สถานะความร่วมมือด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระหว่างหน่วยงาน/ สถาบันอุดมศึกษาไทย – จีน ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2564

หน่วยงานในสังกัด อว.

 หน่วยงานจำนวน MOUข้อมูลประกอบ
1.สำนักงานปลัดกระทรวง อว.1 ฉบับความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการไทยและจีน (Agreement on Educational Cooperation between the Ministry of Education of the People’s Republic of China and the Ministry of Education of the Kingdom of Thailand) โดยการจัดสรรทุนแลกเปลี่ยน ให้ข้าราชการ/อาจารย์ชาวไทย ไปศึกษาต่อที่ประเทศจีนและให้นักศึกษาชาวจีนมาศึกษาต่อที่ประเทศไทย จำนวนปีละ ๗ ทุน
2.กรมวิทยาศาสตร์บริการไม่มีการลงนามความร่วมมือกับฝ่ายจีน แต่มีการดำเนินกิจกรรมระหว่างกันในรูปแบบการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ และด้านมาตรวิทยา โดยฝ่ายไทยเป็นผู้รับผิดชอบงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ
3.สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ1
ฉบับ
มีการลงนามกับฝ่ายจีนมีกรอบระยะเวลาในการดำเนินการ 5 ปี โดยรูปแบบการดำเนินความร่วมมือเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล การเปรียบเทียบมาตรฐาน รวมถึงการสอบเทียบเครื่องมือและอุปรกรณ์ทางมาตรวิทยา ทั้งนี้ งบประมาณในการดำเนินความร่วมมือมาจากทั้งสองฝ่ายตามที่ตกลงกัน นอกจากนี้ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติยังมีการดำเนินโครงการร่วมกับฝ่ายจีนผ่านกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (LMC) ด้วย โดยได้รับงบประมาณจากฝ่ายจีนในการดำเนินโครงการ ทั้งในรูปแบบการทำวิจัยร่วมและการจัดประชุม/สัมมนาระหว่างกัน
4.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ9
ฉบับ
ความร่วมมือส่วนใหญ่มุ่งเน้นการทำวิจัยร่วมกับฝ่ายจีนในด้านดาราศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การฝึกอบรม การใช้ห้องทดลองร่วมกัน (Joint Laboratory) รวมไปถึงการมีส่วนร่วมกับฝ่ายจีนในด้านการทดลอง การพัฒนาอุปกรณ์/เครื่องมือต่าง ๆ และการเจรจาจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยดาราศาสตร์
แห่งเอเชีย (Asian Treaty Organization for Astronomy: ATOA)
5.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
8
ฉบับ
มุ่งเน้นความร่วมมือใน 3 สาขาหลัก ๆ ได้แก่ ด้านระบบรางรถไฟความเร็วสูง ด้านการเกษตร และด้านเทคโนโลยีชีวภาพ รูปแบบกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นการจัดการประชุม/ สัมมนา การแลกเปลี่ยนระหว่างกันทั้งในด้านบุคลากร นักวิจัย เครื่องมือ/อุปกรณ์ และห้องปฏิบัติการ รวมไปถึงการทำวิจัยร่วม โดยส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือในกรอบระยะเวลา 5 ปี งบประมาณตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน
6.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ9
ฉบับ
มีความร่วมมือกับฝ่ายจีนในหลากหลายสาขา ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งประเด็นที่เป็นปัญหาระดับโลก (Global issues) โดยรูปแบบการดำเนินความร่วมมือส่วนใหญ่เป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้/ข้อมูล งานวิจัย และการจัดประชุม/สัมมนาระหว่างกัน ภายใต้งบประมาณตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน
7.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม1 ฉบับมีความร่วมมือกับ Science and Technology Commission of Shanghai Municipality ซึ่งเป็นหน่วยงานในระดับเทศบาลนครของจีน (เมืองใหญ่ที่สำคัญ) ในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล/นโยบาย/แผนที่เกี่ยวข้องกับด้าน วทน
8.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ4
ฉบับ
มุ่งเน้นควมร่วมมือด้านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนา SME, Startup โดยคู่ความร่วมมือส่วนใหญ่เป็นภาคธุรกิจของจีน เช่น Huawei ผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การจัดฝึกอบรม การทำวิจัยร่วม
9.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  
 9.1
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
5
ฉบับ
มีความร่วมมือในด้านการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเซนเซอร์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ กับสถาบันภายใต้ CAS ของจีน เช่น Institute of Computing Technology/ Institute of Remote Sensing and Digital Earth/ Institute of Automation ทั้งในรูปแบบการแลกเปลี่ยนบุคลากร และการทำวิจัยร่วม
 9.2
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
5
ฉบับ
ความร่วมมือส่วนใหญ่มุ่งเรื่องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนาโน โดยคู่ความร่วมมือที่สำคัญ คือ National Center for Nanoscience and Technology (NCNST) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านเทคโนโลยีนาโนแห่งชาติของจีน และสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในเมืองเซี่ยงไฮ้ รูปแบบกิจกรรมมุ่งเน้นการทำวิจัยร่วม และการทำวิจัยในต่างประเทศ
 9.3
 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
7
ฉบับ
มีความร่วมมือในด้านวัสดุศาสตร์กับฝ่ายจีน ทั้งกับ Institute of Metal Research, CAS สถาบันอุดมศึกษา รวมไปถึงด้านเทคโนโลยีขนส่งระบบรางกับภาคเอกชนของจีน ผ่านการดำเนินกิจกรรมในลักษณะการทำวิจัยร่วม
 9.4
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี
3 ฉบับความร่วมมือส่วนใหญ่มุ่งเน้นเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี ผ่านการดำเนินกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การจัดนิทรรศการ การจับคู่ความร่วมมือ (Matching maker) และการให้บริการด้านเทคนิคและธุรกิจ เป็นต้น
 9.5
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ
4 ฉบับความร่วมมือส่วนใหญ่มุ่งเน้นเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ผ่านการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบการแลกเปลี่ยและการทำวิจัยร่วม รวมไปถึงการจัดตั้งห้องทดลองร่วม (Joint lab)
10.สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ2 ฉบับมีความร่วมมือผ่านการทำวิจัยร่วมในด้านการผลักดันด้าน Startup และอุทยานวิทยาศาสตร์กับ Beijing Great Wall Enterprise Institute ของจีน รวมไปถึงความร่วมมือ วทน. กับ Chinese Academy of Science and Technology for Development ผ่านกิจกรรมในรูปแบบการแลก
เปลี่ยน การทำวิจัยร่วม และการฝึกอบรม ภายใต้งบประมาณตามที่
ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน
11.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ไม่มีความร่วมมือกับจีนในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (2560-2564)
12.สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ2 ฉบับข้อตกลงความร่วมมือทั้งสองฉบับลงนามร่วมกับ Institute of Plasma Physics, CAS ภายใต้ความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีพลาสม่าและฟิวชั่น โดยรูปแบบการดำเนินการส่วนใหญ่เป็นการแลกเปลี่ยนบุคลากร การฝึกอบรม การทำทดลองร่วม รวมถึงการรับมอบเครื่องโทคาแมค HT-6M จากฝ่ายจีน ภายใต้งบประมาณตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน
13.สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ไม่มีความร่วมมือกับจีนในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (2560-2564) แต่มีความสนใจที่จะสร้างความร่วมมือกับฝ่ายจีนในด้านนิวเคลียร์และรังสี โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนความรู้/ ประสบการณ์ในการกำกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และเครื่องกำเนิดพลาสมาฟิวชั่น

สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด อว.

           สถาบันอุดมศึกษาไทยที่แจ้งข้อมูลสถานะความร่วมมือ (MOUs/ MOAs) ด้าน อววน กับฝ่ายจีน มีจำนวนทั้งสิ้น 71 แห่ง รวม 584 ฉบับ โดยส่วนใหญ่มีความร่วมมือในด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน ภายใต้การดำเนินงานในลักษณะการแลกเปลี่ยน ทั้งในด้านนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร นักวิจัย และการเยือน ทั้งนี้ ระยะเวลาของความร่วมมือส่วนใหญ่ คือ 5 ปี และจะต่ออายุอัตโนมัติหากไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง สำหรับงบประมาณในการดำเนินความร่วมมือระหว่างกันส่วนใหญ่เป็นทุนร่วมของทั้งสองฝ่าย รายละเอียดในภาพรวมแยกตามกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา มีดังต่อไปนี้

  • กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ  (24 แห่ง/ 247 ฉบับ)
สาขาความร่วมมือรูปแบบกิจกรรมกรอบระยะเวลาแหล่งงบประมาณ
1. ภาษาและวัฒนธรรมจีน
 (28.3%) 2. ไม่จำกัดสาขาวิชา (15.8%) 3. S&T (12.6%) 4. วิศวกรรมศาสตร์ (10.9%) 5. การแพทย์แผนจีน (8.9%)
1. การแลกเปลี่ยนคน/
 การเยือน (76.9%) 2. การทำวิจัยร่วม (40.1%) 3. การจัดประชุม/ สัมมนาทางวิชาการ (29.1%) 4. การจัดทำหลักสูตรร่วม (22.3%) 5. ทุนการศึกษา/ อบรม (8.5%)
 5 ปี (59.9%) ไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่า
จะมีฝ่ายใดขอยกเลิก (15%) ไม่เกิน 3 ปี (14.5%) มากกว่า 5 ปี (4.8%)     ไม่ระบุข้อมูล (5.8%)
ทุนร่วมระหว่างฝ่ายไทย-จีน (49.4%)ทุนจากฝ่ายจีน (10.5%)ทุนจากฝ่ายไทย (5.6%)       ไม่ระบุข้อมูล (34.5%)
  • กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ (22 แห่ง/ 151 ฉบับ)
สาขาความร่วมมือรูปแบบกิจกรรมกรอบระยะเวลาแหล่งงบประมาณ
1. ภาษาและวัฒนธรรมจีน (41.1%) 2. ไม่จำกัดสาขาวิชา (36.4%) 3. การจัดการธุรกิจ/ การท่อง
เที่ยว/ อุตสาหกรรมบริการ (17.2%)
การแลกเปลี่ยนคน/ การเยือน (80.8%)การทำวิจัยร่วม (22.5%)การจัดทำหลักสูตรร่วม (19.2%) ทุนการศึกษา/ อบรม (9.3%)การจัดประชุม/ สัมมนาทางวิชาการ (8.6%)5 ปี (67.5%)ไม่เกิน 3 ปี (15.9%)ไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าจะมีฝ่ายใดขอยกเลิก (5.3%)มากกว่า 5 ปี (5.3%)       ไม่ระบุข้อมูล (6%)ทุมร่วมระหว่างฝ่ายไทย-จีน (56.3%)ทุนจากฝ่ายไทย(17.2%)ทุนจากฝ่ายจีน (1.9%)         ไม่ระบุข้อมูล (24.6%)
  • กลุ่มมหาวิทยาลัยราชมงคล (5 แห่ง/ 84 ฉบับ)
สาขาความร่วมมือรูปแบบกิจกรรมกรอบระยะเวลาแหล่งงบประมาณ
ไม่จำกัดสาขาวิชา (33.3%)วิศวกรรมศาสตร์ (20.2%)ภาษาและวัฒนธรรมจีน (17.9%)วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (11.9%)การเกษตร (9.5%)การแลกเปลี่ยนคน/
การเยือน (66.7%)การจัดทำหลักสูตรร่วม (25%)การทำวิจัยร่วม (21.4%)ทุนการศึกษา/ อบรม (11.9%)การจัดประชุม/ สัมมนาทางวิชาการ (7.1%)
5 ปี (50%)ไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่า
จะมีฝ่ายใดขอยกเลิก (15.5%)มากกว่า 5 ปี (14.3%)ไม่เกิน 3 ปี (13.1%)       ไม่ระบุข้อมูล (32.1%)
 ทุนจากฝ่ายไทย (26.2%)ทุนจากฝ่ายจีน (22.6%)ทุนร่วมระหว่างฝ่ายไทย-จีน (14.3%)         ไม่ระบุข้อมูล (36.9%)
  • กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (20 แห่ง/ 102 ฉบับ)
สาขาความร่วมมือรูปแบบกิจกรรมกรอบระยะเวลาแหล่งงบประมาณ
ภาษาและวัฒนธรรมจีน (42.2%)ไม่จำกัดสาขาวิชา (33.3%)การจัดการธุรกิจ/ การท่องเที่ยว/ โรงแรม/ อุตสาหกรรมบริการ (28.4%)วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (11.8%)ศิลปกรรม/ นิเทศศาสตร์ (8.8%)การแลกเปลี่ยนคน/
การเยือน (71.6%)การจัดประชุม/ สัมมนาทางวิชาการ (12.7%) การจัดทำหลักสูตรร่วม (11.8%)ทุนการศึกษา/ อบรม (8.8%)การทำวิจัยร่วม (5.9%)
5 ปี (40.2%)ไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่า
จะมีฝ่ายใดขอยกเลิก (25.5%)ไม่เกิน 3 ปี (20.6%)มากกว่า 5 ปี (5.9%)               ไม่ระบุข้อมูล (7.8%)
ทุนร่วมระหว่างฝ่ายไทย-จีน (34.3%)ทุนจากฝ่ายไทย (5.9%)ทุนจากฝ่ายจีน (2.9%)                 ไม่ระบุข้อมูล (36.9%)

ข้อจำกัดในการดำเนินความร่วมมือด้าน อววน กับฝ่ายจีน

          จากข้อมูลที่หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด อว. แจ้งนั้น พบว่าอุปสรรคหลักของการดำเนิน
ความร่วมมือกับฝ่ายจีน 3 ด้าน ประกอบด้วย (1) อุปสรรคด้านภาษา (2) ผลกระทบจาก COVID-19 และ (3) การกำหนดบทบาทของฝ่ายไทย รายละเอียดดังต่อไปนี้

  • อุปสรรคด้านภาษา

          ในการติดต่อประสานงานทั่วไปกับหน่วยงานฝ่ายจีน จะดำเนินการผ่านกลุ่มงานที่ดูแลรับผิดชอบด้าน
การต่างประเทศ โดยใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเป็นหลัก ทว่าในขั้นตอนการดำเนินงานด้านสารัตถะ และ/หรือด้านเทคนิคเฉพาะทาง บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของทั้งสองฝ่ายส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอังกฤษ
ในการสื่อสารได้ค่อนข้างจำกัดเนื่องจากเป็นขั้นตอนที่มีรายละเอียดซับซ้อนและมีศัพท์ทางเทคนิคจำนวนมาก
ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ภาษาจีน/ภาษาไทยในการสื่อสารแทน ก็ต้องอาศัยคนกลางซึ่งไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ มาทำหน้าที่เป็นล่าม ส่งผลให้การผลักดันกิจกรรม/โครงการที่เป็นรูปธรรมดำเนินไปได้ช้า

  • ผลกระทบจาก COVID19

          ช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่าน (พ.ศ. 2563-2564) ทั่วโลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในทุกมิติ รวมไปถึงกิจกรรม/โครงการความร่วมมือกับต่างประเทศก็ไม่สามารถดำเนินการได้ในรูปแบบปกติ ทั้งนี้ โครงการจำนวนมากจำเป็นต้องยุติหรือชะลอออกไปก่อนอย่างไม่มีกำหนด ในขณะที่หลาย ๆ โครงการต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการจากเดิมเป็นรูปแบบออนไลน์แทน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควรเนื่องจากกิจกรรมหลายอย่างเน้นภาคปฏิบัติ เช่น การวิจัยร่วม การทดลองร่วม รวมไปถึงการจัดหลักสูตรฝึกอบรมเทคโนโลยีเฉพาะด้าน ซึ่งผู้เข้าร่วมจำเป็นต้องมีการเดินทางไปลงพื้นที่และเข้าฝึกภาคปฏิบัติด้วยตนเอง

  • การกำหนดบทบาทของฝ่ายไทย

          สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งให้ข้อสังเกตว่าบทบาทเชิงรุกของฝ่ายไทยยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร กล่าวคือ ในการสร้างความร่วมมือกับฝ่ายจีน ฝ่ายไทยมักจะผลักดันสาขาความร่วมมือที่จีนมีความเชี่ยวชาญเนื่องจากเรา

ต้องการจะใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้นั้นมาเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ ส่งผลให้ไทยมีบทบาทเป็น
ผู้ตามมากกว่าบทบาทเชิงรุก ในขณะที่สาขาที่ไทยมีความพร้อม/ความเชี่ยวชาญ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทยได้ เช่น ภาษาและวัฒนธรรมไทย การแพทย์แผนไทย เป็นต้น ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเท่าที่ควร

ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม ๒๕๖๕
กลุ่มยุทธศาสตร์การต่างประเทศเชิงรุก
กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง อว.

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]