จีนสร้างสถานีเฝ้าติดตาม ‘สภาพแวดล้อมในอวกาศ’ แห่งใหม่ | XinhuaThai

(แฟ้มภาพซินหัว : ภาพจำลองยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมเสินโจว-12 ของจีนเข้าเทียบโมดูลหลักของสถานีอวกาศเทียนเหอ บันทึกภาพ ณ ศูนย์ควบคุมการบินและอวกาศปักกิ่ง ในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน วันที่ 17 มิ.ย. 2021)

ปักกิ่ง, 25 มิ.ย. (ซินหัว) — ศูนย์วิทยาศาสตร์อวกาศแห่งชาติจีน (NSSC) เปิดเผยว่าจีนเริ่มก่อสร้างสถานีเฝ้าติดตาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายศึกษาสภาพอากาศในอวกาศ

ศูนย์ฯ ซึ่งสังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) ระบุว่าสถานีฯ มีพื้นที่ 400 หมู่ (ราว 160 ไร่) อยู่ในอำเภอซื่อจื่อหวัง เขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางตอนเหนือของจีน โดยคาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2023

สถานีฯ จะปรับใช้เรดาร์ความถี่สูงขนานใหญ่เป็นอุปกรณ์ตรวจจับหลัก และบูรณาการวิธีตรวจจับอันหลากหลาย อาทิ เรดาร์วิทยุ เครือข่ายเชิงแสงแบบทั้งต้องใช้และไม่ต้องใช้แหล่งพลังงานจากภายนอก รังสีคอสมิก และสนามแม่เหล็กโลก

ขณะเดียวกันสถานีฯ ยังสามารถเฝ้าติดตามบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ บรรยากาศชั้นกลางและบน รังสีคอสมิก และการรบกวนของสนามแม่เหล็กโลกทางตอนเหนือของจีนแบบเรียลไทม์

สถานีฯ แห่งนี้เป็นของเครือข่ายเ้าติดตามสภาพแวดล้อมในอวกาศบนภาคพื้นดิน ซึ่งจะช่วยคณะนักวิทยาศาตร์ทำความเข้าใจการก่อตัวของสภาพอากาศในอวกาศลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมถึงให้การสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์และข้อมูล เพื่อลดผลกระทบจากสภาพอากาศที่เลวร้ายในอวกาศ

ทั้งนี้ สภาพอากาศในอวกาศครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในอวกาศ อาทิ เปลวสุริยะ พายุแม่เหล็ก และการพยากรณ์แสงเหนือ ซึ่งล้วนส่งผลต่อการทำงานของระบบการบินและอวกาศ การสื่อสาร และระบบนำทางต่างๆ

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :

Xinhua

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]