• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • อ้ายจงวิเคราะห์ Big Data จีน : พฤติกรรมการค้นหาเกี่ยวกับ “วัคซีนโควิด” บนโลกออนไ…

อ้ายจงวิเคราะห์ Big Data จีน : พฤติกรรมการค้นหาเกี่ยวกับ “วัคซีนโควิด” บนโลกออนไ…

อ้ายจงวิเคราะห์ Big Data จีน : พฤติกรรมการค้นหาเกี่ยวกับ “วัคซีนโควิด” บนโลกออนไลน์จีน

.
โดยอ้ายจงวิเคราะห์ข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆที่ถูกจัดเก็บข้อมูลและแสดงผลการค้นหาบน Baidu แพลตฟอร์มเครื่องมือการค้นหาข้อมูลบนโลกออนไลน์รายใหญ่ของจีนครับ

.

อ้ายจงสรุปเรื่องราว #สืบจากข้อมูล ดังนี้

1. เมื่อดูคำค้นหาที่คนจีนใช้ค้นหาจริงๆบนโลกออนไลน์ ที่เกี่ยวข้องกับ “วัคซีนโควิด” พบว่า

– “วัคซีน HPV” ยังมีการค้นหามากที่สุด คือ มากกว่า 6 แสนครั้งต่อเดือน โดยเฉพาะวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ เนื่องจากโรคมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากไวรัส HPV ยังคงเป็นโรคสำคัญที่คนจีนกลัว และผู้หญิงจีนเป็นกันเยอะ

– วัคซีน Sinovac (科兴疫苗) เข้ามาอยู่ในอันดับที่ 4 ของการค้นหาเกี่ยวกับวัคซีน ในครั้งนี้ โดยมีจำนวนการค้นหา 106,378 ครั้งต่อเดือน

– วัคซีน Sinopharm ที่ผลิตร่วมกับ Beijing Institute of Biological Products (北京生物疫苗) มีการค้นหาราว 41,558 ครั้งต่อเดือน

– วัคซีน Sinopharm ที่ผลิตร่วมกับ Wuhan Institute of Biological Products (武汉生物疫苗) มีการค้นหาค่อนข้างน้อย อยู่ที่ 2,671 ครั้งต่อเดือน

– คำค้นหา วัคซีน Sinopharm (แบบรวมๆ ไม่ได้ระบุว่าผลิตที่สถาบันในปักกิ่ง หรืออู่ฮั่น) มีการค้นหาราว 23,123 ครั้งต่อเดือน

– ที่น่าสนใจคือ ตอนนี้ คำว่า mrna疫苗 (วัคซีนแบบ mRNA) มีการค้นหาจำนวนมาก อยู่ที่ราว 48,179 ครั้งต่อเดือน

.
2. คำค้นหา “วัคซีนโควิด” ถูกค้นหาเป็นครั้งแรกบนโลกออนไลน์จีน ช่วงเดือนมีนาคม 2563 เป็นช่วงที่โควิดระบาดหนักในจีนและจีนเริ่มพูดถึงการพัฒนาวัคซีนเพื่อมาต่อสู้กับวิกฤติการระบาดโควิด

ถ้านับระยะเวลาที่มีการค้นหาครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลาราว 1 ปี 2 เดือน คำว่า “วัคซีนโควิด” ถูกค้นหาโดยเฉลี่ย วันละ 12,084 ครั้ง
.
3. ช่วงสามเดือนที่ผ่านมา (กุมภาพันธ์ ถึง 3 พฤษภาคม 2564) นับเป็นช่วงที่คนค้นหา “วัคซีนโควิด” มากที่สุด

โดยปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายน 2564 เป็นจุดสูงสุดของการค้นหา

1 เมษายน 2564 คนค้นหามากสุดนับตั้งแต่มีการค้นหาคำนี้ โดยจำนวนการค้นหาพุ่งไปถึง 78,120 ครั้งในวันนั้น
.
4.ช่วงปลายเดือนมีนาคม 2564 ที่เป็น 1 ในช่วงที่คนจีนค้นหาเกี่ยวกับวัคซีนโควิดจำนวนมาก

พฤติกรรมการค้นหาของคนจีน โเยดูจากคำค้นหา/ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ “วัคซีนโควิด” ทำให้ทราบว่า สาเหตุที่คนจีนค้นหาเกี่ยวกับวัคซีนโคสิดจำนวนมากในช่วงนั้น

เพราะ “เป็นช่วงที่ทางการจีนเร่งและระดมฉีดวัคซีน บางเมืองถึงขั้นออกคำสั่งให้ฉีดวัคซีนแบบแกมบังคับ”

คนจีนจึงเร่งมือค้นหาข้อมูลวัคซีนโควิดเป็นยกใหญ่ เช่น

“วัคซีนเข็มละเท่าไหร่”

“วัคซีนจีน คนกลุ่มไหนฉีดไม่ได้บ้าง?”

“ควรฉีดวัคซีนโควิดดีไหม?”

“ผลข้างเคียงจากวัคซีนมีอะไรบ้าง?”
.
5. พอมาถึงต้นเดือนเมษายน ที่มีจุดทำลายสถิติ “ค้นหาสูงสุด” ในวันที่ 1 เมษายน 2564 พบพฤติกรรมการค้นกาข้อมูลของคนจีนเป็นไปตามนี้

สถานการณ์การเร่งฉีดวัคซีนยังคงต่อเนื่องจากปลายเดือนมีนาคม และประชาชนจำนวนไม่น้อยยังคงกังวลต่อการฉีดวัคซีนโควิด

แต่ “เริ่มมีข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนออกมามากขึ้น เช่น ข้อควรระวังและการปฏิบัติตัวในการฉีด”

ทำให้ประเด็น “ฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีนโควิดดี” เริ่มพูดถึงลดลง

.
6. สถานการณ์การพูดถึง “วัคซีนโควิด” ในโลกออนไลน์จีนรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา

“ข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีน”

เช่น ประเด็น “คนกลุ่มไหนฉีดได้ไม่ได้” “ฉีดหรือไม่ฉีดดี” “วัคซีนโควิดมีอายุเท่าไหร่” ลดลง

แต่ ประเด็น

“ข้อควรระวังและการปฏิบัติตัวในการฉีดวัคซีน”

“ผลข้างเคียง”

และ “การสอบถามเกี่ยวกับชนิดวัคซีน” ถูกสนใจมากขึ้น

เพราะ จีนเริ่มมีวัคซีนหลายตัวและเริ่มมีการฉีดผสม

.
7. คำค้นหา “mrna疫苗” ก้าวมาเป็นดาวรุ่งคำค้นหาเกี่ยวกับวัคซีนโควิดในจีน โดยเริ่มมีการค้นหาครั้งแรก 14 เมษายน 2564 เป็นผลมาจาก “การแถลงของผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) จีน พูดถึงการใช้วัคซีนผสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัคซีนโควิด โดยเฉพาะก่รนำวัคซีนโควิดแบบ mRNA มาใช้”

คนจีนจึงพากันพูดถึงและค้นหา จนตอนนี้อยู่ที่เดือนละ 48,179 ครั้ง

.
ทั้งหมดนี้ก็คือผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการค้นหาเกี่ยวกับ “วัคซีนโควิด” ของคนจีนบนโลกออนไลน์จีน หากใครมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถแสดงความคิดเห็นหรือส่งข้อความมาถามอ้ายจงได้เลยครับ

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #วิเคราะห์ข้อมูลจีน #วัคซีนโควิด #โควิด #covid19





ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]