้ารวม 411,000 ตัน ติดอันดับ 8 ของประเทศ (สูงขึ้น 2 อันดับ)

– ปริมาณเที่ยวบินขาเข้าและขาออกรวม 275,000 เที่ยว ติดอันดับ 6 ของประเทศ (สูงขึ้น 2 อันดับ)

 

เส้นทางบินของสนามบินนานาชาติเจียงเป่ยนครฉงชิ่ง (ข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2563)

สนามบินนานาชาติเจียงเป่ย มีเส้นทางบินในประเทศและระหว่างประเทศรวม 372 เส้นทาง โดยเป็นเส้นทางระหว่างประเทศ 101 เส้นทาง ครอบคลุม 74 เมืองของ 33 ประเทศทั่วโลก ทั้งทวีปยุโรป สหรัฐฯ ออสเตรเลีย-โอเชียเนีย เอเชีย และแอฟริกา ในจำนวนนั้นเป็นเส้นทางบินในกลุ่มประเทศข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (BRI) จำนวน 68 เส้นทาง

นอกจากนั้น นครฉงชิ่งและนครเฉิงตูยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการคมนาคมในภูมิภาคตะวันตกของจีน ผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณาตั้งสาขา หรือฐานการผลิตที่นครฉงชิ่งและนครเฉิงตู เพื่อสะดวกต่อการขยายกิจการเข้าสู่ภูมิภาคตะวันตกของจีน

แหล่งที่มา : เว็บไซต์ทางการของ ChongqingNews (ฉบับวันที่ 7 พ.ค. 2564)

http://cq.cqnews.net/html/2021-05/07/content_51335347.html

 

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]