แผนพัฒนาประชากรแห่งชาติจีน (2016-2030)

แผนพัฒนาประชากรแห่งชาติ (2016-2030) กำหนดแนวทางในการพัฒนาประชากรของจีนระยะ 15 ปีเพื่อวางแผนประชากรและครอบครัวที่ครอบคลุมและให้การสนับสนุนขั้นพื้นฐาน และเป็นข้อมูลในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจระดับมหภาค

1. การวางแผนภูมิหลัง – ช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสำหรับการพัฒนาประชากร

สถานะประชากร – โครงสร้างทางประชากรมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

  • จำนวนประชากรทั้งหมด ณ สิ้นปี 2015 อยู่ที่ 1,375 ล้านคน
  • สัดส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึง 16.1%
  • อายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 76.34 ปี

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโครงสร้างเมือง – ชนบทของประชากร
ตั้งแต่ปี 2010 ถึงปี 2015 อัตราของประชากรที่อาศัยในเมืองถาวร เพิ่มขึ้นจาก 49.95% เป็น 56.1% และจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจาก 221 ล้านคนเป็น 247 ล้านคน

ระดับของความปลอดภัยของประชากรยังคงดีขึ้น
ในปี 2015 ประชากรยากจนในชนบทมีจำนวน 55.75 ล้านคนลดลง 66.3% เมื่อเทียบกับปี 2010 ระบบประกันสังคมและระบบบริการสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการและกลุ่มอื่น ๆ ได้ค่อย ๆ ปรับปรุงให้ดีขึ้น

แนวโน้มการพัฒนา

  • จำนวนที่เพิ่มขึ้นของประชากรทั้งหมดลดลง และจะถึงจุดสูงสุดในราวปี 2030
  • ประชากรวัยทำงานมีความผันผวนและลดลง อายุการทำงานเพิ่มขึ้น
  • สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ในขณะที่สัดส่วนของเด็กกำลังลดลง
  • การเคลื่อนย้ายของประชากรยังคงมีความเคลื่อนไหว คาดว่าการเคลื่อนย้ายของผู้คนจากชนบทสู่เขตเมืองตั้งแต่ปี 2016 ถึง 2030 มีประมาณ 200 ล้านคน
  • อัตราส่วนของเพศเมื่อแรกเกิดค่อย ๆ กลับสู่ภาวะปกติ (ชายหญิงเท่ากัน) และมีแนวโน้มของครอบครัวที่มีลักษณะที่มีความหลากหลาย มีประชากรของชนกลุ่มน้อยเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของประชากรระหว่างภูมิภาคไม่สม่ำเสมอ

ปัญหาและความท้าทาย

  • ประชากรวัยกลางคน มีความกดดันมากขึ้นในการมีบุตร
  • ผลกระทบจากผู้สูงอายุมีมากขึ้น
  • ความท้าทายของการเคลื่อนย้ายของประชากรอย่างสมเหตุสมผลและเป็นระเบียบ
  • ประชากรและทรัพยากรสิ่งแวดล้อมยังคงไม่สมดุล
  • ความไม่ปลอดภัยหรืออันตรายที่ซ่อนเร้นจากการพัฒนาครอบครัวและความมั่นคงทางสังคมยังคงสะสมอยู่

2. แนวคิดทั่วไป – ดำเนินการตามยุทธศาสตร์แห่งชาติในการพัฒนาประชากรอย่างสมดุล

ข้อกำหนดทั้งหมด
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประชากรอย่างสมดุล ได้กำหนดนโยบายพื้นฐานแห่งชาติในการวางแผนครอบครัว ส่งเสริมการมีบุตร ให้ความสำคัญกับผลของนโยบายลูกสองคนที่ครอบคลุม และสร้างประชากรที่เอื้อต่อการพัฒนา การจ่ายเงินปันผลตามโครงสร้างและความได้เปรียบของเงินทุนที่มีคุณภาพ ส่งเสริมประชากรและสังคมเศรษฐกิจ พัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ประสานกันและยั่งยืน เพื่อสร้างสังคมที่ดีอย่างรอบด้านของความฝันของชาวจีน ในการตระหนักถึงการฟื้นฟูประเทศจีนครั้งใหญ่ เป็นรากฐานที่มั่นคงและแรงผลักดันที่ยั่งยืน

มีหลักการต่อไปนี้

  • ยึดมั่นในแผนการแบบบูรณาการ
  • เน้นประชากรเป็นหลัก
  • เสริมสร้างกฎระเบียบเชิงบวก
  • เสริมสร้างการป้องกันความเสี่ยง
  • ปฏิรูปด้านนวัตกรรมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

เป้าหมายหลัก ถึงปี 2030
ปี 2015 ประชากรทั้งหมดของประเทศคือ 1,375 ล้านคน อัตราเจริญพันธุ์โดยรวม 1.5-1.6
ปี 2020 ประชากรทั้งหมดของประเทศคือ 1,420 ล้านคน อัตราเจริญพันธุ์โดยรวม 1.8
ปี 2030 ประชากรทั้งหมดของประเทศคือ 1.420 พันล้านคน อัตราเจริญพันธุ์โดยรวม 1.8

แนวทางกลยุทธ์

1. ให้ความสำคัญกับความสมดุลของปัจจัยต่าง ๆ ภายในด้านประชากร
ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประชากร การเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างและการปรับปรุงคุณภาพ ส่งเสริมการดำเนินนโยบายลูกสองคนที่ครอบคลุมและการเปลี่ยนแปลงของประชากรทั้งหมดให้ราบรื่นหลีกเลี่ยงการลดลงอย่างรวดเร็วของประชากรหลังจากถึงจุดสูงสุด และกำกับดูแลอัตราส่วนของประชากรชายหญิง ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ ปรับปรุงคุณภาพของประชากรเกิดอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาศักยภาพของประชากรทุกกลุ่มอายุ และส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงของการปันผลทางประชากรไปสู่การปันผลที่พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถ

2. ให้ความสำคัญกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชากรและการพัฒนาเศรษฐกิจ
เข้าใจถึงผลกระทบของการพัฒนาเศรษฐกิจต่อการเปลี่ยนแปลงของประชากรอย่างถูกต้องแม่นยำ และดำเนินนโยบายอย่างครอบคลุม เพื่อบรรเทาปัญหาการพัฒนาประชากร เช่น ปัญหาการลดลงของจำนวนประชากรที่เกิดจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ด้วยการพัฒนาที่ประสานกันของพื้นที่ในเมืองและชนบทและการแพร่กระจายเทคโนโลยี อุตสาหกรรม บริการสาธารณะและการจ้างงานไปพร้อม ๆ กัน พื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประชากรและรูปแบบเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ โดยให้บทบาทต่อประชากรอย่างเต็มที่ ให้การสนับสนุนทุนด้านต่าง ๆ แก่ผู้ที่มีความสามารถ และดำเนินนโยบายแก่ผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาต่อผลกระทบในการเติบโตทางเศรษฐกิจ

3. ให้ความสำคัญกับการประสานงานในการพัฒนาประชากรและสังคม
ปรับปรุงระบบบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานของประเทศ ส่งเสริมการบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ครอบคลุมต่อประชากรอย่างถาวร และส่งเสริมการย้ายถิ่นฐานของประชากรอย่างเป็นระเบียบ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในการพัฒนาของประชากรเป็นหลัก โดยการสร้างระบบบริการดูแลผู้สูงอายุ ปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้หญิง เด็กและคนพิการ และดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนตามเป้าหมาย และส่งเสริมความยุติธรรมและความเท่าเทียมกันทางสังคม เคารพบทบาทของบุคคลและครอบครัวในการพัฒนาประชากร ยึดมั่นในสิทธิและหน้าที่ เพื่อส่งเสริมการทำงานของประชากรโดยอาศัยรัฐบาลเป็นหลัก ในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการปกครองร่วมกัน

4. ให้ความสำคัญกับการปรับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องต่อประชากร
การกำหนดตำแหน่งของพื้นที่การทำงานหลักและปรับปรุงนโยบายประชากรที่แตกต่างใช้ เพื่อเป็นแนวทางไปสู่การพัฒนาที่เหมาะสมของการใช้พื้นที่ สนับสนุนการจำกัดการพัฒนา และการย้ายถิ่นของประชากรในภูมิภาคอย่างเคร่งครัด โดยการควบคุมประชากรขนาดใหญ่ของเมืองใหญ่ เสริมสร้างการจัดการและคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืนและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศและวิถีชีวิตของคน


3. ภารกิจที่สำคัญ

3.1 ส่งเสริมระดับการเจริญพันธุ์ (การคลอดบุตร) ที่เหมาะสมเพื่อความได้เปรียบด้านประชากร

  • ปรับปรุงกลไกการควบคุมนโยบายการเจริญพันธุ์ (การคลอดบุตร)
    • ปฏิบัติตามนโยบายพื้นฐานแห่งชาติในการวางแผนครอบครัวและดำเนินนโยบายลูกสองคนที่ครอบคลุม
    • ปฏิรูปและปรับปรุงการบริการจัดการและวางแผนครอบครัว เพื่อลดความซับซ้อนในการบริหารงานและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
    • ส่งเสริมการดำเนินนโยบายการวางแผนครอบครัวที่เท่าเทียมกัน สำหรับทุกกลุ่มชาติพันธุ์และส่งเสริมการพัฒนาที่สมดุลของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในภูมิภาคเดียวกัน
    • ติดตามการเปลี่ยนแปลงของระดับการเจริญพันธุ์และปรับปรุงนโยบายการวางแผนครอบครัว
  • จัดสรรทรัพยากรบริการสาธารณะอย่างเหมาะสม
    • การดำเนินโครงการหลักประกันบริการด้านอนามัยสำหรับแม่และเด็กและการวางแผนครอบครัว
    • วางแผนและจัดสรรทรัพยากรอย่างสมเหตุสมผล เช่น การดูแลเด็กก่อนวัยเรียน การศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาและประกันสังคม
    • ส่งเสริมให้กองกำลังทางสังคมดำเนินการบริหารโรงพยาบาลสำหรับเด็กที่ไม่แสวงหาผลกำไร รวมไปถึงส่งเสริมสถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาลและสถาบันบริการอื่น ๆ
    • ส่งเสริมการดำเนินการประกันการคลอดบุตรและการประกันสุขภาพขั้นพื้นฐานร่วมกัน
    • จัดตั้งห้องสำหรับมารดาและทารกหรือโต๊ะดูแลทารกในที่สาธารณะขนาดใหญ่
  • ปรับปรุงระบบสนับสนุนการพัฒนาครอบครัว
    • ปรับปรุงการจัดเก็บภาษีการเลี้ยงดู การศึกษา ประกันสังคม ที่อยู่อาศัยและนโยบายอื่น ๆ เพื่อลดภาระให้กับครอบครัวที่มีบุตร
    • ปรับปรุงระบบการให้รางวัลการวางแผนครอบครัวและการลาคลอดกับคู่สมรส
    • ส่งเสริมให้นายจ้างจัดหาตารางการทำงานที่ยืดหยุ่นและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
    • เพิ่มการสนับสนุนครอบครัวการวางแผนครอบครัวและปรับปรุงระบบสนับสนุนพิเศษสำหรับครอบครัวการวางแผนครอบครัว

3.2 เพิ่มการจัดหาแรงงานที่มีประสิทธิภาพและมุ่งเน้นไปที่ปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างประชากรและเศรษฐกิจ

  • ปรับปรุงคุณภาพของแรงงานใหม่
    • เร่งปรับปรุงระบบการศึกษาแห่งชาติและปรับปรุงระดับความเท่าเทียมกันของบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐอย่างต่อเนื่อง
    • ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาอย่างรอบด้านและเพิ่มประสิทธิภาพในการจ้างงานและความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการและการหางานของผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัย
    • ส่งเสริมการศึกษาร่วมกันและปลูกฝังความสามารถเชิงประยุกต์และทักษะทางเทคนิคอย่างจริงจัง
    • สร้างแพลตฟอร์มการจ้างงานและบริการการเป็นผู้ประกอบการสำหรับทุกคน
  • สำรวจศักยภาพในการทำงานของคนงาน
    • ดำเนินนโยบายสนับสนุนการจ้างงานสำหรับประชากรทางการเกษตร
    • ดำเนินการตามแผน ปรับปรุงทักษะอาชีพของแรงงานรุ่นใหม่
    • พัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่องและอย่างจริงจังและปรับปรุงระบบการฝึกอบรมพนักงานขององค์กร
    • ปรับปรุงด้านสุขภาพของคนงานและใช้ระบบการตรวจสอบสำหรับการประกอบอาชีพ
    • เสริมสร้างการฝึกอาชีพสำหรับแรงงานของผู้สูงอายุ
  • พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของผู้สูงอายุอย่างแข็งขัน
    • ดำเนินนโยบายการเกษียณอายุอย่างค่อยเป็นค่อยไป
    • พัฒนาการศึกษาและการฝึกอบรมผู้สูงอายุอย่างจริงจัง
    • ส่งเสริมให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพและเทคนิคยืดอายุการทำงาน
  • การใช้ทรัพยากรบุคคลระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิผล
    • กำหนดและปรับปรุงมาตรการสนับสนุน เช่น การย้ายถิ่นฐานและการพำนักระยะยาว การประกันภัย การรักษาพยาบาลและการศึกษา
    • ปรับปรุงระบบการพำนักถาวรสำหรับชาวต่างชาติและผ่อนคลายเงื่อนไขสำหรับผู้มีความสามารถทางเทคนิค เพื่อให้ผ่านคุณสมบัติการพำนักถาวร
    • ปลูกฝังกลุ่มหน่วยงานบริการกลางระหว่างประเทศที่มีความสามารถพิเศษ
    • ร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อพัฒนาแหล่งการศึกษาและการฝึกอบรมจากต่างประเทศที่มีคุณภาพสูง

3.3 เพิ่มประสิทธิภาพการกระจายเชิงพื้นที่ของประชากรและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของประชากรทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

  • ส่งเสริมการขยายตัวของประชากรที่อาศัยในเมืองใหญ่อย่างต่อเนื่อง
    • ภายในปี 2020 จะมีการตั้งถิ่นฐานในเขตเมือง โดยมีผู้ประชากรทางด้านการเกษตรที่อพยพเข้ามาและผู้ที่อาศัยถาวรประเภทอื่น ๆ ประมาณ 100 ล้านคน
    • แบ่งเขตของเมืองให้ชัดเจน และใช้นโยบายการตั้งถิ่นฐานที่แตกต่างกัน
    • จัดเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมและเป็นระเบียบและขยายพื้นที่ สำหรับการขยายตัวของประชากรที่ย้ายถิ่นฐานทางด้านการเกษตรในบริเวณใกล้เคียงและขยายพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับการเปลี่ยนแปลงของประชากรในเมือง
  • ส่งเสริมการอาศัยในย่านเมืองของประชากร
    • เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับการอาศัยในย่านเมืองในภาคตะวันออก
    • ปลูกฝังและพัฒนาการอาศัยในย่านเมืองในภาคกลางและภาคตะวันตก
    • ส่งเสริมการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในสัดส่วนของผู้อยู่อาศัยถาวรในกลุ่มเมือง 19 แห่งในประเทศ
  • ปรับปรุงความสมดุลของประชากรทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
    • กำหนดและปรับปรุงนโยบายประชากรที่ตรงกับพื้นที่การทำงานหลัก
    • ส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศของประชากรและสนับสนุนวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและมีระดับของคาร์บอนที่ต่ำ
    • เสริมสร้างการจัดการการย้ายถิ่นฐานประชากรและส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาพื้นที่ในชายแดน
  • ปรับปรุงระบบนโยบายการย้ายถิ่นฐานของประชากร
    • ปฏิรูประบบทะเบียนบ้าน เพื่อให้แน่ใจว่าแรงงานทางด้านการเกษตรที่ตั้งถิ่นฐานในเมืองมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับชาวเมือง
    • ใช้ระบบใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่อย่างสมบูรณ์และส่งเสริมระบบใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ให้ครอบคลุม สำหรับผู้อยู่อาศัยในเมือง
    • ปฏิรูประบบการเงินและสร้างกลไกการแบ่งปันต้นทุน สำหรับการขยายตัวของประชากรทางด้านการเกษตรที่เข้ามาอาศัยในย่านเมือง
    • ปฏิรูประบบสิทธิในทรัพย์สินรวมในชนบทให้มากยิ่งขึ้น
    • ปรับปรุงระบบการจัดการบริการและกลไกในการย้ายถิ่นฐานของประชากร

3.4 ส่งเสริมการพัฒนาร่วมกันของประชากรละส่งเสริมการพัฒนาทางสังคมและการอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีของประชากร

  • ตอบสนองต่อผู้สูงวัยอย่างเข้มแข็ง
    • เน้นการตอบสนองด้วยความเร็วและครอบคลุม
    • ปรับปรุงระบบเงินบำนาญขั้นพื้นฐานและการประกันสุขภาพขั้นพื้นฐาน
    • ปรับปรุงระบบบริการดูแลผู้สูงอายุและเพิ่มการจัดหาบริการและผลิตภัณฑ์ดูแลผู้สูงอายุ
    • พัฒนาระบบสาธารณสุขครอบคลุมทุกช่วงชีวิต
  • ส่งเสริมการพัฒนาสตรีรอบด้านและการคุ้มครองผู้เยาว์
    • ปฏิบัติตามนโยบายพื้นฐานแห่งชาติ เรื่องความเสมอภาคระหว่างผู้ชายและหญิง และปกป้องสิทธิตามกฎหมายและผลประโยชน์ของผู้หญิงอย่างมีประสิทธิผล
    • เสริมสร้างการจัดการที่ครอบคลุมของอัตราส่วนเพศของประชากรแรกเกิดและดำเนินการดูแลเด็ก
    • ยึดหลักการให้เด็กมีสิทธิพิเศษก่อนเสมอ ปรับปรุงการคุ้มครองผู้เยาว์และระบบสวัสดิการสำหรับเด็ก
    • ส่งเสริมการดูแลเด็กที่ถูกทอดทิ้งในพื้นที่ชนบทและการคุ้มครองเด็กที่ตกอยู่ในความยากลำบากและเพิ่มการช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กจรจัด
    • เสริมสร้างด้านสุขภาพเด็กและการวินิจฉัยและการรักษาโรคสำหรับเด็ก เพื่อปรับปรุงภาวะโภชนาการของเด็กในพื้นที่ยากจน
  • รับประกันสิทธิตามกฎหมายและผลประโยชน์ของคนพิการ
    • ใช้ระบบเบี้ยยังชีพสำหรับคนพิการและระบบเงินอุดหนุนการรักษาพยาบาลสำหรับผู้พิการรุนแรงอย่างเต็มที่
    • ให้เงินอุดหนุนสำหรับการกำหนดค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือ การฟื้นฟูขั้นพื้นฐานและการบูรณะอย่างเต็มที่สำหรับครอบครัวสำหรับผู้ยากไร้และผู้พิการรุนแรง
    • ให้การศึกษาฟรี 12 ปี สำหรับเด็กพิการที่ครอบครัวมีปัญหาทางการเงิน
    • พัฒนางานด้านวัฒนธรรมและการกีฬา สำหรับคนพิการ พัฒนาองค์กรการกุศลและอุตสาหกรรมบริการสำหรับคนพิการ
  • ตระหนักถึงการบรรเทาความยากจนที่เป็นเป้าหมายของคนยากจน
    • ภายในปี 2020 คนยากจนในชนบทจะถูกปลดออกจากความยากจนและอำเภอที่ยากจนทั้งหมดจะหมดไป
    • ส่งเสริมการบรรเทาความยากจนและการพัฒนาจากการแก้ปัญหาความยากจน

4. การวางแผนและการดำเนินการ – การปรับปรุงกลไกการวางแผนที่ครอบคลุม สำหรับประชากรและการพัฒนา

4.1 เสริมสร้างการสนับสนุนข้อมูลแก่ประชากร

  • ส่งเสริมการสร้างร่วมกันและการแบ่งปันข้อมูลพื้นฐานของประชากรและเร่งการสร้างฐานข้อมูลพื้นฐานประชากรแห่งชาติ
  • บูรณาการข้อมูลประชากรและทรัพยากรสารสนเทศ เสริมสร้างการพัฒนาและการให้ข้อมูลประชากรอย่างเปิดเผย

4.2 จัดทำระบบคาดการณ์จำนวนประชากร

  • พัฒนาเทคโนโลยีและแบบจำลองการคาดการณ์ประชากรที่เหมาะสมกับประเทศ
  • บนพื้นฐานของการสำรวจสำมะโนประชากรและการสำรวจตัวอย่าง เสริมสร้างการคาดการณ์จำนวนประชากรในระยะกลางและระยะยาว
  • ปรับปรุงระบบติดตามและประเมินผลพลวัตของประชากร
  • สร้างกลไกการคาดการณ์ประชากรแบบปกติ

4.3 ดำเนินการประเมินผลกระทบของประชากร เพื่อการวางแผนที่สำคัญ

  • ปรับปรุงกลไกการให้คำปรึกษาสถานการณ์การพัฒนาประชากรประจำปี
  • วิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบของปัจจัยประชากรต่อการวางแผนครั้งสำคัญการปฏิรูปครั้งใหญ่และการสร้างโครงการที่สำคัญ
  • ปรับปรุงกลไกการให้คำปรึกษาด้านนโยบายประชากร
  • เสริมสร้างการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงด้านความมั่นคงของประชากรและเตรียมความพร้อมสำหรับแผนการวิจัยล่วงหน้าเชิงนโยบาย

4.4 ปรับปรุงกลไกการดำเนินการตามแผน

  • คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้นำในการส่งเสริมการปฏิบัติตามแผน
  • ให้ข้อมูลการวางแผนประชากรและนโยบายประชากร
  • ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและส่งเสริมการดำเนินการตามเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับประชากรของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2030
  • จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติตามแผนอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลา 5 ปี

ที่มา วารสาร “วิทย์ไมตรีไทย-จีน” ฉบับเดือนพฤษภาคม 2564 “การสำรวจสำมะโนประชากรระดับชาติครั้งที่ 7 (2011-2020)” และ “แผนพัฒนาประชากรแห่งชาติจีน (2016-2030)”

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]