• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • #ชาวอาเซียน นิยมเรียน #ภาษาจีน มากขึ้น ไทยจัดให้ภาษาจีนเข้าสู่ระบบการทดสอบทั่วป…

#ชาวอาเซียน นิยมเรียน #ภาษาจีน มากขึ้น ไทยจัดให้ภาษาจีนเข้าสู่ระบบการทดสอบทั่วป…

#ชาวอาเซียน นิยมเรียน #ภาษาจีน มากขึ้น ไทยจัดให้ภาษาจีนเข้าสู่ระบบการทดสอบทั่วประเทศ กัมพูชามีการจัดส่งเจ้าหน้าที่สายวิชาชีพไปเรียนภาษาจีนในจีนมากขึ้น ขณะที่มาเลเซียก็มีผู้เรียนภาษาจีนเพิ่มจาก 16% ของเมื่อปี 2016 มาเป็น 32% ในปี 2020

ที่กรุงบันดาร์เสรีเบกาวันบรูไน โรงเรียนมัธยมกว่า 36% มีจัดการเรียนการสอนภาษาจีน สถานีวิทยุบรูไน(Radio Brunei) จัดรายการสอนภาษาจีนออนไลน์ฟรี เริ่มตั้งแต่การออกเสียงพื้นฐาน โดยผู้เรียนสามารถทักทายด้วยภาษาจีนได้ในระยะเวลาสั้นๆ

ลาวก็ได้จัดให้มีการเรียนการสอนภาษาจีนในระบบการศึกษาทั่วประเทศครอบคลุมตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมปลาย

“บอร์เนียวโพสต์”ของมาเลเซียรายงานว่า หลังจากสหประชาชาติจัดให้ภาษาจีนเป็นภาษาของทั่วโลกเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาแล้ว ชาวมาเลเซียกว่า 53% เห็นว่า ภาษาจีนเป็นภาษาที่เด็กน่าจะต้องเรียนรู้ คาดว่าจนถึงปี 2025 จำนวนคนใช้ภาษาจีนในมาเลเซียจะมากว่าเป็นคนใช้ภาษาอังกฤษถึง 3 เท่า

บริษัทบางแห่งในพม่า เงินเดือนของพนักงานที่รู้ภาษาจีนจะมากกว่าผู้ที่ไม่รู้ภาษาจีน 2 เท่า เพราะจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของพม่า

เหตุใดชาวอาเซียนจึงนิยมภาษาจีนมากขึ้น

สถิติทางการจีนแสดงให้เห็นว่า ไตรมาสแรกของปี 2021 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ของจีนโตขึ้น 18.3% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว นี่เป็นจีดีพีของประเทศใหญ่ที่มีประชากรกว่า 1,400 ล้านคน

เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ประกาศสถิติปรากฏว่า ปี 2020 จีนกลายเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุดของโลกเป็นครั้งแรก

ปี 2020 ยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั่วโลก (FDI) จำนวน 846,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 38% เมื่อเทียบกับปี 2019 แต่สิ่งที่น่าจับตาคือ ปี 2020 FDI ของจีนกลับเพิ่มมากขึ้นเป็น212,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโต 14% แซงหน้าสหรัฐฯ ที่มีจำนวน 177,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 37%
หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์อ้างคำกล่าวของเอสวาร์ ปราสาด(Eswar Prasad)อดีตหัวหน้าสำนักงานกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประจำจีน ว่า “จีนได้กลายเป็นป้อมปราการที่ต้านการล่มสลายของเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง”

นอกจากสาเหตุทางเศรษฐกิจแล้ว ยังมีปัจจัยด้านวัฒนธรรม อย่างเช่นชาวจีนมีความนิยมภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ของไทยมากขึ้น ขณะที่ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ของจีนก็ได้รับความนิยม



ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
ลึกชัดกับผิงผิง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]