ความสำเร็จของจีนในการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางซู กั๋วเสีย (Su Guoxia)
อดีตอธิบดีกรมฟื้นฟูชนบทแห่งชาติจีน
เส้นทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบทของจีน
- ค.ศ. 1950 จีนได้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพาะปลูก โดยอนุญาตให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินเพาะปลูกมากกว่า 300 ล้านคน ได้รับที่ดินเพาะปลูกพืชผัก เป็นการแก้ปัญหาการไม่มีที่ดินเพาะปลูก ซึ่งเป็นสาเหตุของความยากจน
- ค.ศ. 1978 จีนดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดกว้าง ซึ่งทำให้เกษตรกรมีอิสระในการทำธุรกิจมากขึ้น
- ค.ศ. 1982 รัฐบาลได้ประกาศแผนการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบพิเศษในพื้นที่ที่ราบสูงเลอสส์ (Loess Plateau) ทางตะวันตกเฉียงเหนือที่มีความยากจนที่สุด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความยากจน
- ค.ศ. 1986 ได้จัดตั้งสำนักงานสภาแห่งรัฐแกนนำกลุ่มเพื่อการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาความยากจน(The State Council Leading Group Office of Poverty Alleviation and Development) โดยกำหนด
- มาตรฐานการแก้ไขปัญหาความยากจนแห่งชาติ
- พื้นที่สนับสนุนและดำเนินการที่สำคัญ
- นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนที่มุ่งเน้นการพัฒนา
- จัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
- จัดทำแผนปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาความยากจนขนาดใหญ่ระดับชาติ
- ค.ศ. 1994 ที่รัฐบาลประกาศ “แผนแก้ไขปัญหาความยากจนแห่งชาติ 87” คือ การแก้ปัญหาเรื่องอาหารและเครื่องนุ่งห่มให้กับคนยากจน 80 ล้านคน ในพื้นที่ชนบทของประเทศ โดยใช้เวลา 7 ปี (ค.ศ.1994 – 2000) และโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบท 10 ปี จำนวน 2 โครงการ เพื่อยกระดับมาตรฐานแก้ไขปัญหาความยากจน 2 ครั้ง และส่งเสริมงานแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายและมาตรฐานการแก้ไขปัญหาความยากจน
- ภายในปีค.ศ. 2020 คนยากจนทั้งหมดจะหลุดพ้นจากความยากจน และจะมีรายได้ตามมาตรฐานการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับชาติ และจะไม่มีปัญหาเรื่องอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และการศึกษาภาคบังคับ การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน และความมั่นคงของที่อยู่อาศัย
- ภายในปีค.ศ. 2020 อำเภอที่ยากจนทั้งหมดจะถูกปลดออกจากความยากจน อัตราการเกิดความยากจนของอำเภอที่ยากจนในภาคกลางจะลดลงต่ำกว่า 2% และอัตราการเกิดความยากจนของอำเภอที่ยากจนในภูมิภาคภาคตะวันตกจะลดลงต่ำกว่า 3%
แนวทางหลักในการแก้ไขปัญหาความยากจน
- สร้างระบบและกลไกในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ “การวางแผนส่วนกลาง ความรับผิดชอบโดยรวมของมณฑล และการดำเนินการของเมืองและอำเภอ”
- กำหนดกลยุทธ์พื้นฐานสำหรับการแก้ไขปัญหาความยากจนตามเป้าหมาย โดยการสร้างฐานข้อมูลเพื่อการวางแผนและตัดสินใจว่า ใครจะได้รับการสนับสนุน ผู้ที่จะถูกส่งไปยังกองกำลังเฉพาะกิจในหมู่บ้าน เพื่อแก้ปัญหาและดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนในอุตสาหกรรม การแก้ไขปัญหาความยากจนในการจ้างงาน การแก้ไขปัญหาความยากจนด้านการศึกษา การแก้ไขปัญหาความยากจนด้านสุขภาพ การย้ายถิ่นฐานโดยสมัครใจ ฯลฯ วิธีแก้ปัญหาและมาตรฐานที่ชัดเจน ดำเนินนโยบายจากคนสู่ครอบครัว และจากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง และช่วยเหลือคนจนอย่างมีประสิทธิภาพ
- รัฐบาลเพิ่มการลงทุนและสนับสนุนการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ตลาดทุนสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ยากจน และกองทุนสังคมช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน
- จัดระเบียบและดำเนินการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความยากจนระหว่างภูมิภาคตะวันออกและตะวันตก หน่วยงานของพรรค รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และสถาบันต่าง ๆ ประสานงานกันเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนตามเป้าหมาย สนับสนุนการมีส่วนร่วมของทหารในถิ่นที่อยู่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน และระดมกำลังพลจากวิสาหกิจ เอกชน องค์กรทางสังคม และประชาชนแต่ละคน ให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความยากจน
- ปฏิบัติตามนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนที่มุ่งเน้นการพัฒนา
ความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจน
- คนจนในชนบททุกคนหลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉลี่ยแล้วมีผู้คนมากกว่า 10 ล้านคนที่หลุดพ้นจากความยากจนในทุกปี
- การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ยากจนมีความก้าวหน้าอย่างมาก และในภาพรวมเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์
- จิตวิญญาณของผู้คนที่หลุดพ้นจากความยากจนได้รับการฟื้นฟู และพวกเขาได้เพิ่มความมั่นใจและความกล้าหาญที่จะพึ่งพาตนเอง
- เส้นทางของการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยอัตลักษณ์ในแบบจีน ถือเป็นแบบอย่างที่ยอดเยี่ยมที่มีส่วนสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนทั่วโลก
ผลงานการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาความยากจน เสริมสร้างเทคโนโลยี สนับสนุนความสามารถ และส่งเสริมการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเป็นระบบผ่านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีการลงทุนทั้งหมดกว่า 2 หมื่นล้านหยวน เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในอุตสาหกรรม เช่น การวิจัยทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงความสำเร็จ การสร้างแพลตฟอร์ม การเชื่อมต่อขององค์ประกอบ การขับเคลื่อนผู้ประกอบการ การฝึกอบรม การเผยแพร่ทางด้านวิทยาศาสตร์ และผลประโยชน์ทางการเกษตร
- เลือกบุคลากรที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็น “พลังใหม่” ในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยมีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวน 289,800 คน ได้รับการคัดเลือกไปปฏิบัติงานที่ครอบคลุมการบริการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการเป็นผู้ประกอบการอย่างเต็มรูปแบบในหมู่บ้านยากจนที่ขึ้นทะเบียนเกือบ 100,000 แห่งทั่วประเทศ
- บูรณาการทรัพยากรทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในพื้นที่ยากจน สร้างแพลตฟอร์มบริการนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรในพื้นที่ยากจน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการในพื้นที่ยากจน
- ดำเนินโครงการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีผู้ปฏิบัติงานและบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งและเป็นมืออาชีพ เพื่อสร้างผลลัพที่ช่วยให้ครัวเรือนที่ยากจนขจัดความยากจนและเพิ่มรายได้ได้โดยตรง
ตัวอย่าง
นักวิชาการหลี่ หยู่ – ผู้แทนดีเด่นด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้นำของ “อุตสาหกรรมเห็ดหูหนูขนาดใหญ่” และเป็นผู้บุกเบิกกลยุทธ์การพัฒนาในประเทศของ “เห็ดเคลื่อนที่ภาคใต้ไปภาคเหนือ” และ “การขยายอุตสาหกรรมเห็ดหูหนูจากภาคเหนือไปภาคใต้” และกลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมการเพาะเห็ด “การขับเคลื่อนการเกษตรกร “สู่รูปแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยเทคโนโลยีการเพาะเห็ด ตั้งแต่ปีค.ศ. 2012 คณะทำงานได้เข้าไปในพื้นที่ยากจนกว่า 40 แห่งทั่วประเทศ และดำเนินการมากกว่า 280 วันต่อปี เพื่อสอนเทคนิคการเพาะในมณฑลเหอเป่ย ซานซี อานฮุย กุ้ยโจว ยูนนาน ส่านซี และสถานที่อื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งสถานที่บ่มเพาะ เพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีการเพาะเห็ดจำนวน 31 แห่ง สนับสนุนองค์กรชั้นนำด้านการเพาะเห็ดจำนวน 22 แห่ง และช่วยเหลือครัวเรือนที่ยากจนกว่า 35,000 ครัวเรือนในหมู่บ้านมากกว่า 800 แห่ง ให้สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างสมบูรณ์ โดยมีมูลค่าผลผลิตต่อปีมากกว่า 35 พันล้านหยวน เขาได้รับ “รางวัลรองชนะเลิศด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ”และ “รางวัลด้านนวัตกรรมแห่งชาติ”
รวบรวมและขยายผลการแก้ไขปัญหาความยากจน และส่งเสริมการฟื้นฟูชนบทอย่างครอบคลุม
จีนเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุด และปัญหาของการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่เพียงพอ ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ และยังคงมีเส้นทางอีกยาวไกลในการบรรลุความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน จึงต้องรวบรวมและขยายผลการแก้ไขปัญหาความยากจน จัดตั้งกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาความยากจน และช่วยสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีการหวนคืนสู่ความยากจนในวงกว้าง ส่งเสริมการฟื้นฟูชนบทอย่างครอบคลุม และมุ่งสู่เป้าหมายความเจริญร่วมกันต่อไป
เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและความร่วมมือในด้านการลดปัญหาความยากจน
- การขจัดความยากจนเป็นภารกิจร่วมกันของมนุษยชาติ รัฐบาลจีนได้ดำเนินการอย่างแข็งขันต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติและมุ่งมั่นที่จะขจัดความยากจนของตนเองให้หมดไป
- รัฐบาลจีนมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศในด้านการลดปัญหาความยากจนและการพัฒนาร่วมกันภายใต้กรอบความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”
- ความร่วมมือจีน-ไทยในการแก้ไขปัญหาความยากจนถือเป็นส่วนที่สำคัญ จีนและไทยมีความคล้ายคลึงกันในทางภูมิศาสตร์ มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดอย่างใกล้ชิด มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม และการแลกเปลี่ยนฉันมิตร มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นปัญหาการดำรงชีวิตที่รัฐบาลและประชาชนของทั้งสองประเทศกังวล การแลกเปลี่ยนผู้คน การแบ่งปันประสบการณ์ และการเสริมสร้างศักยภาพ ควรจะมีการส่งเสริมการดำเนินการร่วมกัน
ที่มา วารสาร “วิทย์ไมตรีไทย-จีน” ฉบับเดือนมิถุนายน 2564
Thailand STI and Higher Education Day 2021
วันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการอุดมศึกษาไทย ณ กรุงปักกิ่ง พ.ศ. 2564